อันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เคดของญี่ปุ่น
ผู้พัฒนาไอเรม
ผู้จัดจำหน่ายไอเรม
กำกับมีเฮอร์
ออกแบบอากิโอะ
ซูซูมุ
โคโซ
โนบุ
อูมะ, นาเบะ, คาตานะ, มิจิโร, ไนโตร 49 (ซูเปอร์แฟมิคอม)
โปรแกรมเมอร์เทโรลิง
เดนเจอร์ นาโอะ
คัง จัง, เกต เอดอลลาร์, อิกะ‑บี, เก็นตะ 800เคจี (ซูเปอร์แฟมิคอม)
แต่งเพลงทากูชิ ฮิยามูตะ
เครื่องเล่นอาร์เคด
ซูเปอร์แฟมิคอม
วางจำหน่ายอาร์เคด:
ซูเปอร์แฟมิคอม:
แนวบีตเอ็มอัป
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว
หลายผู้เล่น (ผู้เล่นสูงสุดสามคน)
ระบบอาร์เคดฮาร์ดแวร์ระบบไอเรม เอ็ม-92

อันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์ (ญี่ปุ่น: アンダーカバーコップス; อังกฤษ: Undercover Cops) เป็นวิดีโอเกมบีตเอ็มอัปรูปแบบอาร์เดคที่พัฒนาและเผยแพร่โดยไอเรม ซึ่งเดิมทีสำหรับอาร์เคดใน ค.ศ. 1992 โดยเป็นความพยายามครั้งแรกของไอเรมในแนวบีตเอ็มอัปสมัยใหม่ที่ได้สถาปนาโดยกังฟูมาสเตอร์ของเดทาอีสต์ ผู้เล่นควบคุม "ผู้ปัดกวาดเมือง" ซึ่งเป็นกลุ่มตำรวจที่ต่อสู้กับความชั่วด้วยการปราบปรามวายร้ายที่นครนิวยอร์กใน ค.ศ. 2043

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพหน้าจอเวอร์ชันอาร์เคด

วิดีโอเกมนี้มีความโดดเด่นในเรื่องฉากหลังที่มีรายละเอียดและและสภาพแวดล้อมแห่งอนาคตที่สกปรก ในช่วงเวลานั้น มันค่อนข้างเต็มไปด้วยเลือด มีโครงกระดูกที่ถูกจิกกัดอยู่ท่ามกลางพื้นที่รกร้างในเมือง และบังคับให้ผู้เล่นเสียชีวิตโดยการถูกบดขยี้โดยเครื่องอัดขยะระหว่างการต่อสู้บอสครั้งแรก ในขณะที่รูปแบบการเล่นได้รับแรงบันดาลใจจากไฟนอลไฟต์ โดยศัตรูบางรายมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากมนุษย์วายร้ายทั่วไปแล้ว ผู้เล่นยังต่อสู้กับสัตว์ประหลาดตัวตุ่น และสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ด้วยเจ็ตแพ็ก และใบมีดสำหรับมือ ผู้เล่นไม่สามารถใช้อาวุธของศัตรูได้ แต่ในด่านจะมีวัตถุที่สามารถหยิบขึ้นมาใช้แทนได้ เช่น ถังน้ำมันที่ไหม้, คานเหล็ก, เสาคอนกรีตยาวที่กระทบกระแทก, กล่องระเบิดมือ และปลา เหล่าตัวละครกินหนู, กบ, นก และหอยทากเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ (หลายคนในสังคมญี่ปุ่นกินสิ่งเหล่านี้เพื่อคุณค่าทางโภชนาการ[ต้องการอ้างอิง] และยังแสดงถึงอารมณ์ขันของทีมพัฒนาในภายหลังในซีรีส์เมทัลสลัก)

เวอร์ชันอาร์เคดของญี่ปุ่นนั้นแตกต่างจากเวอร์ชันสากลหลายประการ ตัวละครมีท่าเคลื่อนไหวจำนวนมากที่ไม่เคยพบในเวอร์ชันสากล รวมถึงการโจมตีแบบพุ่ง + กระโดด, การทุ่มสองแบบที่แตกต่างกัน และการโจมตีพิเศษที่ทรงพลังทางอากาศ ส่วนฉากหลังและกราฟิกก็แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มของด่านสองและสิ้นสุดของด่านสาม เสียงดนตรีในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นมีความรู้สึกแบบอิเล็กทรอนิกส์และมีตัวอย่างเสียงพูดมากกว่า ศัตรูบางคนพกขวดปากฉลาม, มีด และขวานที่หัก (ในเวอร์ชันสากล สิ่งเหล่านี้จะถูกแทนที่ด้วยไม้กระดานและไม้กระบอง) ขณะที่อมนุษย์ตัวตุ่นนั้นอ่อนแอกว่า โดยโจมตีเพียงครั้งเดียวก็ฆ่าได้ ส่วนการโจมตีแบบกระโดดของผู้เล่นสร้างความเสียหายได้น้อยลง แต่ระยะการโจมตีที่กว้างขึ้นทำให้พวกเขาใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น

รูปลักษณ์และการทำงานของรถตำรวจในฉากจบของอันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์นั้นคล้ายคลึงกับรูปลักษณ์และการทำงานของรถถังจากมูนพาโทรล ซึ่งเป็นเกมอาร์เคดอีกเกมหนึ่งของโดยบริษัทไอเรม ส่วนบอสจากด่านที่ 1 ของเกมอาร์-ไทป์ ภาคแรก ที่ผลิตโดยบริษัทไอเรมเช่นกัน สามารถเห็นได้บนหน้าจอโทรทัศน์สีแดงบางเครื่อง และต่อมา ได้มีการโฆษณาอันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์บนเรือเหาะที่เห็นได้ในใบปลิวอาร์เคดเกมบีตเอ็มอัปอื่นของบริษัทไอเรมอย่างนินจาเบสบอลแบตแมน

ตัวละคร[แก้]

ตัวละครที่เล่นได้ ได้แก่:

  • ซัง ทากาฮาระ (Zan Takahara; ザン・タカハラ) (รู้จักในเวอร์ชันสหรัฐในชื่อโกลด) - อดีตปรมาจารย์คาราเต้ชาวญี่ปุ่นที่ดูสกปรก ซึ่งถูกสั่งห้ามไม่ให้เข้าร่วมการแข่งอย่างเป็นทางการหลังจากสังหารชายคนหนึ่งเพื่อป้องกันตัวเอง เขาเป็นตัวละครที่มีความสามารถหลายด้าน และในทางปฏิบัติคล้ายกับโรซา นอกจากนี้ เขายังมีความสามารถในการยิงลูกไฟหลายลูก
  • แมต เกเบิลส์ (Matt Gables; マット・ゲーブルズ) (รู้จักในเวอร์ชันสหรัฐในชื่อบับบา) - อดีตผู้เล่นกริดไอเอิร์นฟุตบอลที่หันหลังให้กับผู้กวาดเมืองหลังจากถูกส่งไปที่ระดับต่ำสุดโดยข้อกล่าวหาเท็จในการฆาตกรรม เขาเป็นตัวละครที่ทรงพลังที่สุดแต่เชื่องช้าที่สุด นอกจากนี้ เขาสามารถดำดิ่งลงสู่พื้นดินได้เมื่อเขาใช้การโจมตีทางอากาศ
  • โรซา เฟลมอนด์ (Rosa Felmonde; ローザ・フェルモンド) (รู้จักในเวอร์ชันสหรัฐในชื่อเฟลม) - หญิงผมบลอนด์ชาวอังกฤษผู้แข็งแกร่งที่ทำโทษอาชญากรแบบศาลเตี้ย ซึ่งโธมัส คนรักของเธอได้ถูกฆ่าโดยพวกวายร้าย เธอเป็นตัวละครที่เร็วและเล่นง่ายที่สุด ทำให้เธอเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น เธอสามารถส่งคลื่นพลังงานรอบ ๆ ตัวได้หากถูกศัตรูล้อมรอบ

บอส ได้แก่:

  • ปากส์ (Parcs; パークス) (รู้จักในสหรัฐในชื่อคิวบอล) - ไซบอร์กที่มีรูปร่างคล้ายเทอร์มิเนเตอร์ มันเป็นบอสตัวเดียวที่สามารถเอาชนะได้ด้วยสองวิธี ได้แก่: วิธีปกติ หรือทำให้มันถูกบดขยี้ในเครื่องอัดขยะ (อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นต้องระวังระหว่างการต่อสู้กับบอสนี้ เพราะสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นกับตัวละครของพวกเขาได้เช่นกัน)
  • แฟรนโซวอส์ (Fransowors; フランソワーズ) (รู้จักในสหรัฐในชื่อแฟตโซ) - จอมวายร้ายที่อ้วนท้วนและถือค้อนทุบ เธอเรียกศัตรูออกมาเล็กน้อยและร้องไห้เมื่อถูกโจมตี รวมถึงร้องไห้โฮมากขึ้นเมื่อแถบพลังชีวิตของเธอเหลือครึ่งเดียว
  • โมกูราเลียน เบตา (Moguralian β (Beta); モグラリアンβ(ベータ)) (รู้จักในสหรัฐในชื่อกันพันเชอร์) - ผู้นำติดอาวุธหนักของสัตว์ประหลาดตัวตุ่นที่เปล่งวลีภาษาญี่ปุ่นง่าย ๆ เขามีอาวุธปืนกลและวัตถุระเบิด

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ซูเปอร์เกมเพาเวอร์3.8/5

ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนฉบับวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1992 ได้ระบุว่าอันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์เป็นหน่วยอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับหกของปี[1] ส่วนรีเพลย์ยังรายงานว่าเกมนี้เป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมสูงสุดอันดับสิบในเวลานั้น[2]

สิ่งสืบทอด[แก้]

อันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์
มังงะ
สำนักพิมพ์ชิงเซชะ
นิตยสารเกเมสต์คอมิกส์
ตีพิมพ์30 สิงหาคม ค.ศ. 1993 – 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995
จำนวนเล่ม2 เล่ม

เนื่องจากประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อยในประเทศญี่ปุ่น อันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์ยังมีมังงะของตัวเองโดยไวตะ อูซิงะ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในซีรีส์ของเกเมสต์คอมิกส์โดยชิงเซชะใน ค.ศ. 1993[3] เกมดังกล่าวตามมาด้วยภาคแยกของเกมบอยในชื่ออันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์: ฮาไกชินการูมา และมีการแปลที่แม่นยำยิ่งขึ้นเรียกว่าอันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์แอลฟา (アンダーカバーコップスα) ซึ่งยังคงรายละเอียดของเวอร์ชันอาร์เคดดั้งเดิมไว้

ไม่กี่ปีต่อมาหลังจากการเปิดตัว ทีมงานจำนวนมาก (ศิลปิน, โปรแกรมเมอร์, นักแต่งเพลง, นักออกแบบ ฯลฯ) ที่สร้างอันเดอร์คัฟเวอร์คอปส์ ได้ก่อตั้งบริษัทนัซกาคอร์ปอเรชัน ซึ่งเป็นผู้สร้างซีรีส์เกมเมทัลสลัก ทีมงานดังกล่าวยังได้ทำงานในซีรีส์แฮมเมอริน' แฮร์รี, ซูพีเรียร์โซลเจอส์, อินเดอะฮันต์ และกันฟอร์ซ 2

อ้างอิง[แก้]

  1. "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 432. Amusement Press, Inc. 15 August 1992. p. 25.
  2. "The Player's Choice - Top Games Now in Operation, Based on Earnings-Opinion Poll of Operators: Best Video Software". RePlay. Vol. 17 no. 12. RePlay Publishing, Inc. September 1992. p. 4.
  3. "Undercover Cops". arcade-gear.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2014. สืบค้นเมื่อ July 2, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]