อัชชัยค์ญัรรอห์

พิกัด: 31°47′40.50″N 35°13′54.75″E / 31.7945833°N 35.2318750°E / 31.7945833; 35.2318750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

31°47′40.50″N 35°13′54.75″E / 31.7945833°N 35.2318750°E / 31.7945833; 35.2318750

ย่านอัชชัยค์ญัรรอห์ ฉากหลังคือใจกลางนครเยรูซาเลม

อัชชัยค์ญัรรอห์ (อาหรับ: الشيخ جراح; ฮีบรู: שייח' ג'ראח) เป็นย่านหนึ่งของเยรูซาเลมตะวันออกที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวปาเลสไตน์ อยู่ห่างจากเมืองเก่าเยรูซาเลมไปทางทิศเหนือ 2 กิโลเมตรตามถนนสายที่มุ่งหน้าไปยังเขาสโกปัส[1][2] ย่านนี้ได้ชื่อตามสุสานสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 ของชัยค์ญัรรอห์ซึ่งเป็นแพทย์คนหนึ่งของเศาะลาฮุดดีน ตัวย่านสมัยใหม่ได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1865 และค่อย ๆ กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชนชั้นสูงมุสลิมในเยรูซาเลมโดยเฉพาะตระกูลอัลฮุซัยนี หลังสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 ย่านอัชชัยค์ญัรรอห์มีอาณาเขตจรดดินแดนที่ไม่มีเจ้าของระหว่างเยรูซาเลมตะวันออกซึ่งจอร์แดนตรึงกำลังไว้กับเยรูซาเลมตะวันตกซึ่งอิสราเอลตรึงกำลังไว้ จนกระทั่งย่านนี้ถูกอิสราเอลเข้ายึดครองในช่วงสงครามหกวัน ค.ศ. 1967 กล่าวกันว่าประชากรชาวปาเลสไตน์ของย่านในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยที่ถูกขับไล่ออกจากย่านตัลบียาของเยรูซาเลมตะวันตกใน ค.ศ. 1948[3]

ในปัจจุบันอัชชัยค์ญัรรอห์เป็นศูนย์กลางข้อพิพาทเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ระหว่างชาวปาเลสไตน์กับชาวอิสราเอล ชาวอิสราเอลชาตินิยมได้ดำเนินการเพื่อเข้าไปอยู่แทนที่ประชากรชาวปาเลสไตน์ในย่านนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1967[4] ในช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมามีการก่อสร้างนิคมชาวอิสราเอลขึ้นจำนวนหนึ่งประชิดย่านอัชชัยค์ญัรรอห์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Zirulnick, Ariel. Bryant, Christa Case. Five controversial Jewish neighborhoods in East Jerusalem Christian Science Monitor. 10 January 2011
  2. Medding, Shira. Khadder, Kareem. Jerusalem committee OKs controversial construction plan เก็บถาวร 2011-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน CNN 07 February 2011
  3. Neri Livneh, 'So What's It Like Being Called an Israel-hater?,' Haaretz 16 March 2010.
  4. Israel under pressure to rein in settlers after clashes at al-Aqsa mosque: Fresh skirmishes break out in the early hours of Sunday amid protests by Palestinians against evictions in East Jerusalem, Financial Times, 9 May 2021: "Jewish settlers have for decades targeted Sheikh Jarrah, a middle-class Arab neighbourhood between east and west Jerusalem, aiming to turn it into a majority Jewish area."
  5. Scott A. Bollens (6 January 2000). On Narrow Ground: Urban Policy and Ethnic Conflict in Jerusalem and Belfast. SUNY Press. p. 79. ISBN 978-0-7914-4413-9. These colonies — Ramot Eshkol, Givat Hamivtar, Maalot Dafna, and French Hill — were built in and adjacent to the Arab Sheikh Jarrah quarter.