อักษรไทยย่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรไทยย่อ เป็นอักษรไทยสมัยอยุธยาชนิดหนึ่ง[1] ที่ประดิษฐ์ให้เป็นลวดลายงดงามเพื่ออวดฝีมือ[2] จุดประสงค์การบันทึกอักษรไทยย่อเพื่อบันทึกเอกสาร หนังสือสำคัญ พระราชสาส์น วรรณคดี เป็นต้น โดยรูปแบบอักษรเขียนอย่างบรรจง ประดิษฐ์หักเหลี่ยม ย่อมุมเส้นอักษรตวัดปลาย และเขียนเส้นเอียงไปทางขวา[3]

หลักฐานที่ปรากฏว่ามีการใช้อักษรไทยย่อในลักษณะเป็นแบบแผนครั้งแรกในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือ จารึกวัดจุฬามณี พ.ศ. 2225 อักษรไทยย่อได้รับความนิยมแพร่หลายในสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังปรากฏใน นันโทปนันทสูตรคำหลวง จนเมื่อเสียกรุงครั้งที่ 2 ก็ไม่พบการใช้อักษรไทยย่อที่มีขนาดยาว[4] แต่พบว่ามีการใช้เขียนเป็นข้อความสั้น ๆ เช่น การเขียนชื่อเฉพาะและการเขียนชื่อเรื่อง เช่น ชื่อกฎหมายตราสามดวงที่ปกสมุดไทยและด้านข้างสมุดไทยและชื่อปืนใหญ่ ยุคนี้สันฐานเอียง 60–50 องศา เส้นอักษรไม่เป็นเหลี่ยมสวยงาม

อ้างอิง[แก้]

  1. ยอร์ช เซเดส์. ตำนานอักษรไทย ตำนานพระพิมพ์ การขุด ค้นที่พงตึกและศิลปะไทย สมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2526), 18.
  2. ก่องแก้ว วีรประจักษ์. (2537). วิวัฒนาการของอักษรไทยและภาษาไทย. ใน ภาษาและวรรณกรรมเลิศล้ำมรดกไทย, 11–18. กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร.
  3. จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ (มิถุนายน 2555 - ตุลาคม 2555). "อักษรไทยย่อในสมุดไทยเรื่องนันโทปนันทสูตรคําหลวงฯ". วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (1). {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. "อักษรไทยย่อ ในเอกสารโบราณ วัดบ้านแลง จังหวัดระยอง". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.