นันโทปนันทสูตรคำหลวง
นันโทปนันทสูตรคำหลวง เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา ในสมัยอยุธยา เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2279 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[1] โดยมีลักษณะคำประพันธ์เป็นร่ายยาว นำด้วยภาษาบาลี แล้วขยายเป็นร่าย สลับกันเรื่อยไปจนจบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแผ่คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา และก่อให้เกิดศรัทธาในพุทธศาสนา โดยทรงนำเนื้อเรื่องมาจากคัมภีร์ทีฆนิกาย ชื่อ นันโทปนันทสูตร
เนื้อหา[แก้]
เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงมีพุทธบัญชาให้พระมหาโมคคัลลานะเถระ ไปปราบพญานาค อันมีนาม นันโทปนันทะ ให้คลายทิฏฐิมานะลง เมื่อพญานันโทปนันทะคลายทิฏฐิมานะลง ได้แปลงร่างเป็นมาณพหนุ่ม ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและได้รับศีล 5 จากพระพุทธองค์ แต่ด้วยความที่ตนยังอยู่ในภูมิของกึ่งเทพกึ่งเดรัจฉาน จึงยังมิอาจยังให้เกิดการบรรลุธรรมได้ แต่ก็ยอมรับนับถือพระพุทธองค์ไปตลอดชีวิต
แสดงให้เห็นสุภาษิตว่า ควรชนะคนไม่ดีด้วยความดี คือ เราควรสอนให้คนพาลกลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดี มีดวงตาเห็นธรรม คือ อริยสัจ เข้าสู่ความหลุดพ้น สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
อ้างอิง[แก้]
- ↑ จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ. "อักษรไทยย่อในสมุดไทยเรื่องนันโทปนันทสูตรคำหลวงของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ไชยเชษฐสุริยวงศ์". วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
![]() |
บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์ |