อะเพลกเทลอินโนเซนซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะเพลกเทลอินโนเซนซ์
ผู้พัฒนาอาโซโบ สตูดิโอ
ผู้จัดจำหน่ายโฟกัส โฮมม์ อินเตอร์แอ็คทีฟ
กำกับ
  • เดวิด เดดิลีน
  • เควิน โชตูร์
อำนวยการผลิต
  • ไบรซ์ เดวิน
  • จามาล รากูยกูย
ออกแบบเควิน โชตูร์
โปรแกรมเมอร์อลัน กูยแยซ
ศิลปินออลีวีเย พอนซอนเน็น
เขียนบทเซบัสเตียง เรนาร์ด
แต่งเพลงออลีวีเย เดลีวีเยร์
เครื่องเล่น
วางจำหน่ายวินโดวส์ เพลย์สเตชัน 4 เอกซ์บอกซ์วัน
14 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
นินเท็นโด สวิตช์เพลย์สเตชัน 5 อกซ์บอกซ์ซีรีย์เอ็กซ์/เอส
6 กรกฎาคม ค.ศ. 2021
แนวแอคชั่น-ผจญภัย ลอบเร้น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

อะเพลกเทลอินโนเซนซ์ (อังกฤษ: A Plague Tale: Innocence) เป็นวิดีโอเกมประเภท แอคชั่น-ผจญภัย สยองขวัญ ลอบเร้น พัฒนาโดยอาโซโบ สตูดิโอและจัดจำหน่ายโดยโฟกัส โฮมม์ อินเตอร์แอ็คทีฟ สำหรับระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เพลย์สเตชัน 4และเอกซ์บอกซ์วัน วางจำหน่ายในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 และได้รับคำชมแง่บวกจากนักวิจารณ์ส่วนใหญ่

เกมเพลย์[แก้]

ใน อะเพลกเทลอินโนเซนซ์ ผู้เล่นจะได้ควบคุมตัวละครอามิเซีย เดอ รูน (Amicia de Rune) จากมุมมองบุคคลที่สาม โดยเวลาส่วนใหญ่ในเกมแล้ว ผู้เล่นจะต้องทำการลอบเร้นเพื่อเลี่ยงการปะทะกับศัตรู หากถูกจับได้จะถูกฆ่าทันที อามิเซียพกสลิงเป็นอาวุธ ซึ่งสามารถทำให้โซ่ขาด, สร้างเสียงรบกวน หรือทำให้ศัตรูเกิดอาการงงงวยเป็นเวลานานพอที่จะทำให้หนูรุมโจมตีพวกเขา สลิงของเธอยังสามารถใช้สังหารศัตรูได้ด้วยการเล็งที่หัว มันยังสามารถใช้ยิงสิ่งของอย่างอื่นได้เช่นกัน บางชนิดสามารถจุดไฟ, ดับไฟ หรือล่อหนูมายังจุดใดจุดหนึ่ง[1] ตัวเกมประกอบด้วยปริศนาเอาตัวรอดเป็นจำนวนมาก, โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการหาวิธีไล่หรือล่อฝูงหนูเพื่อเข้าสู่บริเวณใหม่ หรือใช้จัดการศัตรู การขับไล่หนูโดยส่วนมากแล้วใช้ไฟเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากหนูในเกมจะไม่เข้าใกล้แสงไฟ อามิเซียยังสามารถประดิษฐ์กระสุนและอุปกรณ์ชนิดอื่น ๆ ได้เช่นกัน รวมไปถึงลูกหินฉาบกำมะถัน ซึ่งสามารถใช้จุดไฟได้, ระเบิดเหม็นซึ่งสามารถดึงดูดฝูงหนูไปยังจุดที่ยิง หรือสารที่มีฤทธิ์ดับไฟซึ่งสามารถใช้โยนใส่คบเพลิงของศัตรู[2] ผู้เล่นยังสามารถสั้งให้ให้ฮิวโก้ (Hugo) น้องชายของอามิเซียกระทำบางอย่างได้ในระหว่างเล่น อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนั้นก็มีความเสี่ยงอยู่ เพราะฮิวโก้อาจจะเริ่มส่งเสียงดังได้หากถูกปล่อยให้อยู่คนเดียวเป็นเวลานาน อันจะเป็นการดึงดูดสิ่งไม่พึงประสงค์ ในช่วงหลังของเกมผู้เล่นสามารถบังคับตัวฮิวโก้ได้ แม้เขาจะไม่สามารถประดิษฐ์สิ่งของ แต่เขาสามารถควบคุมฝูงหนูและเร้นลอดผ่านทางช่องทางเล็ก ๆ ความสามารถทั้งหมดจะถูกนำมารวมกันเมื่อพี่น้องทั้งสองกลับมาพบหน้ากันอีกครั้งในช่วงท้ายเกม

เนื้อเรื่อง[แก้]

เนื้อเรื่องของเกมเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1348 อามิเซีย เดอ รูน เด็กสาวจากตระกูลขุนนางผู้ปกครองดินแดนชนบทในแคว้นอากีแตน ซึ่งถูกกองทัพอังกฤษรุกรานในช่วงสงครามร้อยปี น้องชายของเธอ ฮิวโก้ ป่วยตั้งแต่กำเนิด แม่ของพวกเขา เบียทริซ์ (Béatrice) ซึ่งเป็นนักเล่นแร่ ได้ทำการกักตัวบุตรชายไว้ในคฤหาสน์ประจำตระกูลเป็นเวลาหลายปีเพื่อหาทางรักษา ขณะที่อามิเซียกำลังออกล่าสัตว์ในป่ากับโรเบิร์ต ผู้เป็นบิดา เธอก็ได้พบกับเหตุการณ์ประหลาด และสุนัขล่าสัตว์ก็ถูกฆ่าโดยสิ่งที่มองไม่เห็น พวกเขารีบกลับไปยังคฤหาสน์ แต่ทหารจากศาลศาสนา ซึ่งนำโดยลอร์ดนิโคลัส (Lord Nicholas) ได้มาถึงในเวลไล่เลี่ยกันและทำการค้นคฤหาสน์เพื่อจับตัวฮิวโก้ สังหารโรเบิร์ตและบรรดาข้ารับใช้ เบียทริซ์ช่วยนำทางลูก ๆ ของเธอหนี และกำชับให้อามิเซียพาฮิวโก้ไปหาลอเรนทิสต์ (Laurentius) นายแพทย์ประจำตระกูล ก่อนที่ตัวเธอเองจะถูกฆ่า

อามิเซียและฮิวโก้หลบหนีไปทางหมู่บ้านใกล้เคียง ซึ่งพวกเขาได้พบว่าฝูงหนูได้แพร่เชื้อกาฬโรคและคอยกัดกินทุกสิ่งที่ขวางหน้า ทั้งสองต้องหลบหนีผู้คนในหมู่บ้าน ซึ่งเชื่อว่าฮิวโก้เป็นต้นเหตุของโรคระบาด และทหารของศาสนจักร อามิเซียและฮิวโก้เดินทางไปถึงไร่ของลอเรนทิสต์ได้ในที่สุด แต่พวกเขากลับพบว่าตัวลอเรนทิสต์ได้ติดเชื้อกาฬโรคไปแล้ว ลอเรนทิสต์จึงขอให้อามิเซียช่วยสานต่องานวิจัยที่แม่ของเธอทำเอาไว้ เมื่อบ้านของลอเรนทิสต์ถูกหนูบุกเข้ามา อามิเซียและฮิวโก้จึงหนีไปพร้อมกับลูกศิษย์ของเขา ลูคัส (Lucas) เพื่อตามหาปราสาทเงา (Château d'Ombrage) ลึกลับ ระหว่างที่พวกเขากำลังเดินทาง ลูคัสได้อธิบายว่าเลือดของฮิวโก้เป็นพาหะของสิ่งชั่วร้ายเหนือธรรมชาติที่ชื่อว่า พรีมา มาร์คิวลาร์ (Prima Macula) ซึ่งหลับไหลอยูในสายเลือดของตระกูลชนชั้นสูงหลายตระกูลมาตั้งแต่ครั้งโรคระบาดจัสติเนียน เบียทริซ์และลอเรนทิสต์พยายามหาทางรักษาอาการนี้มาเป็นเวลานานแล้ว ในขณะที่ประธานศาลศาสนา (Grand Inquisitor) ไวทาลิส เบเนเวนต์ (Vitalis Bénévent) ต้องการพลังของมัน พวกอามิเซียได้รับการช่วยเหลือจากอาร์เธอร์ (Arthur) และเมลี (Melie) พี่น้องฝาแฝดผู้ประกอบอาชีพเป็นโจร ทุกคนไปถึงปราสาทได้อย่างปลอดภัย ยกเว้นอาร์เธอร์ที่ถูกจับตัวไประหว่างทาง

ลูคัสได้บอกในภายหลังว่าเขาต้องการตำราต้องห้าม แซงจีนุส อิเตอร์เนรา (Sanguinis Itinera) เพื่อผสมตัวยาที่อาจจะอาการรักษาฮิวโก้ได้ให้เสร็จสมบรูณ์ อามิเซียจึงแอบเข้าไปในมหาวิทยาลัยของเมืองใกล้ ๆ เพื่อไปเอาแซงจีนุส อิเตอร์เนรา ในขณะที่เมลีมุ่งหน้าไปช่วยอาร์เธอร์โดยลำพัง อามิเซียสามารถเข้าไปเอาหนังสือได้สำเร็จ และได้ช่วยเหลือช่างตีเหล็กนามว่า รอดริก (Rodric) เขาจึงช่วยเธอหนีออกจากมหาวิทยาลัยนั้นเป็นการตอบแทน อามิเซียกับรอดริกเดินทางกลับปราสาทพร้อมกับอาร์เธอร์และเมลี อาร์เธอร์ได้เปิดเผยว่าเขาเห็นเบียทริซ์ถูกจองจำโดยพวกศาลศาสนา อามิเซียจึงกำชับให้พวกเขาเก็บเรื่องนี้เป็นความลับ แต่ฮิวโกได้ยินบทสนทนาทั้งหมด ต่อมาอาการของเขาก็แย่ลงอย่างรวดเร็ว อามิเซียและลูคัสจึงจำต้องกลับไปยังฤหาสน์ประจำตระกูลอีกครั้งเพื่อค้นหางานวิจัยของเบียทริซ์และพบห้องวิจัยลับของเธออยู่ใต้ซากโบราณสถานโรมันที่อยู่ใกล้เคียง ลูคัสจึงทำการผสมตัวยาให้เสร็จและรีบนำกลับไปให้ฮิวโก้ดื่ม ยาดังกล่าวช่วยบรรเทาอาการของเขาให้ทุเลาลง แต่ต่อมาฮิวโก้ก็หนีไปมอบตัวกับศาลศาสนาเพื่อตามหาเบียทริซ์ ทำให้อามิเซียรู้สึกผิดอย่างมากที่ปกปิดความจริงจากน้องชาย ขณะเดียวกันไวทาลิสก็ทำการฉีดเลือดของฮิวโกเข้าสู่ร่างของตน เพื่อที่จะสามารถควบคุมพลังของมาร์คิวลาร์ได้ แต่ยาของลูคัสได้ชะลอการกลายพันธ์ของมันให้ช้ากว่าปกติ ต่อมาฮิวโก้ได้หลบหนีจากการถูกคุมขังและพบกับเบียทริซ์อีกครั้ง ซึ่งได้บอกกับฮิวโกว่าพลังของเขาสามารถใช้ควบคุมฝูงหนูได้ แต่ทั้งสองก็ถูกจับอีกครั้ง ไวทาลิสจึงขู่จะเอาชีวิตเบียทริซ์เพื่อเป็นการเร่งให้พลังในตัวฮิวโก้ให้ตื่นขึ้นมา

เดือนมกราคม ค.ศ. 1349 ปราสาทเงาถูกโจมตีโดยฝูงหนูที่นำโดยลอร์ดนิโคลัสและฮิวโก้ ซึ่งโกรธอมิเซียจากการที่เธอปิดบังความจริงเกี่ยวกับเบียทริซ์ นิโคลัสได้สังหารอาร์เธอร์ และสั่งให้ฮิวโกจัดการกับอามิเซีย แต่อามิเซียสามารถดึงสติของฮิวโก้กลับมาได้ และพวกเขาก็ร่วมมือกันจัดการนิโคลัสด้วยฝูงหนู ก่อนที่เขาจะตกลงไปในหลุมเมื่อปราสาทถล่มลงมา พวกอามิเซียจึงตัดสินใจว่าจะใช้ฝูงหนูสู้กับพวกศาลศาสนาและไปช่วยเบียทริซ์ พวกเขาบุกไปยังอาสนวิหารที่พวกไวทาลิสใช้เป็นศูนย์บัญชาการ ระหว่างนั้นรอดริกได้สละชีวิตตนเองเพื่อให้คนอื่นๆ ไปถึงอาสนวิหารได้อย่างปลอดภัย ไวทาลิสได้ทำการเพาะพันธ์หนูที่มีเพียงแต่เขาเท่านั้นที่ควบคุมได้ ฝูงหนูของไวทาลิสและฮิวโก้ต่างเข้าปะทะกัน จนกระทั่งอามิเซียสบโอกาส จึงใช้สลิงของเธอสังหารไวทาลิสเสีย สามวันต่อมา ทั้งหนูและเชื้อกาฬโรคก็หายไป ถึงแม้ชาวบ้านจะยังกลัวฮิวโก้อยู่บ้างก็ตาม เมลีแยกตัวออกจากกลุ่มหลังจากนั้นไม่นาน ส่วนอามิเซีย ฮิวโก ลูคัส และเบียทริซ์ที่มีอาการป่วย ก็ออกเดินทางไปที่ท่าเรือเพื่อหาบ้านแห่งใหม่

การพัฒนา[แก้]

ทีมพัฒนาของเกมนำโดย อาโซโบ สตูดิโอ (Asobo Studio) นับเป็นเกมแรกที่เป็นความคิดริเริ่มของทางทีมงานเอง นับตั้งแต่เกมแข่งรถ ฟิวส์ (Fuel) ในปี 2009 วิธีบรรยายเนื้อเรื่องของเกมได้รับอิทธิพลมาจาก เดอะลาสต์ออฟอัส และ บราเธอร์: อะเทลออฟทูซันส์ แก่นเรื่องหลักของ อะเพลกเทลอินโนเซนซ์ คือ "ครอบครัว" และการพัฒนาความสัมพันธ์ของตัวละครในสถานการณ์คับขัน[3] แก่นเรื่องที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ "ความไร้เดียงสา"[4]โดยเฉพาะฮิวโก้ ซึ่งเฝ้ามองการกระทำของผู้เล่น และจะค่อย ๆ แปรเปลี่ยนจากเด็กไร้เดียงสากลายเป็นคนที่มีจิตใจโหดเหี้ยม[5] นักแสดงเด็ก ชาร์ล็อต แมคเบอร์นี (Charlotte Mcburney) และโลแกน ฮันนา (Logan Hannan) รับหน้าที่พากย์เสียงของอามิเซียและฮิวโก้ตามลำดับ ทั้งสองยังมีส่วนร่วมในการสร้างบทสนทนาของตัวละครด้วยเช่นกัน[6]มีหนูกว่า 5,000 ตัวปรากฏในฉากของเกม เพื่อให้มั่นใจว่าตัวเกมสามารถเร็นเดอร์ ภาพเหล่าศัตรูภายในเกมได้โดยไม่เสียประสิทธิภาพ ทีมงานจึงได้แบ่งการเร็นเดอร์รายละเอียดของหนูออกเป็นสี่ชั้น โดยหนูที่อยู่ไกลจากผู้เล่นจะทำหน้าเป็นพื้นหลัง และไม่ได้รับการลงรายละเอียด ส่วนหนูที่อยู่ใกล้ตัวผู้เล่นจะได้รับการลงรายละเอียดอย่างดี[7]

โฟกัส โฮมม์ อินเตอร์แอ็คทีฟ ผู้จัดจำหน่าย ประกาศเปิดตัวเกมในเดือนมกราคม 2017 ในชื่อ เดอะเพลก[8] ตัวอย่างเกมชิ้นแรกได้ขึ้นแสดงในงาน อี3 2017[9] ตัวเกมได้รับวางจำหน่ายสำหรับ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ เพลย์สเตชัน 4 และ เอกซ์บอกซ์วัน ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2019[10]

ผลตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติกPC: 81/100[11]
PS4: 81/100[12]
XONE: 83/100[13]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
เดสทรักทอยด์8/10[14]
เกมเรโวลูชัน3.5/5 stars[15]
เกมส์เรดาร์3.5/5 stars[17]
เกมสปอต8/10[16]
ไอจีเอ็น7/10[18]
สกรีนเร็นต์5/5 stars[21]
วินโดวส์เซ็นทรัล4.5/5 stars[22]

ตามข้อมูลของเว็บไซต์ที่รวบรวมบทวิจารณ์ เมทาคริติก เกมได้รับคะแนน "แง่บวกเป็นสวนใหญ่" จากนักวิจารณ์[11][12]มันขึ้นแท่นเกมขายดีอันดับที่เก้าในสหราชอาณาจักรทันทีในสัปดาห์ที่วางจำหน่าย[23]

รางวัล[แก้]

ปี รางวัล สาขา ผล อ้างอิง
2019 โกลเดนจอยสติ๊กอวอร์ด 2019 งานเสียงยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง [24]
ไททาเนียมอวอร์ด เกมแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง [25]
งานศิลป์ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
การออกแบบเกมยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
การบรรยายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เกมผจญภัยยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เดอะเกมส์อวอร์ด 2019 การบรรยายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง [26]
สตีมอวอร์ด เกมเนื้อเรื่องลุ่มลึก ชนะ [27]
2020 นิวยอร์กเกมส์อวอร์ด เกมแห่งปี เสนอชื่อเข้าชิง [28]
เกมอินดี้ยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
การเขียนบทยอดเยิ่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
นาฟจีทีอาร์อวอร์ด แอนิเมชัน สาขางานศิลป์ เสนอชื่อเข้าชิง [29][30]
แอนิเมชัน สาขาเทคนิก เสนอชื่อเข้าชิง
การกำกับงานศิลป์ สาขาอิทธิพลย้อนยุค ชนะ
มุมกล้องในเอนจินเกม เสนอชื่อเข้าชิง
การออกแบบการควบคุม สาขางานสามมิติ เสนอชื่อเข้าชิง
การออกแบบเครื่องแต่งกายตัวละคร เสนอชื่อเข้าชิง
การกำกับภาพยนตร์ในเกม เสนอชื่อเข้าชิง
การออกแบบเกมเพลย์ สาขาทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ (New IP) เสนอชื่อเข้าชิง
เกมแนวผจญภัยความคิดริเริ่ม ชนะ
แสงเงา/พื้นผิว เสนอชื่อเข้าชิง
บทเนื้อเรื่อง สาขาทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ (New IP) เสนอชื่อเข้าชิง
ประสิทธิภาพการแสดง สาขาตัวละครหลัก (ชาร์ล็อต แมคเบอร์นี) ชนะ
ประสิทธิภาพการแสดง สาขาตัวละครรอง (เอเดน เฮย์ฮาสต์) เสนอชื่อเข้าชิง
ประสิทธิภาพการแสดง สาขาตัวละครรอง (ทาบิทาร์ รูเบ็นส์) เสนอชื่อเข้าชิง
การตัดต่อเสียง สาขาภาพยนตร์ในเกม เสนอชื่อเข้าชิง
เอฟเฟคเสียง เสนอชื่อเข้าชิง
การใช้เสียง สาขาทรัพย์สินทางปัญญาใหม่ (New IP) เสนอชื่อเข้าชิง
การวางโครงเนื้อเรื่อง ชนะ
เพกาซัสอวอร์ด 2020 เกมยอดเยี่ยม ชนะ [31][32]
ออกแบบงานศิลป์ยอดเยี่ยม ชนะ
ออกแบบงานเสียงยอดเยี่ยม ชนะ
ออกแบบการบรรยายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ออกแบบเกมยอดเยี่ยม ชนะ
ฉากหลังยอดเยี่ยม ชนะ
ตัวละครยอดเยี่ยม ชนะ
เอสเอ็กซ์เอสดับบลิวเกมมิงอวอร์ด การบรรยายยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง [33]
บริติชอคาร์เดมีเกมอวอร์ด ครั้งที่ 16 ความสำเร็จทางเทคนิค เสนอชื่อเข้าชิง [34]

อ้างอิง[แก้]

  1. Delahunty-Light, Zoe (22 March 2019). "A Plague Tale: Innocence is here to make you realise how much we've become used to death in video games". เกมส์เรดาร์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  2. Favis, Elise (28 April 2019). "Watch Eight Minutes Of New Gameplay From A Plague Tale: Innocence". เกมส์อินฟอร์มเมอร์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  3. Valdes, Giancarlo (28 June 2018). "How 'A Plague Tale: Innocence' Makes Diseased Rats So Terrifying". วาไรตี้. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  4. Ramée, Jordan (25 January 2019). "Survive The Black Death In A Plague Tale: Innocence, Coming This May". เกมสปอต. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  5. Delahunty-Light, Zoe (February 16, 2018). "A Plague Tale: Innocence will have up to 5,000 man-eating rats simultaneously on screen... but you're the real monster here". เกมส์เรดาร์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  6. Chalk, Andy (25 January 2019). "A Plague Tale: Innocence video tells a tale of orphans in the time of the Black Death". พีซีเกมเมอร์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  7. Belzanne, Auerlie (9 May 2019). "Asobo Studio details the tech behind getting thousands of vermin on screen simultaneously". เพลย์สเตชันบล็อก. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  8. Foxell, Sam (7 January 2017). "Focus Home Interactive and Asobo Studios collaborate on new adventure game, The Plague". พีซีเกมส์เอ็น. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  9. O'Connor, Alice (22 August 2018). "A Plague Tale: Innocence does indeed look like that one game with the brilliant rats". Rock, Paper, Shotgun (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 10 April 2019.
  10. Reiner, Andrew (24 January 2019). "A Plague Tale: Innocence Launches This May". เกมส์อินฟอร์มเมอร์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  11. 11.0 11.1 "A Plague Tale: Innocence for PC Reviews". เมทาคริติก. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
  12. 12.0 12.1 "A Plague Tale: Innocence for PlayStation 4 Reviews". เมทาคริติก. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 16 May 2019.
  13. "A Plague Tale: Innocence for Xbox One Reviews". เมทาคริติก. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  14. Moyse, Chris (20 May 2019). "Review: A Plague Tale - Innocence". เดสทรักทอยด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-28. สืบค้นเมื่อ 22 May 2019.
  15. Agnew, Callum (14 May 2019). "A Plague Tale: Innocence Review | Oh, cruel world!". เกมเรโวลูชัน. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  16. Khee Hoon Chan (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence Review - A Sea Of Putrid Rats". เกมสปอต. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 27 May 2019.
  17. Zoe Delahunty-Light (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence review: "There are glimmers of something special"". เกมส์เรดาร์พลัส. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  18. Petite, Steven (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence Review". ไอจีเอ็น. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  19. Carnbee (14 May 2019). "Test de A Plague Tale : Innocence par jeuxvideo.com". Jeuxvideo.com. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  20. Chris J Capel (14 May 2019). "A Plague Tale: Innocence review – you'll want to catch this one". พีซีเกมส์เอ็น. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  21. Burks, Robin (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence Review - Heart Pounding and Emotional". สกรีนเร็นต์. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  22. Lowry, Brendan (13 May 2019). "A Plague Tale: Innocence PC review: A gripping stealth title that will keep you glued to your seat". วินโดวส์เซ็นทรัล. สืบค้นเมื่อ 15 May 2019.
  23. Dring, Christopher (20 May 2019). "UK Charts: Rage 2 is No.1 but fails to match original". GamesIndustry.biz. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
  24. Tailby, Stephen (20 September 2019). "Days Gone Rides Off with Three Nominations in This Year's Golden Joystick Awards". Push Square. สืบค้นเมื่อ 20 November 2019.
  25. "Titanium Awards 2019". Fun & Serious Game Festival. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2019. สืบค้นเมื่อ 21 November 2019.
  26. Winslow, Jeremy (November 19, 2019). "The Game Awards 2019 Nominees Full List". เกมสปอต. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ. สืบค้นเมื่อ 20 November 2019.
  27. Watts, Steve (31 December 2019). "Steam Awards 2019 Winners Announced". เกมสปอต. ซีบีเอส อินเตอร์แอ็คทีฟ.
  28. Sheehan, Gavin (2 January 2020). "The New York Game Awards Announces 2020 Nominees". บลีดดิ้งคูล. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  29. "2019 Nominees". เนชั่นแนลอคาร์เดมีอออฟวีดิโอเกมเทรด์รีวิวเวอร์. 13 January 2020. สืบค้นเมื่อ 21 January 2020.
  30. "2019 Winners". เนชั่นแนลอคาร์เดมีอออฟวีดิโอเกมเทรด์รีวิวเวอร์. 24 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
  31. "All the categories (2020)". เพกาซัสอวอร์ด. 7 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-03. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.
  32. "Pégases 2020 : La liste des vainqueurs par catégorie". Jeuxvideo.com (ภาษาฝรั่งเศส). 10 March 2020. สืบค้นเมื่อ 10 March 2020.
  33. Grayshadow (17 February 2020). "2020 SXSW Gaming Awards Nominees Revealed". NoobFeed. สืบค้นเมื่อ 19 February 2020.
  34. Stuart, Keith (3 March 2020). "Death Stranding and Control dominate Bafta games awards nominations". เดอะการ์เดียน. สืบค้นเมื่อ 5 March 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]