อะไนต์แมร์ออนเอล์มสตรีต (วิดีโอเกม)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อะไนต์แมร์ออนเอล์มสตรีต | |
---|---|
ภาพปก | |
ผู้พัฒนา | แรร์ |
ผู้จัดจำหน่าย | แอลเจเอ็น |
โปรแกรมเมอร์ | สตีฟ แพทริก |
แต่งเพลง | เดวิด ไวส์ |
เครื่องเล่น | แฟมิคอม |
วางจำหน่าย |
|
แนว | แพลตฟอร์ม |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
อะไนต์แมร์ออนเอล์มสตรีต (อังกฤษ: A Nightmare on Elm Street) เป็นวิดีโอเกมที่วางจำหน่ายในระบบแฟมิคอมในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1989 และ 1990 โดยอิงแบบไม่เคร่งครัดจากแฟรนไชส์นิ้วเขมือบ ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยแรร์ และเผยแพร่โดยแอลเจเอ็น ทั้งนี้ ไม่ควรสับสนกับเกมที่ไม่เกี่ยวข้องด้วยชื่อเดียวกันสำหรับคอมโมดอร์ 64 และไอบีเอ็ม พีซี ที่วางจำหน่ายใน ค.ศ. 1989
รูปแบบการเล่น
[แก้]ผู้เล่นสวมบทบาทเป็นวัยรุ่นธรรมดาคนหนึ่ง[1]: 7 ส่วนตัวละครวัยรุ่นที่เพิ่มขึ้น สามารถควบคุมได้โดยผู้เล่นอีกสามคนด้วยการใช้เอ็นอีเอส โฟร์สกอร์[1]: 4 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตระเวนบริเวณใกล้เคียงของเอล์มสตรีต เพื่อรวบรวมกระดูกของเฟรดดี ครูเกอร์ ซึ่งเป็นฆาตกรต่อเนื่องที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ และกำจัดทิ้งในเตาเผาของโรงเรียนมัธยมท้องถิ่น[1]: 3
เกมดังกล่าวเกิดขึ้นในย่านเอล์มสตรีต และเล่นจากมุมมองแบบฉายด้านข้าง สภาพแวดล้อมของเกมเป็นที่อาศัยของตัวละครที่เป็นศัตรู (เช่น ซอมบี, แมว, สุนัข, โครงกระดูก, ค้างคาว และมินะทอร์[1]: 13 ) ที่จะโจมตีตัวละครของผู้เล่น การถูกโจมตีจำนวนหนึ่งครั้งจะทำให้ผู้เล่นเสียชีวิตในเกม เนื่องจากเกมจะเกิดขึ้นในเวลาประมาณเที่ยงคืน พื้นที่บางส่วนจึงถูกปิดจากผู้เล่นในตอนแรก และต้องมีการรวบรวมกุญแจเพื่อเข้าไปในภายหลัง[1]: 4 ภายในอาคารแต่ละหลัง ผู้เล่นจะต้องรวบรวมกระดูกที่กระจายอยู่ทั่วเลเวลก่อนจึงจะสามารถออกไปได้ เมื่อรวบรวมกระดูกครบแล้ว การต่อสู้ของบอสกับเฟรดดีก็จะเริ่มขึ้น การเอาชนะเฟรดดีจะทำให้ผู้เล่นออกจากพื้นที่และได้รับกุญแจที่ทำให้ผู้เล่นสามารถเข้าถึงพื้นที่ใหม่ได้[1]: 5
เกมนี้มีมาตรวัดเอกลักษณ์เฉพาะในชื่อ "สลีปมิเตอร์" (Sleep Meter) ซึ่งเป็นมาตรวัดระบุว่าตัวละครของผู้เล่นใกล้จะหลับแค่ไหน หากตัวละครของผู้เล่นคนใดคนหนึ่งหลับไป ตัวละครของผู้เล่นทั้งหมดจะถูกส่งไปยังสภาพแวดล้อมเวอร์ชันอื่นที่เรียกว่า "ดรีมเวิลด์" (Dream World) ซึ่งผู้เล่นจะเสี่ยงต่อการโจมตีจากเฟรดดีมากกว่า สลีปมิเตอร์จะลดลงโดยอัตโนมัติ แต่จะช้าลงเมื่อตัวละครของผู้เล่นยังคงเคลื่อนไหวอยู่ สลีปมิเตอร์สามารถเพิ่มขึ้นได้โดยการรวบรวมถ้วยกาแฟที่กระจัดกระจายไปทั่วเลเวล[1]: 6 เมื่ออยู่ในดรีมเวิลด์ ตัวละครของผู้เล่นสามารถกลับสู่เวอร์ชันเริ่มต้นของเลเวลได้โดยการรวบรวมบูมบอกซ์ที่วางไว้ที่ใดที่หนึ่งภายในเลเวล[1]: 12 การรวบรวมไอคอนบางอย่างจะทำให้ตัวละครของผู้เล่นมีพลังพิเศษในขณะที่พวกเขาอยู่ในโลกแห่งความฝัน นั่นคือความสามารถในการขว้างดาวกระจาย, หอกซัด หรือโพรเจกไทล์เวทมนตร์[1]: 8
การพัฒนา
[แก้]อ้างอิงจากนิตยสารเกม นินเท็นโดเพาเวอร์ และนินเท็นโดออฟยุโรป[2] แนวคิดดั้งเดิมของเกมนี้แตกต่างกันอย่างมากจากเกมที่ได้รับการเปิดตัวในที่สุด ในแนวคิดเกมดั้งเดิม ผู้เล่นจะต้องควบคุมเฟรดดี ครูเกอร์ และควรฆ่าวัยรุ่นที่พยายามรวบรวมกระดูกที่กระจัดกระจายของเขา เพื่อที่จะฝังพวกมันอีกครั้ง[3]
เป็นไปตามเรื่องย่อเวอร์ชันต้นแบบของเกม:
คุณคือเฟรดดี ครูเกอร์ วัยรุ่นที่น่ารังเกียจจำนวนมากพยายามกำจัดคุณโดยการค้นหากระดูกที่กระจัดกระจายของคุณและฝังพวกมัน วิธีเดียวที่จะหยุดพวกเขาคือการฆ่าพวกเขา คุณสามารถเดินทางไปตามถนนเอล์มสตรีตผ่านสายไฟฟ้า และท่อประปา หรือก้าวเข้าไปในกระจกแล้วก้าวเข้าไปในห้องอื่น เด็ก ๆ มีอาวุธที่จะต่อสู้กับคุณและบางคนยังมี "ดรีมอัลเทอร์อีโกส์" (Dream Alter Egos) ที่ทรงพลัง ...แต่หากคุณสามารถโจมตีได้ก่อนที่พวกเขาจะตื่น พวกเขาจะไม่ทำให้คุณเดือดร้อนคุณอีกต่อไป เหลานิ้วของคุณให้คมขึ้นและเตรียมพร้อมที่จะเฉือน เพราะเฟรดดีอยู่ที่นี่!
สันนิษฐานว่าเกมเวอร์ชันนี้ถูกยกเลิกเพื่อป้องกันการโต้เถียง หลายปีก่อนหน้านี้ วิดีโอเกมที่ดัดแปลงมาจากภาพยนตร์เรื่องสิงหาสับได้รับการเผยแพร่สำหรับอาตาริ 2600 ซึ่งผู้เล่นควบคุมฆาตกรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไล่ล่าและสังหารเหยื่อ[4] เกมดังกล่าวประสบความล้มเหลวทางการเงินเนื่องจากผู้ขายจำนวนมากปฏิเสธที่จะจัดจำหน่าย เพราะกลัวการตอบโต้
การตอบรับ
[แก้]บทวิจารณ์เบื้องต้นและย้อนหลัง | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
คริส บีเนียก แห่งนิตยสารวิดีโอเกมส์แอนด์คอมพิวเตอร์เอนเตอร์เทนเมนต์ เรียกอะไนต์แมร์ออนเอล์มสตรีต ว่าเป็นเกมที่ดีอย่างผิดปกติสำหรับเกมที่สร้างจากภาพยนตร์ โดยยกย่องว่ามีการควบคุมที่ "ราบรื่น, รวดเร็ว และตอบสนองได้ดี" และการนำเสนอที่หนักแน่นโดยเน้นให้เห็น "การแกว่งไปมาของหน้าจอดังเช่นภาพยนตร์" ที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่โลกแห่งความฝัน[14]
กราฟิกและเพลงยังได้รับการแสดงความคิดเห็นในเชิงบวกในบทวิจารณ์ย้อนหลัง ซึ่งผสมผสานกันมากขึ้นในรูปแบบการเล่น[6][8][13] เดอะวิดีโอเกมคริติก อ้างว่าแม้อะไนต์แมร์ออนเอล์มสตรีตจะเป็น "จินตนาการแพลตฟอร์มมาตรฐาน" แต่ก็มีบรรยากาศที่สะท้อนถึงภาพยนตร์ มาตรวัดการนอนหลับที่เผยแพร่อย่างแน่ชัดเมื่อเทียบกับระบบวัสดุและสเปกตรัมขอบเขตของเลกาซีออฟเคน: โซลรีฟเวอร์ (ค.ศ. 1999)[13] จากการเขียนหวนรำลึกใน ค.ศ. 2010 นักข่าวของเว็บไซต์ไอจีเอ็นได้ให้ความคิดเห็นแบบผสมเกี่ยวกับเกม โดยยกย่ององค์ประกอบของมาตรวัดการนอนหลับ แต่ยังรู้สึกว่ามันเป็น "คาสเซิลวาเนียค่าเช่าถูก พร้อมตัวร้ายที่มีพลังพิเศษผู้ยิ่งใหญ่ แต่กลับอ่อนแออย่างประหลาด"[15] อดัม วอลเลซ แห่งดีฟังต์เกมส์ให้ความเห็นว่าแม้จะมีการสร้างแพลตฟอร์มที่ "โอเค" แต่ประสบการณ์นี้ก็ทำให้สนุกน้อยลงด้วยการสุ่มลำดับด่าน "อันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" ไม่มีแถบชีวิต และบอสที่โจมตี "กระจอก" รวมถึงใช้ประโยชน์แนวคิดจากภาพยนตร์ไม่เพียงพอ: "ทำไมไม่ให้เฟรดดีใช้รูปแบบบางส่วนจากภาพยนตร์ เช่น งูจากนิ้วเขมือบ 3, หนังสือการ์ตูนตัวร้ายที่มีพลังพิเศษจากนิ้วเขมือบ 4 หรือพ่อครัวที่พิการจากนิ้วเขมือบ 5? วะ ผมไม่ได้สนใจเรื่องไร้สาระจาก 3 มิตินิ้วเขมือบ!"[6] เกมโคลายังมองว่าไม่มีแถบชีวิต และความยากที่ไม่เหมาะสมของส่วนในฝัน: "นักรบในฝันมีการโจมตีแบบโพรเจกไทล์ แต่คุณไม่สามารถใช้ได้เสมอไป โดยส่วนใหญ่คุณถูกบังคับให้ต่อสู้กับศัตรูด้วยแขนที่แข็งทื่อของคุณ ซึ่งเอื้อมมือไปไกลพอที่จะฆ่าคุณได้ทุกครั้งที่คุณต่อสู้กับบางสิ่ง"[8]
สิ่งสืบทอด
[แก้]ใน ค.ศ. 2013 สมาคมนักสะสมของเล่นที่ระลึกนานาชาติได้เปิดตัวฟิกเกอร์พิเศษของเฟรดดีสไตล์วิดีโอเกมด้วยมือที่ไม่มีถุงมือไปพร้อมกับฟิกเกอร์สยองขวัญสไตล์นินเท็นโดอื่น ๆ ของพวกเขาซึ่งเป็นเจสัน วอร์ฮีส์ สไตล์วิดีโอเกมที่อิงจากเกมฟรายเดย์เดอะเธอร์ทีนธ์ของแอลเจเอ็น[16][17]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในบทวิจารณ์ของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันธลี มีนักวิจารณ์สองคนให้คะแนนอะไนต์แมร์ออนเอล์มสตรีตที่ 4 เต็ม 10 ซึ่งคนหนึ่งให้ 5 เต็ม 10 และอีกคนให้ 6 เต็ม 10[7]
- ↑ นิตยสารนินเทนโดพาวเวอร์ตัดสินให้คะแนนอะไนต์แมร์ออนเอล์มสตรีตที่ 3 เต็ม 5 สำหรับกราฟิก/เสียง และการควบคุมการเล่น รวมถึงให้คะแนน 2.6 เต็ม 5 สำหรับความท้าทาย และธีม/ความสนุกสนาน[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 A Nightmare on Elm Street. USA: Nintendo. 1990.
- ↑ Nintendo Power. Nintendo. 2: 96. September 1989.
YOU are Freddy Kruger, terrorizing the neighborhood. This time it's you they have to fear on Elm Street.
{{cite journal}}
: CS1 maint: untitled periodical (ลิงก์) - ↑ http://dailydead.com/retro-gaming-review-a-nightmare-on-elm-street-nes/
- ↑ Cohen, D.S. "Texas Chainsaw Massacre for the Atari 2600 – The First Slasher Video Game". About.com. สืบค้นเมื่อ September 28, 2013.
- ↑ Michael Baker, Christopher. "A Nightmare on Elm Street". AllGame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 14, 2014. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Wallace, Adam (October 21, 2016). "A Nightmare on Elm Street". Defunct Games. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ Harris, Steve; Semrad, Ed; Alessi, Martin; Stockhausen, Jim (June 1990). "Nightmare on Elm". Electronic Gaming Monthly. No. 11. p. 18.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Huffman, Zack (November 1, 2005). "A Nightmare on Elm Street (NES)". GameCola. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 18, 2011. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ The J Man (August 8, 2002). "A Nightmare on Elm Street". Just Games Retro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 2, 2015. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ "A Nightmare on Elm Street". Nintendo Power. Vol. 16. September 1990. p. 84.
- ↑ Kanarekkk (November 7, 2013). "A Nightmare on Elm Street". Retroage (ภาษาโปแลนด์). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-23. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ Hicks, Brad. "A Nightmare on Elm Street (NES)". Swank World. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 "NES Reviews M–N". The Video Game Critic. สืบค้นเมื่อ September 6, 2020.
- ↑ 14.0 14.1 Bieniek, Chris (August 1990). "A Nightmare on Elm Street". VideoGames & Computer Entertainment. No. 19. pp. 43–44.
- ↑ Buchanan, Levi (April 30, 2010). "An NES Nightmare on Elm Street". IGN. Retrieved November 22, 2016.
- ↑ "NECA's 8-Bit Freddy Krueger Based On the 1989 NES Game!!!". Bloody Disgusting. August 7, 2013. สืบค้นเมื่อ September 28, 2013.
- ↑ "SDCC Exclusive: Video Game Jason Voorhees Action Figure Coming to Comic-Con!". Neca Online. June 6, 2013. สืบค้นเมื่อ September 28, 2013.