อะมอนอะมาร์ท
อะมอนอะมาร์ท | |
---|---|
อะมอนอะมาร์ทขณะแสดงสดในเทศกาลคอนเสิร์ตเมทัลเปิดทัสคา ปี 2011 ณ นครเฮลซิงกิ, ฟินแลนด์ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ทัมบา, สวีเดน |
แนวเพลง | เมโลดิกเดทเมทัล |
ช่วงปี | 1988 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | เมทัลเบลด |
สมาชิก | โจฮัน เฮกก์ โอลาวิ มิคโคเนิน เทด ลุนสตอร์ม โจฮัน ซอเดอร์เบิร์ก |
อดีตสมาชิก | แอนเดรส์ ฮานส์ซัน นิโค คอคิเนน มาร์ติน โลเปซ เฟรดริค แอนเดรส์ซัน |
เว็บไซต์ | amonamarth.com |
อะมอนอะมาร์ท (อังกฤษ: Amon Amarth) เป็นวงเมโลดิกเดทเมทัลสัญชาติสวีเดน จากเมืองทัมบา ก่อตั้งขึ้นในปี 1992 วงได้หยิบยืมชื่อมาจากภาษาซินดารินซึ่งแปลว่า "ภูเขาไฟมรณะ" ในมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เนื้อหาเพลงส่วนใหญ่ของวงมักเกี่ยวข้องกับชาวไวกิง เทพปกรณัมนอร์ส และรวมถึงประวัติศาสตร์ทางเสื้อชาติพันธ์ของพวกเขา ด้วยเหตุนี้เองทำให้บางครั้งวงได้รับเครดิตให้เป็นวงแนวไวกิงเมทัลอีกด้วย[1]
อะมอนอะมาร์ท เดิมใช้ชื่อว่า "สคัม" (Scum) เล่นเพลงแนวไกรด์คอร์ ลูกครึ่งผสมระหว่างดนตรีเอกซ์ตรีมและฮาร์ดคอร์พังค์[2] ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบันและปรับใช้เดทเมทัลแทน โดยนำจังหวะแบบโซโล่กีตาร์สไตล์ฮาร์ดร็อกมาผสมเข้าด้วยกันแต่ยังคงหนักแน่นด้วยเบสและจังหวะริฟฟ์กีตาร์เช่นเดียวกับเสียงร้อง ที่เรียกว่า "เมโลดิกเดทเมทัล"[2][3]
ปัจจุบันวงประกอบด้วยสมาชิก 5 คน ได้แก่ นักร้องนำ โจฮัน เฮกก์ (Johan Hegg) มือกีตาร์หลัก โอลาวิ มิคโคเนิน (Olavi Mikkonen) และ โจฮัน ซอเดอร์เบิร์ก (Johan Söderberg) และมือเบส เทด ลุนสตอร์ม (Ted Lundström) อะมอนอะมาร์ทได้ออกอัลบั้มสตูดิโอทั้งหมด 10 อัลบั้ม 1 อัลบั้มรวมเพลง 1 อีพี 1 วีดิโออัลบั้ม และ 10 มิวสิกวีดิโอ โดยอัลบั้มแรกของวงคือ "Once Sent from the Golden Hall" วางจำหน่ายครั้งแรกในปี 1998 เรื่อยต่อมาอีก 5 อัลบั้ม จนในที่สุดวงก็ได้ประสบความสำเร็จในการตลาดด้วยคำวิจารณ์เชิงบวก รวมถึงการติดชาร์ทอันดับที่ 11 บนสวีดิชอัลบั้มชาร์ทและอันดับ 50 บนบิลบอร์ด 200 จากอัลบั้ม "Twilight of the Thunder God"[4] ตามมาด้วยอัลบั้ม "Jomsviking" ในปี 2016 ซึ่งก็ประสบความสำเร็จด้วยอันดับ 3 บนสวีดิชอัลบั้มชาร์ทและท็อปเทนในอีกหลายชาร์ททั่วยุโรป และอัลบั้มล่าสุด "Berserker" ในปี 2019[5]
สตูดิโออัลบั้ม
[แก้]- Once Sent from the Golden Hall (1998)
- The Avenger (1999)
- The Crusher (2001)
- Versus the World (2002)
- Fate of Norns (2004)
- With Oden on Our Side (2006)
- Twilight of the Thunder God (2008)
- Surtur Rising (2011)
- Deceiver of the Gods (2013)
- Jomsviking (2016)
- Berserker (2019)
สมาชิก
[แก้]- ปัจจุบัน
- โจฮัน เฮกก์ (Johan Hegg) − เสียงร้อง (1992–ปัจจุบัน)
- โอลาวิ มิคโคเนิน (Olavi Mikkonen) − กีตาร์ (1992–ปัจจุบัน)
- เทด ลุนสตอร์ม (Ted Lundström) − กีตาร์เบส (1992–ปัจจุบัน)
- โจฮัน ซอเดอร์เบิร์ก (Johan Söderberg) − กีตาร์ (1998–ปัจจุบัน)
- อดีตสมาชิก
- แอนเดรส์ ฮานส์ซัน (Anders Hansson) − กีตาร์ (1992–1998)
- นิโค คอคิเนน (Nico Kaukinen) − กลอง(1992–1996)
- มาร์ติน โลเปซ (Martin Lopez) − กลอง (1996–1998)
- เฟรดริค แอนเดรส์ซัน (Fredrik Andersson) − กลอง(1998–2015)
ไทม์ไลน์
[แก้]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Biography at amonamarth.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-24. สืบค้นเมื่อ 2007-02-27.
- ↑ 2.0 2.1 Patterson, Dayal (July 27, 2011). "That's Viking Talk: Amon Amarth Interviewed". The Quietus. John Doran. สืบค้นเมื่อ October 17, 2014.
- ↑ Ramanand, Liz (February 28, 2014). "Amon Amarth Drummer Fredrik Andersson Talks 'Deceiver of the Gods,' Longevity + More Read More: Amon Amarth Drummer Talks 'Deceiver of the Gods' + More". Loudwire. Townsquare Media. สืบค้นเมื่อ October 17, 2014.
- ↑ "Amon Amarth:Twilight of the Thunder God (2008): Reviews". Metacritic. CNET Networks, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-09. สืบค้นเมื่อ 2009-03-19.
- ↑ "Amon Amarth "Berserker"". metalblade. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)