อนิศ กปูร
เซอร์อนิช คาพัวร์ | |
---|---|
![]() คาพัวร์ในปี 2017 | |
เกิด | [1] มุมไบ, รัฐบอมเบย์, ประเทศอินเดีย | 12 มีนาคม ค.ศ. 1954
สัญชาติ | บริเตน, อินเดีย (เดิม) |
การศึกษา | สถาบันเดอะดูน วิทยาลัยศิลปะฮอร์นซีย์ สถาบันศิลปะและการออกแบบเชลซี |
มีชื่อเสียงจาก | ประติมากรรม |
คู่สมรส | ซูซานน์ สพีเคล (1995 – 2013) โซฟี วอล์เคอร์ (2016 หรือ 2017 – ปัจจุบัน) |
รางวัล | รางวัลเทอร์เนอร์ 1991 เพรเมียม อิมพีเรล 2011 รางวัลเจเนซิส 2017 |
เว็บไซต์ | anishkapoor.com |
เซอร์อนิศ กปูร หรือทับศัพท์อิงภาษาอังกฤษว่า อนิช คาพัวร์[2] (Sir Anish Kapoor CBE, RA; เกิด 12 มีนาคม 1954) เป็นประติมากรชาวอินเดีย-อังกฤษ[3] เชียวชาญพิเศษด้านศิลปะจัดวางและศิลปะคอนเซ็ปชวล อนิศ กปูร เกิดที่เมืองมุมไบ[4][5] และย้ายมาอาศัยกับทำงานในลอนดอนตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970s ที่ซึ่งเขาย้ายมาศึกษาศิลปะที่วิทยาลัยศิลปะฮอร์นซีย์และวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเชลซีตามลำดับ
กปูรเคยเป็นตัวแทนสัญชาติบริเตนในเวนิสเบียนนาเลครั้งที่ 44 ในปี 1990 ที่ซึ่งเขาได้รางวัล Premio Duemila, ในปี 1991 ได้รางวัลเทอร์เนอร์ และในปี 2002 ได้รางวัลยูนิลีเวอร์คอมมิชชั่นให้กับเทอร์ไบน์ฮอลล์ของเททมอเดิร์น งานศิลปะสาธารณะชิ้นที่มีชื่อเสียงของเขา เช่น คลาวด์เกท (2006, รู้จักในชื่อเล่น "เดอะบีน") ในสวนสาธารณะมิลเลนเนียม ชิคาโก, สกายมิร์เรอร์ ซึ่งจัดแสดงที่รอคเฟลเลอร์เซ็นเตอร์ นิวยอร์กซิตี ในปี 2006, งานที่สวนเคนซิงทันในลอนดอนเมื่อปี 2010,[6] ทีมีนอส ที่มิดเดิลเฮเวน มิดเดิลบะระ; เลวิเอธาน[7] ที่กรังปาเลส์ ปารีส เมื่อปี 2011 และ อาร์เซเลอร์มิททอลออร์บิท ซึ่งจัดแสดงถาวรที่สวนสาธารณะออลิมพิคของลอนดอนตั้งแต่ปี 2012[8] ในปี 2017 กปูรออกแบบรูปปั้นสำหรับรางวัลบริทอะวอร์ด 2018[9]
กปูรได้รับแต่งตั้งยศเบิร์ธเดย์ออร์เนอร์เป็นอัศวินแห่งสหราชอาณาจักรในปี 2013 สำหรับผลงานประจักษ์ทางศิลปะ และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยออกซเฟิดในปี 2014[10][11] ในปี 2012 เขาได้รับปัทมภูษันของรัฐบาลอินเดีย ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศพลเมืองที่สูงสุดอันดับสามของอินเดีย[12] ภาพของกปูรยังปรากฏในส่วนไอคอนของวัฒนธรรมอังกฤษในหนังสือเดินทางอังกฤษที่ออกแบบใหม่ในปี 2015[13] ในปี 2016 เขาได้รับประกาศชื่อเข้ารับรางวัลเลนนอนโอโนะกรานท์เพื่อสันติภาพ[14] ในปี 2017 กปูรซึ่งเป็นชาวยิว[15] ได้รับรางวัลมูลค่าหนึ่งล้านดอลลาร์จากรางวัลเจเนซิส "สำหรับผู้ที่ทุ่มเทให้กับมูลค่าของยิว"[16][17][18]
กรณีถกเถียงวานทาแบล็ก[แก้]
ในปี 2014 กปูรเริ่มทำชิ้นงานจากวานทาแบล็ก (Vantablack) สารที่เป็นหนึ่งในสารที่สะท้อนกลับแสงน้อยที่สุดที่มีการบันทึกไว้ ในชื่อ Vantablack S-VIS ซึ่งสามารถดูดกลืนแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจนเกือบหมดและได้รับขนานนามเป็นสี "ดำที่ดำที่สุด" (Blackest Black) และถูกมอบลิขสิทธิ์เด็ดขาดให้แก่สตูดิโอของอนิศ กปูร เพื่อใช้ทำงานทางศิลปะเพียงผู้เดียว[19] ลิขสิทธิ์เฉพาะบุคคลดังที่กปูรได้รับนั้นกลายเป็นประเด็นถกเถียงในวงการศิลปะอย่างมาก และมีคำวิพากษ์วิจารณ์มากมายถึงกรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กปูรได้ออกมาปฏิเสธคำวิจารณ์และระบุว่า "ทำไมเป็นเอกสิทธิ์ [ต่อผมคนเดียว] หรอ? เพราะมันเป็นงานที่ผมไปทำร่วม [กับสถาบันฯ ที่ทำสาร], เพราะผมอยากจะเอามันออกมาใช้นอกจาก [เป้าหมายหลักของมัน] บ้างนิดหน่อย ผมเคยทำงานร่วมกับคนที่สร้างชิ้นงานด้วยเหล็กสเตนเลสมาเป็นปี ๆ และนั่นก็เป็นเอกสิทธิ์ [เฉพาะผม] เหมือนกัน"[20]
ศิลปิน เช่น คริสเตียน เฟอรร์ และ สตรวท เซมเพล วิจารณ์ว่าสิ่งที่กปูรคิดว่าเหมาะสมถูกต้องที่จะได้ใช้วัตถุดิบแปลกใหม่นั้นมันเป็นการกีดกันยกเว้นคนอื่นออก[21][22] เพื่อเป็นการตอบโต้ เซมเพล ได้ผลิตสี "Pinkest Pink" (สีชมพูที่ชมพูที่สุด) ออกมาและระบุว่าผลิตมันขึ้นมาให้กับทุกคน ยกเว้นใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับอนิศ กปูร และตัวอนิศ กปูรเอง[23][24]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Töniges, Sven. "Anish Kapoor: Master of darkness at 65 | DW | 12.03.2019". DW.COM. Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-16.
- ↑ "I wouldn't have given up my Indian nationality but I had to be practical: Anish Kapoor". The Times of India. 14 December 2014. สืบค้นเมื่อ 7 February 2017.
{{cite news}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) - ↑ Wadhwani, Sita (14 September 2009). "Anish Kapoor". CNNGo.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2009. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ "Anish Kapoor". ArtSlant. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-28. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ Anish Kapoor: Turning the World Upside Down 2010 เก็บถาวร 3 ธันวาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "ANISH KAPOOR Leviathan". Anishkapoor.com. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ "Anish Kapoor Orbit". Anishkapoor.com. สืบค้นเมื่อ 26 March 2012.
- ↑ "This is what Brit winners will take home next year". BBC. 10 December 2017.
- ↑ "Oxford Times".
- ↑ "Oxford announces honorary degrees for 2014". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2014. สืบค้นเมื่อ 25 June 2014.
- ↑ "President gives away Padma awards". The Times of India. 23 March 2012. สืบค้นเมื่อ 13 November 2015.
- ↑ "Introducing the new UK passport design" (PDF). Gov.uk. 7 November 2016.
- ↑ "Sculptor Anish Kapoor among winners of Lennon Ono peace prize". News & Star online. 17 August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-18. สืบค้นเมื่อ 26 August 2016.
- ↑ Jeffries, Stuart (8 June 2016). "Anish Kapoor on Wagner: 'He was antisemitic and I'm Jewish. Who cares?'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.
- ↑ "Anish Kapoor receives 'Jewish Nobel' Genesis Prize, and donates $1m to refugees". 6 February 2017. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.
- ↑ "Anish Kapoor condemns 'abhorrent' refugee policies as he wins Genesis prize". The Guardian. 6 February 2017. สืบค้นเมื่อ 6 February 2017.
- ↑ "ArtPremium – Anish Kapoor - "It waves you to a more removed ground"". ArtPremium (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 13 March 2017. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
- ↑ "Art Fight! The Pinkest Pink Versus the Blackest Black". wired.com. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
- ↑ Delaney, Brigid (26 September 2016). "'You could disappear into it': Anish Kapoor on his exclusive rights to the 'blackest black'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 8 February 2018.
- ↑ Frank, Priscilla (29 February 2016). "Anish Kapoor Angers Artists By Seizing Exclusive Rights To 'Blackest Black' Pigment". HuffPost.
- ↑ "Some Artists Are Seeing Red Over A New 'Black'". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 31 March 2017.
- ↑ Roisin O'Connor: Anish Kapoor gets his hands on 'pinkest pink' after being banned from use by its creator, independent.co.uk, 27 December 2016
- ↑ "*The World's Pinkest Pink - 50g powdered paint by Stuart Semple". Culture Hustle. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: อนิศ กปูร |
![]() |
วิกิคำคมมีคำคมเกี่ยวกับ อนิศ กปูร |