องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งอิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งอิสราเอล (อังกฤษ: Israel Broadcasting Authority) (ฮีบรู:רָשׁוּת השׁידוּר‎, Rishút HaShidúr) หรืออักษรย่อ "ไอบีเอ" (อังกฤษ: IฺBA) เป็นองค์กรสื่อสารมวลชนภายใต้กำกับของรัฐบาลอิสราเอล เริ่มจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2491 ด้วยการจัดตั้งสถานีวิทยุแห่งชาติขึ้นภายใต้ชื่อ "โคลยิสราเอล" (ฮีบรู:קול ישראל) ก่อนที่ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กิจการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งอิสราเอล" (อังกฤษ:Israel Broadcasting Service)

หลังจากนั้น สภาคเนสเซตของอิสราเอลได้เห็นชอบให้มีการตรารัฐบัญญัติจัดตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งอิสราเอล เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2508 และไอบีเอได้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้นในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 โดยขณะนั้นออกอากาศด้วยระบบภาพขาวดำ ก่อนที่ต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 เริ่มออกอากาศด้วยระบบภาพสี โดยก่อนหน้านั้นได้ทดลองออกอากาศระบบภาพสี ในถารถ่ายทอดสดการประกวดเพลงยูโรวิชันปี 1979 และการถ่ายทอดสดการเยือนอิสราเอลอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีอันวัร อัสซาดาต แห่งอียิปต์ ในปี พ.ศ. 2520

ไอบีเอผูกขาดกิจการโทรทัศน์และวิทยุในประเทศจนถึงปี พ.ศ. 2533 มีการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการกระจายเสียงและแพร่ภาพรองแห่งอิสราเอล (อังกฤษ:The Second Authority for Television and Radio) (ฮีบรู:הרשות השניה לטלויזיה ורדיו) เพื่อกำกับดูแลสถานีโทรทัศน์และวิทยุพาณิชย์ ถือเป็นการเปิดเสรีการประกอบกิจการการกระจายเสียงและแพร่ภาพในประเทศอิสราเอล ก่อให้เกิดสถานีโทรทัศน์ใหม่ 2 ช่อง อันได้แก่ ช่อง 2 และ ช่อง 10 ตามลำดับ

รัฐบาลอิสราเอลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู มีดำริให้ปฎิรูปกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐ ส่งผลให้มีการเตรียมการจัดตั้ง บรรษัทกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งอิสราเอล (อังกฤษ:Israeli Public Broadcasting Corporation) (ฮีบรู:תאגיד השידור הישראלי‎) หรือ ไอพีบีซี (อังกฤษ:IฺPBC) และได้ทดลองนำเสนอข่าวสารทางสื่อออนไลน์ ระนาบเดียวกัน รัฐบาลอิสราเอลกำหนดให้ไอบีเอยุติการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 แต่รัฐบาลอิสราเอลผ่อนปรนให้ไอบีเอดำเนินงานต่อจนถึงต้นปี พ.ศ. 2561 จนกระทั่งไอพีบีซีมีกำหนดเริ่มดำเนินงานในวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ไอบีเอได้ยุติการดำเนินงานตามลำดับในวันที่ 9 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ด้วยการยุติการดำเนินงานของฝ่ายข่าว โดยการออกอากาศรายการข่าว "มาบัต ลาฮาดาชอต" (ฮีบรู:מבט לחדשות‎) ซึ่งออกอากาศมานานกว่า 49 ปีเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการนำพนักงานของฝ่ายข่าวมาบอกเล่าความรู้สึก และร่วมขับร้องเพลงชาติอิสราเอลร่วมกัน ทั้งนี้ รายการต่างๆ ของช่อง 1 ซึ่งดำเนิงานโดยไอบีเอยังคงออกอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการออกอากาศของรายการข่าว ส่วนสถานีวิทยุของไอบีเอยังคงออกอากาศข่าวสั้นต้นชั่วโมงสลับกับรายการเพลง โดยรายการสุดท้ายของโทรทัศน์ช่อง 1 ไอบีเอ คือ การถ่ายทอดสด การประกวดเพลงยูโรวิชันปี 2017 เนื่องจากตัวแทนจากประเทศอิสราเอลผ่านเข้ารอบสุดท้าย จึงต้องมีการถ่ายทอดสดอย่างต่อเนื่อง

สื่อในการกำกับ[แก้]

โทรทัศน์[แก้]

  • ช่อง 1 สถานีโทรทัศน์หลักของไอบีเอ
  • ช่อง 33 ช่องข่าวและสถานการณ์ปัจจุบัน และรายการภาคภาษาอาหรับ

วิทยุ[แก้]

  • Reshet Aleph ("Network A")
  • Reshet Bet ("Network B")
  • Reshet Gimmel ("Network C")
  • Reshet Dalet ("Network D")
  • Reka
  • 88 FM
  • Kol Ha-Musika ("The Voice of Music")
  • 'Moreshet'

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูล[แก้]