หาสยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หาสยะ (สันสกฤต: हास्य, Hāsya) เป็นคำภาษาสันสกฤต[1] เรียกหนึ่งในเก้ารส หรือ ภาวะ ของสุนทรียศาสตร์อินเดีย มักแปลว่าอารมณ์ขัน หรือ ตลก[2][3] สีที่เกี่ยวข้องกันกับหาสยะคือสีขาวและเทพเจ้า ปฺรมถ (Pramatha; प्रमथ)[4] และนำมาซึ่งความรื่นรมย์ของจิตใจ[5]

หาสยะมักเกิดมาจากศฤงคาร ดังที่ปรากฏใน นาฏยศาสตร์ ความเรียงว่าด้วยนาฏยกรรมของภารตมุนี นักวิชาการการละครและดนตรี[6] ทฤษฎีว่าด้วย รส เป็นแนวคิดหลักเบื้องหลังศิลปกรรมอินเดียดั้งเดิม ซึ่งรวมถึงการละคร,[7] ดนตรี, การร่ายรำ, กวีนิพนธ์ และประติมากรรม[3][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Definition of hāsya". Sanskritdictionary. สืบค้นเมื่อ 2014-08-28.
  2. Peter Marchand (2006). The Yoga of the Nine Emotions: The Tantric Practice of Rasa Sadhana. Inner Traditions / Bear & Co. pp. 177–. ISBN 978-1-59477-094-4.
  3. 3.0 3.1 Gupteshwar Prasad (1994). I.A. Richards and Indian Theory of Rasa. Sarup & Sons. p. 100. ISBN 978-81-85431-37-6.
  4. Susan L. Schwartz (2004). Rasa: Performing the Divine in India. Columbia University Press. pp. 15–. ISBN 978-0-231-13145-2.
  5. Sanjukta Gupta (2013). Advaita Vedanta and Vaisnavism: The Philosophy of Madhusudana Sarasvati. Routledge. pp. 140–. ISBN 978-1-134-15774-7.
  6. Ghosh, Manomohan (2002). Natyasastra. ISBN 81-7080-076-5.
  7. Poonam Trivedi; Dennis Bartholomeusz (2005). India's Shakespeare: Translation, Interpretation, and Performance. University of Delaware Press. pp. 211–. ISBN 978-0-87413-881-8.
  8. Manorma Sharma (2007). Music Aesthetics. APH Publishing. pp. 96–. ISBN 978-81-313-0032-9.