หอศิลป์แห่งชาติอาร์มีเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอศิลป์แห่งชาติอาร์มีเนีย
Հայաստանի ազգային պատկերասրահ
หอศิลป์แห่งชาติอาร์มีเนีย ในนครเยเรวาน
แผนที่
ก่อตั้ง1921
ที่ตั้งเยเรวาน ประเทศอาร์มีเนีย
ประเภทหอศิลป์
จำนวนผู้เยี่ยมชม80,300 (2016)
ผู้อำนวยการMarina Hakobyan
เว็บไซต์www.gallery.am

หอศิลป์แห่งชาติอาร์มีเนีย (อาร์มีเนีย: Հայաստանի ազգային պատկերասրահ, Hayastani azgayin patkerasrah) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอาร์มีเนีย ตั้งอยู่บนจัตุรัสสาธารณรัฐในนครเยเรวาน ภายในเก็บรักษาและจัดแสดงงานศิลปะจากยุโรปตะวันตก รัสเซีย และอาร์มีเนีย โดยมีของสะสมงานศิลปะอาร์มีเนียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ยอดเข้าชมของหอศิลป์อยู่ที่ 65,000 คนในปี 2005[1]

ของสะสมส่วนใหญ่ของหอศิลป์เป็นงานศิลปะอาร์มีเนีย จำนวน 700 กว่าชิ้น[2] โดยจัดแสดงเริ่มต้นจากศิลปะยุคกลางและโบราณของอาร์มีเนีย ซึ่งคือภาพปูนเปียกยูราร์ตู (Urartu frescoes) และแบบจำลองภาพโมเสกจากวิหารการ์นี จิตรกรรมฝาผนังจากยุคกลางเช่นภาพปูนเปียกจากศตวรรษที่ 7 ซึ่งแสดงภาพของพระคริสต์ประทับบัลลังก์จากโบสถ์นักบุญสเตฟานอส (Lmbatavank), ชิ้นส่วนภาพ "การพิพากษา" จากโบสถ์นักบุญโปคอส-เปตรอส (Tatev) จากศตวรรษที่ 10 และภาพพระคริสต์สมภพจากศตวรรษที่ 13 ที่ได้มาจากโบสถ์นักบุญอัสตวัตซัสกิน (Akhtala) นอกจากนี้ยังมีงานศิลปะโดยศิลปินชาวอาร์มีเนียโพ้นทะเล เช่น Zakar Zakarian (ปารีส), Edgar Chahine (ปารีส), Hovsep Pushman (นครนิวยอร์ก), Jean Carzou (ปารีส), Jean Jansem (ปารีส), Gerardo Oragyan (โรม) และ Paul Guiragossian (เบรุต)[3]

นอกจากงานศิลปะของอาร์มีเนียแล้ว ของสะสมของหอศิลป์ยังมีของสะสมโบราณเช่นงานศิลปะจากอียิปต์โบราณ, กรีกโรมัน, คอปติก และเปอร์เซีย ของสะสมจำพวกเครื่องเคลือบยังมีวัตถุจากจีน, เปอร์เซีย, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, ออสเตรีย, เดนมาร์ก และเครื่องเคลือบจำนวนมากจากโรงงานเครื่องเคลือบในศตวรรษที่ 18-19 สมัยพระเจ้าซาร์จากรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีวัตถุทองสัมฤทธิ์จากสมัยราชวงศ์ฉิงของจีน และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยุคศตวรรษที่ 16-17 จากยุโรปตะวันตก งานศิลปะของสะสมของหอศิลป์ที่เป็นผลงานโดยศิลปินชั้นครูที่มีชื่อเสียงจากยุโรปตะวันตกรวมถึงงานของ ดอนาเตลโล, ตินโตเรตโต, อันโตนิโอ กาโนวา, Joos de Momper, คัสพาร์ แนทเชอร์, มัทเทียม สตอเมอร์, ยัน ฟัน โฌเยิน, P. Claesz, E. M. Falconet, คาร์เล วันลู, J. B. Greuze, โยเซฟ แวร์แนท, รอเบิร์ท ฮิวเบิร์ท, เทโอดอร์ รุสโซ, อะดอลเฟ มอนติเชลลี เป็นต้น[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Arts Digest - Arts and Culture - ArmeniaNow.com". armenianow.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2023-10-30.
  2. "Отдел армянской живописи - Отделы - Музей - Национальная галерея Армении". www.gallery.am. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
  3. 3.0 3.1 National Gallery of Armenia: Painting, Graphics, Sculpture, Applied Art (Yerevan: Tigran Mets Publishing, 2008)