หอยพิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอยพิม
เนื้อหอยพิมตากแห้ง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Mollusca
ชั้น: Bivalvia
ชั้นย่อย: Heterodonta
อันดับ: Myoida
วงศ์: Pholadidae
สกุล: Pholas
สปีชีส์: P.  orientalis
ชื่อทวินาม
Pholas orientalis
Gmelin, 1791
ชื่อพ้อง[1]
  • Pholas siamensis Spengler, 1792

หอยพิม (อังกฤษ: Angle's wing, Oriental angel's wing; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pholas orientalis) เป็นหอยสองฝาทะเลที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากในบริเวณก้นอ่าวไทย และปากแม่น้ำท่าจีนในจังหวัดสมุทรสาครเป็นแหล่งที่พบหอยพิมมากกว่าชายทะเลด้านอื่น ๆ

รูปร่าง[แก้]

หอยพิมจะมีรูปร่างกลมยาวรี เปลือกขาวบางเปราะมีปุ่มสากมือ เปลือกนี้ถ้ากลางออกจะดูคล้ายปีกนางฟ้าในเทพนิยาย

ลักษณะ[แก้]

ตัวหอยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. ส่วนลำตัว มีลักษณะอ้วนป้อมและนิ่ม ประกอบด้วยปาก ซึ่งมีเขี้ยวคล้ายฟันกระต่าย 2 ซี่ ไว้สำหรับบดอาหาร ต่อไปเป็นกระเพาะ ลำไส้ และอวัยวะต่าง ๆ
  2. เนื้อเยื่อ มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อมีกล้มเนื้อเหนียวนุ่มคล้ายงวงช้าง ใช้ดูดอาหารจากน้ำ

ที่อยู่อาศัย[แก้]

หอยพิมชอบอาศัยอยู่บริเวณแนวระดับน้ำลงต่ำสุด พื้นพื้นดินเหนียวปนทรายละเอียด ผิวหน้าดินเป็นโคลนเลนบาง ๆ อาศัยอยู่ในรูลึกประมาณ 30-40 เซนติเมตร ปากรูกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ลึกลงไปจะกว้าง ตามตัวเวลาน้ำขึ้นจะเคลื่อนตัวและชูงวงขึ้นไปในน้ำเพื่อดูดอาหาร เมื่อเวลาน้ำลงจะเคลื่อนตัวลงไปอยู่ในก้นรู

อาหาร[แก้]

หอยพิมกินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนที่ล่องลอยอยู่ใกล้ผิวหน้าดิน โดยการกรอง หอยพิมขนาดใหญ่อ้วนสมบูรณ์ จะพบมากในช่วงเดือนธันวาคม -มีนาคม การจับหอยพิมใช้วิธีดำน้ำลงไปก็บด้วยมือ นับว่าหอยพิมเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องจากแหล่งที่พบหอยพิมมากอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตำบลโกรกกราก ตำบลพันท้ายนรสิงห์, ตำบลบางหญ้าแพรก, ตำบลกาหลง และอำเภอเมืองสมุทรสาคร หอยพิมสามารถนำมาทำเป็นอาหาร ได้หลายรูปแบบ เช่น ตากแห้ง, ลวก, แกงจืด, แกงส้ม หรือผัดฉ่า เป็นต้น แต่ก่อนที่จะนำมาทำเป็นอาหารจะต้องนำเอาเขี้ยวออกเสียก่อน และถ้าจำนำหอยสด ๆ มาทำอาหาร ควรนำหอยเป็น ๆ มาแช่น้ำเค็ม 1 คืน เพื่อให้คายโคลนแล้วจึงค่อยแกะเปลือกออกล้างส่วนหัว รีดส่วนที่เป็นงวงเพื่อให้สิ่งที่ยังคงค้างอยู่ภายในออกทิ้ง นำเขี้ยวออกแล้วจึงนำไปประกอบอาหารตามต้องการ

อ้างอิง[แก้]

  • สิทธิ กุหลาบทอง. 2554. ชีววิทยา การทำประมง และแนวทางการเพาะเลี้ยงหอยพิม Pholas orientalis).

วารสารคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 2 ฉบับที่ 3: 27-37.


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]