ข้ามไปเนื้อหา

หอดูดาวแห่งชาติ (บราซิล)

พิกัด: 22°53′43″S 43°13′29″W / 22.8953°S 43.2246°W / -22.8953; -43.2246
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หอดูดาวแห่งชาติ
หน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโนลีบราซิล
รหัสหอดูดาว880
ที่ตั้งรีโอเดจาเนโร รัฐรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
พิกัด22°53′43″S 43°13′29″W / 22.8953°S 43.2246°W / -22.8953; -43.2246
ระดับความสูง2 ม.
ก่อตั้งค.ศ. 1827 (1827)
เว็บไซต์www.on.br

หอดูดาวแห่งชาติ (โปรตุเกส: Observatório Nacional, ON) ของประเทศบราซิล เป็นสถาบันทางวิทยาศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในเมืองรีโอเดจาเนโร ในรัฐรีโอเดจาเนโร[1] ก่อตั้งขึ้นในปี 1827 เป็นหนึ่งในสถาบันวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ[2][3] จุดประสงค์เริ่มแรกคือเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ของดินแดนบราซิลและสอนการเดินเรือ

ปัจจุบันได้พัฒนาการวิจัย การสอน และการให้บริการด้านเทคโนโลยี โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้าง แจกจ่าย และอนุรักษ์ สำหรับการวิจัยและการศึกษาทาง ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ และ ธรณีฟิสิกส์ มีการเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาเหล่านี้ นอกจากนี้ยังได้มีการตั้งสถาบันอื่น ๆ เช่น อุตุนิยมวิทยา (ปี 1909) ห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งชาติ (ปี 1980) ซึ่งเดิมเคยเป็นหอดูดาวดาราศาสตร์ฟิสิกส์บราซิล และ พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง (ปี 1985)

มีการจัดคณะสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นรู้จักกันในชื่อว่า หอดูดาวจักรพรรดิแห่งรีโอเดจาเนโร (Imperial Observatório do Rio de Janeiro) ซึ่งไปสังเกตการณ์การผ่านของดาวศุกร์เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1882 ในบริเวณใต้ทะเลใต้ของช่องแคบมาเจลลัน และ เพื่อคำนวณระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์

นอกจากนี้ยังได้มีการประสานงานคณะเดินทางจากบราซิล สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา โดยได้มีการไปสังเกตการณ์สุริยุปราคา เต็มดวงเมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 1919 ที่ เมืองโซบรัล รัฐเซอารา คณะสำรวจของอังกฤษได้ภาพดวงอาทิตย์ที่สามารถพิสูจน์การเบี่ยงเบนของแสงได้จากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่ตีพิมพ์โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ในปี 1915 เป็นการยืนยันทฤษฎีนี้เป็นครั้งแรก ร่วมกับภาพที่ได้รับบนเกาะปริงซีป ในประเทศเซาตูแมอีปริงซีป บนชายฝั่งตะวันตกของ ทวีปแอฟริกา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Observatório Nacional. Disponível em http://www.on.br/index.php/pt-br/conheca-a-identidade-digital-do-governo.html. Acesso em 6 de fevereiro de 2018.
  2. CASTILHO, Bruno Vaz (2009). "Você sabia que o brasil tem telescópios de última geração fora do próprio território?". Ciência Hoje das Crianças. ICH. 22 (203): 12–12.
  3. "Site do Observatório Nacional". www.on.br. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.