หรทีป สิงห์ นิชฌร
หรทีป สิงห์ นิชฌร | |
---|---|
เกิด | 11 ตุลาคม ค.ศ. 1977 หรสิงหปุระ อำเภอชลันธร รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย |
เสียชีวิต | 18 มิถุนายน ค.ศ. 2023 เซอร์เรย์ บริทิชคอลัมเบีย ประเทศแคนาดา | (45 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | บาดแผลกระสุนปืนหลายนัด |
พลเมือง | อินเดีย (ถึงปี 2007) แคนาดา (จากปี 2007) |
องค์การ | กองกำลังสิงห์ขาลิสถาน [1] |
ขบวนการ | ขาลิสถาน |
หรทีป สิงห์ นิฌชร (อักษรโรมัน: Hardeep Singh Nijjar, อักษรคุรมุขี: ਹਰਦੀਪ ਸਿੰਘ ਨਿੱਝਰ, 11 ตุลาคม 1977 – 18 มิถุนายน 2023) เป็นผู้นำขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่เกี่ยวข้องกับขบวนการขาลิสถาน เขาเป็นชาวอินเดีย และต่อมาถือสัญชาติแคนาดา[2][3][4][5]
แม้หน่วยงานซิกข์จำนวนมากจะมองว่านิฌชรเป็นผู้สนับสนุน (advocate) การเป็นเอกราชของชาวซิกข์ แต่รัฐบาลอินเดียมองว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้าย[5] ทางการอินเดียกล่าวโทษนิชฌรว่าเป็นผู้นำกองกำลังติดอาวุธ กองกำลังสิงห์ขาลิสถาน[6][7][8][9][10] เมื่อปี 2014 ภายใต้คำร้องขอจากอินเดีย ตำรวจสากลออกหมายจับนานาชาติต่อนิชฌร[6][11] นิชฌรยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ก่อการร้ายภายใต้รัฐบัญญัติ (ป้องกัน) กิจกรรมอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย[7][12][13]
ในประเทศแคนาดา นิชฌรมีความโดดเด่นขึ้นมาในปี 2019 เมื่อเขาขึ้นมาเป็นผู้นำของคุรุทวาราซิกข์คุรุนานัก (Guru Nanak Sikh Gurudwara) ในเซอร์เรย์ บริทิชคอลัมเบีย และกลายมาเป็นผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดนซิกข์ที่มีปากเสียง[14] นิชฌรยังมีความสัมพันธ์กับซิกข์ฟอร์จัสติซ (SFJ) และเป็นหัวหอกในการรณรงค์การตั้งดินแดนขาลิสถานในการลงประชามติปี 2020[15][16] ในวันที่ 18 มิถุนายน 2023 นิชฌรถูกฆาตกรรมในที่จอดรถของคุรุทวาราแห่งหนึ่งในบริทิชคอลัมเบีย[17][18] ทางการแคนาดา จากข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน ยังไม่ได้จับกุมผู้ต้องสงสัยใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุฆาตกรรมนี้[19]
การเสียชีวิตของนิชฌรนำไปสู่วิกฤตการทูตที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอินเดียกับแคนาดาไปอยู่ที่จุดต่ำสุด[20] ไปจนถึงการเลื่อนการพูดคุยข้อตกลงการค้าระหว่างสองประเทศในวันที่ 1 กันยายนออกไปโดยไม่มีกำหนด[21] เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2023 นายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด ระบุว่าหน่วยงานข่าวกรองของแคนาดากำลัง "ไล่ตามข้อกล่าวหาที่มีมูลว่าเป็นไปได้ว่ามีความเกี่ยวข้อง" ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอินเดียกับการลอบสังหารนิชฌร[5] ตามด้วยรัฐมนตรีการต่างประเทศของแคนาดา เมลานี จอลี ประกาศการขับทูตอินเดียหนึ่งคน ในขณะที่รัฐมนตรีการต่างประเทศของอินเดียปฏิเสธข้อกล่าวหา ระบุว่าเป็นข้อกล่าวหาที่ "ไร้สาระและถูกชักจูง" ตามด้วยการที่รัฐบาลอินเดียขับอัครทูตแคนาดาประจำประเทศอินเดียเพื่อเป็นการโต้กลับ[22][23][24] ในวันถัดมา ทรูโดกล่าวแก่สำนักข่าวว่าแคนาดา "ไม่ได้จ้องที่จะกระตุ้นให้โกรธหรือทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง"[25]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Khalistan terror outfit chief Hardeep Singh Nijjar, one of India's most wanted, killed in Canada".
- ↑ "India designated hardeep singh nijjar as a terrorist" (PDF). www.mha.gov.in. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
- ↑ Singh, Kanishka (19 September 2023). "What is known about the murder of Sikh separatist leader in Canada?". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ Singh, Kanishka (19 September 2023). "Hardeep Singh Nijjar death: a timeline of recent India-Canada tensions". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Singh Brar, Kamaldeep (19 September 2023). "Who was Hardeep Singh Nijjar, the Khalistani separatist that Canada's PM Trudeau says India may have got killed". indianexpress.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ 6.0 6.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อindiatimes
- ↑ 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:1
- ↑ Pandey, Devesh K. (2023-09-19). "Khalistan outfit's chief Nijjar was wanted by the NIA and Punjab Police in multiple cases". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อGlobal_June22
- ↑ "Hardeep Singh Nijjar link to Khalistan Tiger Force" (PDF). www.mha.gov.in.
- ↑ "Who was Hardeep Singh Nijjar, the Khalistani separatist that Canada's PM Trudeau says India may have got killed". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2022. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
- ↑ Fife, Robert (18 September 2023). "Trudeau says intelligence shows India was behind slaying of Sikh leader in Surrey, B.C." The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
Mr. Nijjar, a Canadian citizen and leader in Surrey's Sikh community
- ↑ Desk, DH Web. "Hardeep Singh Nijjar used a forged passport to seek refuge in Canada: Report". Deccan Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-22.
- ↑ Onishi, Norimitsu (21 September 2023). "Rising Separatism, and a Killing, at a Sikh Temple in Canada". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
- ↑ "Sikh group plans to hold Khalistan referendum polling in Canadian cities in 2020". globalnews.ca (ภาษาอังกฤษ). 3 October 2018. สืบค้นเมื่อ 23 September 2023.
Hapreet Singh Nijjar, who India has accused of plotting terrorist activities in Punjab state, posing in front of a poster calling for a 2020 referendum on the creation of Khalistan.
- ↑ "Nijjar's appointment to steer Referendum 2020 shows true colours of SFJ". tribuneindia.com (ภาษาอังกฤษ). 27 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 September 2023.
roping in by Sikhs for Justice (SFJ) of Hardeep Singh Nijjar - to spearhead the Khalistan Referendum 2020 campaign.
- ↑ Rana, Uday. "Who is Hardeep Singh Nijjar, the Sikh leader Indian agents allegedly killed? | Globalnews.ca". Global News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ Hjelmgaard, Kim (21 September 2023). "Canada says India helped assassinate a Sikh activist: Who was Hardeep Singh Nijjar? Rift between the countries widens". USA TODAY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ Paula Newton, Rhea Mogul (18 September 2023). "India expels Canadian diplomat in tit-for-tat move as spat over assassinated Sikh activist deepens". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ Krishn Kaushik, Rupam Jain and YP Rajesh, India stops new visas for Canadians, asks Ottawa to downsize missions as spat worsens เก็บถาวร 22 กันยายน 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Reuters (September 22, 2023).
- ↑ Fife, Robert (18 September 2023). "Trudeau says intelligence shows India was behind slaying of Sikh leader in Surrey, B.C." The Globe and Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2023. สืบค้นเมื่อ 18 September 2023.
- ↑ Mogul, Rhea; Newton, Paula (18 September 2023). "India expels Canadian diplomat in tit-for-tat move as row over assassinated Sikh activist deepens". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
- ↑ Austen, Ian (18 September 2023). "Justin Trudeau Accuses India of a Killing on Canadian Soil". The New York Times. The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2023. สืบค้นเมื่อ 19 September 2023.
Mélanie Joly, the foreign minister, later announced that Canada had expelled an Indian diplomat whom she described as the head of India's intelligence agency in Canada.
- ↑ "Expelled diplomat headed Canadian intelligence in India: Sources". hindustantimes.com. 19 September 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2023. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ "Why Canada is getting muted support from allies on allegation against India". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
Canada has yet to provide any evidence of India’s involvement in the killing.