หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ (รอง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้า

พระญาณวราภรณ์

(รอง )
ส่วนบุคคล
ประสูติ
หม่อมเจ้ารอง

พ.ศ. 2359
สิ้นชีพิตักษัย15 มิถุนายน พ.ศ. 2422 (63 ปี)
ศาสนาพุทธ
บุพการี
ราชวงศ์จักรี
นิกายเถรวาท
สำนักมหานิกาย
การศึกษาเปรียญธรรม 9 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร จังหวัดพระนคร
อุปสมบทพ.ศ. 2383
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร

หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ พระนามเดิม หม่อมเจ้ารอง (พ.ศ. 2359 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2422) เป็นพระราชาคณะ และอดีตเจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร

ประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้ารอง ประสูติเมื่อปีชวด พ.ศ. 2359[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย ประสูติแต่หม่อมเจ้าทับทิม พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา

หม่อมเจ้ารองผนวชเป็นสามเณรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสมเด็จพระอริยวงษญาณ (นาค) ขณะยังเป็นสมเด็จพระพนรัตน เป็นพระอุปัชฌาย์ ถึงปีชวด พ.ศ. 2383 จึงผนวชเป็นภิกษุ โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้เป็นพระราชาคณะ แต่ไม่มีราชทินนาม เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประชวรใกล้สวรรคต ได้พระราชทานเงินเบื่อบำเพ็ญกุศลให้พระราชาคณะรูปละ 20 บาท หม่อมเจ้าพระรองก็ทรงได้รับด้วย

ปีกุน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานราชทินนามว่า หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบพิตรพิมุขวรวิหารในปีมะโรง พ.ศ. 2399

หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ (รอง) สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2422 ตรงกับแรม 11 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ สิริชันษาได้ 64 ปี

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 90-91. ISBN 974-417-530-3