ข้ามไปเนื้อหา

หมู่บ้านทับทิมสยาม 04

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทับทิมสยาม 04 เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

ประวัติ

[แก้]

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522 จากสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศกัมพูชา ทำให้มีชาวกัมพูชาอพยพหนีภัยเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก พื้นที่ชายแดนจังหวัดสุรินทร์ ต้องกลายเป็นพื้นที่รองรับผู้อพยพหนีภัยสงครามชาวกัมพูชาซึ่งหลบหนีออกนอกประเทศจำนวนกว่า 100,000 คน โดยมีศูนย์อพยพ-บี (Site B) ตั้งอยู่ที่ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จนกระทั่งเมื่อสถานการณ์สู้รบในกัมพูชาสิ้นสุดลง จึงได้มีการส่งผู้อพยพชาวกัมพูชากลับประเทศ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2535 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2535

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้ทรงนำหน่วยแพทย์ให้การรักษาราษฎรไทยที่บริเวณอดีตศูนย์อพยพ-บี และทรงตระหนักถึงความทุกข์ยากของราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม จึงมีพระดำริให้ฟื้นฟูพื้นที่ศูนย์อพยพที่ชาวกัมพูชาถูกส่งตัวกลับแล้ว โดยให้พัฒนาสภาพแวดล้อมและสภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่จะขยายไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงในลักษณะยุทธศาสตร์การพัฒนา สร้างผืนแผ่นดินไทยตามแนวชายแดนให้เกิดความมั่นคงถาวรที่สุด โดยกำหนดชื่อโครงการว่า “โครงการทับทิมสยาม 04”

ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2545 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้ส่งมอบความรับผิดชอบ และการบริหารโครงการให้จังหวัดสุรินทร์ดูแลต่อไปในรูปของหมู่บ้านตามกฎหมายลักษณะการปกครองท้องถิ่น[1]

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]

หมู่บ้านทับทิมสยาม 04 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 10 ตำบลเทพรักษา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ทั้งหมด 2,456 ไร่ 72 ตารางวา แบ่งออกเป็น

  • พื้นที่ทำการเกษตร 1,701 ไร่ 3 งาน 34 ตารางวา[2]
  • พื้นที่ปลูกอาคารที่พักอาศัย จำนวน 200 ไร่
  • พื้นที่ส่วนกลาง 350 ไร่ 2 งาน 11 ตารางวา
  • พื้นที่ส่วนราชการ 204 ไร่ 2 งาน 27 ตารางวา

อาณาเขต

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-31.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-31.