ข้ามไปเนื้อหา

หมู่ถ้ำกีซิล

พิกัด: 41°47′04″N 82°30′17″E / 41.78444°N 82.50472°E / 41.78444; 82.50472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่ถ้ำกีซิล
قىزىل مىڭ ئۆي  (อุยกูร์)
克孜尔千佛洞  (จีน)
ถ้ำหมายเลข 23 ("ถ้ำนกนางนวลสวมแหวน") ซึ่งขุดมาก่อสร้างใหม่ที่เอ็ทโนโลจิสเชิสมูเซอุม เบอร์ลิน
หมู่ถ้ำกีซิลตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
หมู่ถ้ำกีซิล
แสดงที่ตั้งภายในทวีปเอเชีย
หมู่ถ้ำกีซิลตั้งอยู่ในประเทศจีน
หมู่ถ้ำกีซิล
หมู่ถ้ำกีซิล (ประเทศจีน)
หมู่ถ้ำกีซิลตั้งอยู่ในซินเจียง
หมู่ถ้ำกีซิล
หมู่ถ้ำกีซิล (ซินเจียง)
ที่ตั้งซินเจียง ประเทศจีน
พิกัด41°47′04″N 82°30′17″E / 41.78444°N 82.50472°E / 41.78444; 82.50472
หมู่ถ้ำกีซิล
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ克孜尔千佛洞
อักษรจีนตัวเต็ม克孜爾千佛洞
ชื่อภาษาอุยกูร์
ภาษาอุยกูร์
قىزىل مىڭ ئۆي

หมู่ถ้ำกีซิล (อุยกูร์: قىزىل مىڭ ئۆي, แปลตรงตัว'พันบ้านแดง'; อักษรโรมัน: Kizil, Qizil, Qyzyl) หรือ ถ้ำหมื่นพุทธะเค่อซือ จีน: 克孜尔千佛洞; แปลตรงตัว: "Kizil Caves of the Thousand Buddhas") เป็นหมู่ถ้ำสลักหินพุทธในอำเภอไปเจิง แคว้นอักซู เขตปกครองตนเองซินเจียง ประเทศจีน ตั้งอยู่บนชายฝั่งเหนือของแม่น้ำมูซัต ห่างไป 65 กิโลเมตรจากกูชา[1][2] พื้นที่บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางการค้ามาก่อนในสมัยเส้นทางสายไหม[3] หมู่ถ้ำที่นี่มีความสำคัญมากในศิลปะเอเชียกลางและในการเผยแผ่ศาสนาพุทธทางเส้นทางสายไหม ว่ากันว่าที่นี่เป็นหมู่ถ้ำคูหาพุทธขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ที่สุดในบริเวณที่เป็นประเทศจีนในปัจจุบัน สร้างขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 3-8[3] ถ้ำที่นี่ถือเป็นถ้ำคูหาพุทธที่เก่าแก่กว่าถ้ำคูหาลักษณะเดียวกันที่อื่นในจีน อีกชื่อหนึ่งของหมู่ถ้ำที่นี่คือ หมิงอู (明屋; Ming-oi) แต่ปัจจุบันชื่อนี้นิยมใช้เรียกเฉพาะถ้ำชอร์ชุกทางตะวันออกเป็นพิเศษ[4]

ในปี 2014 ยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้ถ้ำกีซิลเป็นแหล่งมรดกโลกในฐานะส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมส่วนระเบียงฉางอาน-เทียนชาน[5]

การสำรวจโบราณคดีได้จำนวนถ้ำทั้งหมดอยู่ที่ 236 คูหา แกะสลักเข้าไปในหน้าผา ระยะทางจากทิศตะวันออกจรดตะวันตดอยู่ที่ 2 กิโลเมตร[1] ในจำนวนนี้เหลือเพียง 135 คูหาที่อยู่ในสภาพดีพอสมควร[6] ถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดในนี้ประมาณอายุว่าสร้างขึ้นในประมาณ ค.ศ. 300 โดยใช้เทคนิกการตรวจวัดอายุด้วยคาร์บอนมาประกอบการคาดการณ์ร่วมด้วย[7] นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่าถ้ำคูหาเหล่านี้น่าจะถูกทิ้งร้างในราวต้นศตวรรษที่ 8 หลังอิทธิพลราชวงศ์ถังแพร่ขยายมาถึงพื้นที่นี้

ถ้ำเหล่านี้ถูกค้นพบและสำรวจครั้งแรกในปี 1902–1904 โดยคณะสำรวจโอตานีจากญี่ปุ่นภายใต้การนำของเทชชิน วาตานาเบะ (Tesshin Watanabe; 渡辺哲信) และ เคนเนียว โฮริ (Kenyu Hori; 堀賢雄) การสำรวจสิ้นสุดลงในสี่เดือนเนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวในบริเวณ[8][9] หลังจากนั้นอัลแบร์ท กรึนเวเดิล นำคณะสำรวจเยอรมันทูร์ฟันที่สาม (ธันวาคม 1905 – กรกฎาคม 1907) ซึ่งมีการถ่ายภาพ จดบันทึก คัดลอกภาพเขียน และแกะเอาจิตรกรรมฝาผนังบนถ้ำจำนวนมากขนกลับไปยังเยอรมนี[10] คณะของกรึนเดเวิลจดบันทึก ถ่ายภาพ และคัดลอกภาพต่าง ๆ อย่างละเอียดก่อนแคะภาพเขียนบนฝาผนังออก เนื่องด้วยกลัวว่าจะเกิดปัญหาหรือเสียหายระหว่างการขนส่ง[11] เขาบันทึกภาพเขียนต่าง ๆ ลงบนผ้าใบอย่างละเอียด เช่น ภาพเขียนรูปนักรบที่เขาสนใจเป็นพิเศษที่ค้นพบในถ้ำจิตรกร (ถ้ำ 207) หลังจากบันทึกเสร็จเขาจึงทำการแกะจิตรกรรมเดิมออกจากผนังถ้ำ กระนั้นภาพเขียนนี้สลายเป็นชิ้นและสูญสลายไปทันทีหลังทำการแกะออกจากผนังถ้ำ เหลือเพียงไม่กี่ชิ้นส่วนที่ยังคงอยู่ตรงผนังเดิม[12] รวมแล้วมีภาพเขียนที่แกะออกจากผนังถ้ำและส่งกลับเบอร์ลินใส่ในกล่องขนส่งถึง 120 ลัง[13] การสำรวจในปี 1912 ของเขาต่อมาตีพิมพ์ในหนังสือ Altbuddhistische Kultstätten in Chinesisch Turkistan, Bericht über archäologische Arbeiten von 1906 bis 1907 bei Kuča, Qarašahr und in der Oase Turfan[10] (พุทธศิลป์โบราณในเตอร์กิสถานของจีน บันทึกเกี่ยวกับการทำงานโบราณคดีในปี 1906 ถึง 1907 ที่กูชา การาชัฮร์ และโอเอซิสตูร์ฟัน) ที่ซึ่งเขาค้นพบว่าภาพเขียนเหล่านี้มีความสำคัญมากต่อการทำความเข้าใจพัฒนาการประวัติศาสตร์พุทธศิลป์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Manko Namba Walter (October 1998). "Tokharian Buddhism in Kucha: Buddhism of Indo-European Centum Speakers in Chinese Turkestan before the 10th Century C.E" (PDF). Sino-Platonic Papers (85).
  2. "Kezil Thousand-Buddha Grottoes". xinjiang.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
  3. 3.0 3.1 "Kizil Thousand-Buddha Cave". สืบค้นเมื่อ 2007-08-05.
  4. Rowland, Benjamin (1975). The art of Central Asia. New York, Crown. p. 154.
  5. "Silk Roads: the Routes Network of Chang'an-Tianshan Corridor". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 17 Apr 2021.
  6. "Caves as Canvas: Hidden Images of Worship Along the Ancient Silk Road". Sackler Gallery. Smithsonian Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-01-03. สืบค้นเมื่อ 2012-08-11.
  7. Daniel C. Waugh. "Kucha and the Kizil Caves". Silk Road Seattle. University of Washington.
  8. "It is the merit of Kenyu Hori and Tesshin Watanabe to have discovered and first examined the cave complex of Kizil. Unfortunately, the efforts and findings of this examination have been destroyed by an earthquake that scared away the Japanese scholars, which enabled the Germans to uncover, carry away and come out with the treasures of this site a short while afterwards (Klimkeit, 1988, 38)" in Fellner, Hannes A., University of Vienna. The Expeditions to Tocharistan (PDF). p. 25, note 39.
  9. "IDP JAPANESE COLLECTIONS". idp.bl.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-25. สืบค้นเมื่อ 2021-01-28.
  10. 10.0 10.1 Turfan Expedition. Encyclopedia Iranica.
  11. Grünwedel, Albert. Altbuddhistische Kultstätten in Chinesisch-Turkistan : vol.1 / Page 8 (Color Image). p. 2.
  12. Grünwedel, Albert (1912). Altbuddhistische Kultstätten in Chinesisch-Turkistan : vol.1 / Page 163 (Color Image). pp. 156–157.
  13. Fellner, Hannes A., University of Vienna. The Expeditions to Tocharistan (PDF). p. 28.