ข้ามไปเนื้อหา

หมอกปนควันครั้งใหญ่ของลอนดอน

พิกัด: 51°30′25″N 0°07′37″W / 51.507°N 0.127°W / 51.507; -0.127
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมอกปนควันครั้งใหญ่ของลอนดอน
เสาเนลสันในขณะที่เกิดหมอกปนควัน
วันที่5–9 ธันวาคม ค.ศ. 1952 (1952-12-05 – 1952-12-09)
ที่ตั้งลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พิกัด51°30′25″N 0°07′37″W / 51.507°N 0.127°W / 51.507; -0.127
ความสูญเสีย
จนถึง 12,000 เสียชีวิต[1][2]

หมอกปนควันครั้งใหญ่ของลอนดอน (อังกฤษ: Great Smog of London) เป็นเหตุการณ์มลพิษทางอากาศที่รุนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อเมืองหลวงลอนดอนของอังกฤษในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2495 ช่วงที่อากาศหนาวเย็นผิดปกติบวกกับสภาพอากาศที่มีแอนติไซโคลนและไม่มีลม ทำให้สารมลพิษในอากาศที่ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ถ่านหินเกิดชั้นหมอกปนควันบนชั้นบรรยากาศปกคลุมทั้งเมืองลอนดอน เกิดขึ้นตั้งแต่วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคมถึงวันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2495 จากนั้นก็จะกระจายไปอย่างรวดเร็วเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง

มันทำให้เกิดการหยุดชะงักครั้งใหญ่โดยการลดการมองเห็นและแม้แต่การเข้าไปในพื้นที่ในร่ม รุนแรงกว่าเหตุการณ์หมอกปนควันก่อนหน้านี้อย่างมาก อย่างไรก็ตามรายงานทางการแพทย์ของรัฐบาลในสัปดาห์ต่อไปจนถึงวันที่ 8 ธันวาคมคาดว่ามีผู้เสียชีวิต 4,000 คนจากผลกระทบโดยตรงของหมอกปนควัน และอีก 100,000 คนป่วยจากผลกระทบของหมอกปนควันต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ การวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นว่าจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดอาจมากกว่านี้มากโดยมีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตอีกราว 6,000 คนในเดือนต่อ ๆ ไปอันเป็นผลมาจากเหตุการณ์นี้[3]

ลอนดอนได้รับความเดือดร้อนจากคุณภาพอากาศที่ไม่ดีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 แล้ว[4] ซึ่งเลวร้ายลงในคริสต์ทศวรรษ 1600[5][6] แต่หมอกปนควันครั้งใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นเหตุการณ์มลพิษทางอากาศที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักร[7] และที่สำคัญที่สุดในแง่ของผลกระทบต่อการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบของรัฐบาล และความตระหนักของสาธารณชนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพอากาศและสุขภาพ[3][5] นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติและกฎระเบียบหลายประการรวมถึงพระราชบัญญัติอากาศบริสุทธิ์ พ.ศ. 2499

ภูมิหลัง

[แก้]

แหล่งมลพิษ

[แก้]
โรงไฟฟ้าแบตเทอร์ซีใน ค.ศ. 1938

สภาพอากาศที่หนาวเย็นจนผิดสังเกตในช่วงก่อนและระหว่างหมอกควันครั้งใหญ่ทำให้ชาวลอนดอนเผาถ่านมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้พวกเขารู้สึกอบอุ่นขึ้น ถ่านในประเทศช่วงก่อนสงครามมักเป็นถ่านคุณภาพต่ำ ส่วนถ่านคุณภาพสูงถูกส่งออกเพื่อชำระหนี้ในสงครามโลกครั้งที่สอง[8] ถ่านเหล่านี้เพิ่มปริมาณควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โรงไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ในเกรเทอร์ลอนดอนมีหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงโรงไฟฟ้าฟูลัม โรงไฟฟ้าแบตเทอร์ซี โรงไฟฟ้ากรีนิช โรงไฟฟ้าแบงก์ไซด์ และโรงไฟฟ้าคิงส์ตันอะพอนเทมส์ ซึ่งทั้งหมดนี้เพิ่มมลภาวะในอากาศ เม็ตออฟฟิศแจกแจงมลพิษที่ถูกปล่อยออกมาในแต่ละวันในช่วงภาวะหมอกควัน แบ่งเป็น อนุภาคควัน 1,000 ตัน กรดไฮโดรคลอริก 140 ตัน สารประกอบฟลูออรีน 14 ตัน และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 370 ตันซึ่งอาจถูกแปรสภาพเป็นกรดซัลฟิวริกถึง 800 ตัน[9] งานวิจัยแสดงความเห็นว่า ระบบป้องกันมลพิษที่ใช้ในโรงไฟฟ้าแบตเทอร์ซีอาจทำให้คุณภาพอากาศย่ำแย่ลงเสียเอง การล้างก๊าซจากปล่องควันลดอุณหภูมิของตัวก๊าซจนทำให้ก๊าซไม่ยกตัวสูงขึ้นแต่กลับลดตัวลงสู่ระดับดิน สร้างความระคายเคืองต่อระบบทางเดินทางหายใจของคน[10]

นอกจากนี้ ยังมีมลพิษและควันที่ถูกปล่อยออกจากยานพาหนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรถจักรไอน้ำและรถโดยสารที่ใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งต่อมาถูกแทนที่โดยรถรางไฟฟ้า แหล่งอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมอื่น ๆ ก็ส่งผลต่อมลภาวะอากาศด้วยเช่นกัน[11]

สภาพอากาศ

[แก้]

วันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1952 ลมแอนไทไซโคลนที่อยู่เหนือกรุงลอนดอนที่ไร้ลม ก่อให้เกิดการผกผันของอุณหภูมิ ที่อากาศเย็นจะเข้าไปแทนที่โดยอยู่ใต้ชั้นอากาศอุ่น[12][13] หมอกที่ผสมกับอนุภาคควันที่ปล่อยออกจากครัวเรือน โรงงานอุตสาหกรรม ยานพาหนะ และมลพิษอื่น ก่อให้เกิดหมอกควันที่ปกคลุมเมืองหลวงในวันถัดมา อนุภาคเขม่าที่ค้างในอากาศก่อให้เกิดหมอกควันสีเหลือง-ดำ เป็นที่มาของฉายา "หมอกซุปถั่ว"[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The lethal effects of London fog". BBC News. 22 December 2015.
  2. "In 1952 London, 12,000 people died from smog — here's why that matters now". The Verge. 16 December 2017.
  3. 3.0 3.1 Bell, M.L.; Davis, D.L.; Fletcher, T. (2004). "A Retrospective Assessment of Mortality from the London Smog Episode of 1952: The Role of Influenza and Pollution". Environ Health Perspect. 112 (1, January): 6–8. doi:10.1289/ehp.6539. PMC 1241789. PMID 14698923.
  4. Brimblecombe, Peter (1976). "Attitudes and Responses Towards Air Pollution in Medieval England". Journal of the Air Pollution Control Association. 26 (10): 941–45. doi:10.1080/00022470.1976.10470341. PMID 789426.
  5. 5.0 5.1 Evelyn, John; Pegge, Samuel, 1704–1796, (ed.) (1661), Fumifugium, Printed by W. Godbid, สืบค้นเมื่อ 5 May 2016 {{citation}}: |author2= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Graunt, John, 1620–1674; Petty, William, Sir, 1623–1687 (1662), Natural and political observations mentioned in a following index, and made upon the bills of mortality [microform] / by John Graunt ... ; with reference to the government, religion, trade, growth, ayre, diseases, and the several changes of the said city, Printed by Tho. Roycroft for John Martin, James Allestry, and Tho. Dicas
  7. McKie, Robin & Townsend, Mark. Great Smog is history, but foul air still kills (The Observer, 24 November 2002).
  8. Matthew Wills (2015-08-24). "Old Smoke: London's Famous Fog". JSTOR Daily.
  9. "The Great Smog of 1952". metoffice.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2014.
  10. Sheail, John (1991). Power in Trust: the environmental history of the Central Electricity Generating Board. Oxford: Clarendon. pp. 22, 42–3. ISBN 0-19-854673-4.
  11. 11.0 11.1 Mason, Nigel; Hughes, Peter (2001). Introduction to Environmental Physics. CRC Press. pp. 112–13. ISBN 978-0748407651.
  12. "Atmosphere, Climate & Environment Information Programme". Ace.mmu.ac.uk. 4 ธันวาคม 1952. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2010.
  13. "Met Office Education: Teens – Case Studies – The Great Smog". Metoffice.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2010.