ข้ามไปเนื้อหา

หมวดเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมวดเรือสเปนต่อสู้กับราชนาวีสหราชอาณาจักรในการปฏิบัติการในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2347

หมวดเรือ[1] (อังกฤษ: flotilla หรือ naval flotilla มาจากภาษาสเปน หมายถึง small flota of ships กองเรือขนาดเล็ก) เป็นรูปขบวนของเรือรบขนาดเล็กที่อาจะเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือนาวีขนาดใหญ่

องค์ประกอบ

[แก้]

หมวดเรือมักจะประกอบด้วยกลุ่มเรือรบที่อยู่ในชั้นเรือเดียวกัน เช่น เรือฟริเกต เรือพิฆาต เรือตอร์ปิโด เรือดำน้ำ เรือปืน หรือเรือกวาดทุ่นระเบิด กลุ่มของเรือรบขนาดใหญ่มักเรียกว่ากองเรือ (squadrons) แต่หน่วยคล้ายกันที่ไม่มีเรือรบหลักอาจจะเรียกว่ากองเรือหรือหมวดเรือก็ได้ในบางกรณี รูปแบบของรูปขบวนที่ประกอบไปด้วยเรือรบหลักมากกว่าหนึ่งลำ เช่น เรือรบโปรตุเกส (Man-of-war), เรือประจัญบาน และเรือบรรทุกอากาศยาน โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยเรือเล็กและเรือสนับสนุนด้วยซึ่งปกติจะถูกเรียกว่ากองเรือนาวี แต่ละส่วนจะบัญชาการโดยเรือรบหลักในรูปแบบของกองเรือหรือกองเรือเฉพาะกิจ (ดูข้อมูลอ้างอิงด้านล่าง

หมวดเรือนั้นอยู่ภายใต้การบัญชาการของพลเรือตรี, พลเรือจัตวา หรือนาวาเอก ขึ้นอยู่กับความสำคัญของการบังคับบัญชา (โดยปกติแล้วพลเรือโทจะเป็นผู้บังคับการกองเรือ) หมวดเรือมักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 หมู่เรือขึ้นไป ซึ่งแต่ละหมู่จะถูกบังคับการโดยนาวาโทที่อาวุโสที่สุด และอย่างน้อยที่สุดต้องเป็นเรือตรี โดยหมวดเรือมักจะจัดกำลังในรูปแบบประจำการ แต่บางครั้งก็ไม่เป็นเช่นนั้น

ในกองทัพเรือสมัยใหม่ หมวดเรือมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นหน่วยธุรการที่ประกอบไปด้วยหลายกองเรือ[2] เมื่อเรือรบมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น คำว่ากองเรือจึงค่อย ๆ เข้ามาแทนที่คำว่าหมวดเรือสำหรับรูปขบวนของเรือพิฆาต, เรือฟริเกต และเรือดำน้ำในหลายประเทศ

หมวดเรือนั้นไม่มีการเปรียบเทียบโดยตรงกับรูปขบวนทางบก แต่บางทีอาจจะมีลักษณะคร่าว ๆ ทางยุทธวิธีคล้ายคลึงกันกับกองพลน้อยหรือกรมทหาร

การใช้งานเฉพาะ

[แก้]

ผู้ช่วยยามฝั่งสหรัฐ

[แก้]

ในหน่วยผู้ช่วยยามฝั่งสหรัฐ ประกอบด้วยกำลังระดับหมวดเรือและสมาชิกในระดับท้องถิ่น หมวดเรือบัญชาการโดยผู้บังคับการที่ได้จากการเลือกตั้งโดยผู้ช่วยผู้บังคับการหมวดเรือ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สัญญาบัตรที่ได้มาจากการแต่งตั้ง[3] ส่วนเเรือ (division) ผู้ช่วยยามฝั่งประกอบไปด้วยหลายหมวดเรือ แต่ละเขตเรือ (district) ประกอบไปด้วยหลายส่วนเรือ เขตเรือผู้ช่วยมีการจัดกำลังตามแบบเขตยามฝั่งและบริหารจัดการโดยเจ้าหน้าที่ยามฝั่งชั้นสัญญาบัตร (ปกติจะเป็นนาวาโท หรือนาวาเอก) ซึ่งเรียกว่า "ผู้อำนวยการผู้ช่วยยามฝั่งสหรัฐ"

กองทัพเรือรัสเซียและโซเวียต

[แก้]

ในกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย, กองทัพเรือโซเวียต และกองทัพเรือรัสเซีย คำว่าหมวดเรือเป็นคำที่ถูกใช้งานกับ "บราวน์-วอเตอร์เนวี" ซึ่งเป็นการปฏิบัติการในแม่น้ำและทะเลภายในประเทศเอง ไม่ใช่มหาสมุทรหรือทะเลเปิด ในอดีตประกอบไปด้วย หมวดเรือแคสเปียน (Caspian Flotilla), หมวดเรือซาตาคุนสกายา (Satakundskaya Flotilla) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หรือหมวดเรืออราล (Aral Flotilla) ในคริสต์ทศวรรษที่ 1850[4] ในช่วงหลังประกอบไปด้วย หมวดเรือทหารดอน (Don Military Flotilla) ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาหลายครั้งในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา, หมวดเรือนีเปอร์ (Dnieper Flotilla) (ซึ่งยังคงเหลืออยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 20) หมวดเรือโวลก้าแดง (Red Volga Flotilla) ซึ่งเข้าร่วมในปฏิบัตการคาซานระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย และหมวดเรือดานูบ (Danube Flotilla) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 คำนี้ยังถูกใช้กับกองเรือนาวีขนาดเล็กที่ปฏิบัติการในทะเล ซึ่งรัสเซียยังไม่มีกองทัพเรือที่แข็งแกร่ง เช่น หมวดเรือโอคอตสค์ (Okhotsk Flotilla)

การใช้งานที่ไม่ใช่ทางทหาร

[แก้]

คำว่าหมวดเรือ บางครั้งยังถูกนำมาใช้งานในการพูดถึงกองเรือขนาดเล็กของเรือพาณิชย์และเรืออื่น ๆ[5] นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เรียก "หมวดเรือวันหยุด" ซึ่งเป็นกลุ่มของเรือยอต์ชเช่าเหมาลำที่เดินเรือในเส้นทางเดียวกัน

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Chief Director of Auxiliary (2007-02-15). "USCG G-PCX Web Site – Flotilla Organizational Structure". USCG Auxiliary Office of the Chief Director (CG-3PCX). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.
  1. บันทึก ที่ กห 0504/658 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2558 เรื่อง ขออนุมัติกำหนดชื่อภาษาอังกฤษให้แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ (PDF). กรมข่าวทหารเรือ กองทัพเรือ. 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-13. สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
  2. "military unit." Encyclopædia Britannica. 2010. Encyclopædia Britannica Online. 16 Oct. 2010 <http://www.britannica.com/EBchecked/topic/1346160/military-unit>: "Administratively, several ships of the same type (e.g., destroyers) are organized into a squadron. Several squadrons in turn form a flotilla, several of which in turn form a fleet. For operations, however, many navies organize their vessels into task units (3–5 ships), task or battle groups (4–10 ships), task forces (2–5 task groups), and fleets (several task forces)."
  3. As described at the Flotilla Organization เก็บถาวร 2007-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน page of the U.S. Coast Guard.
  4. Ram Rahul. "March of Central Asia". Published 2000. Indus Publishing. ISBN 81-7387-109-4. p.160. On Google Books
  5. "OCSC Sailing School". OCSC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2017. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]