หน่วยยุทธวิธีตำรวจ (สิงคโปร์)

พิกัด: 1°17′42.41″N 103°48′01.76″E / 1.2951139°N 103.8004889°E / 1.2951139; 103.8004889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

1°17′42.41″N 103°48′01.76″E / 1.2951139°N 103.8004889°E / 1.2951139; 103.8004889

หน่วยยุทธวิธีตำรวจ
Police Tactical Unit (PTU)
ประจำการพ.ศ. 2495 - ปัจจุบัน
ประเทศ สิงคโปร์
เหล่ากองกำลังตำรวจสิงคโปร์
รูปแบบหน่วยผู้เชี่ยวชาญกึ่งทหาร
ต่อต้านการก่อจลาจล
บทบาท
ขึ้นกับหน่วยบัญชาการยุทธการพิเศษ
กองบัญชาการฐานทัพควีนส์เวย์, ควีนส์เวย์
สีหน่วย  น้ำเงินเข้ม
ยานพาหนะต่อต้านการจลาจลเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของหน่วยยุทธวิธีตำรวจของสิงคโปร์ในหมู่ประชากรท้องถิ่น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าอ่างเจีย (Ang Chia แปลว่า "ยานพาหนะสีแดง" ในภาษาฮกเกี้ยน)

หน่วยยุทธวิธีตำรวจ (อังกฤษ: Police Tactical Unit: PTU) เป็นหน่วยกำลังกึ่งทหารที่มีความเชี่ยวชาญของกองกำลังตำรวจสิงคโปร์ และอยู่ภายใต้การบัญชาการโดยตรงของหน่วยบัญชาการยุทธการพิเศษ ตั้งอยู่ในควีนส์ทาวน์ เป็นหน่วยหลักในการต่อต้านการจลาจนและจัดการภัยพิบัติของกองกำลังตำรวจ นอกจากนี้ยังสามารถร้องขอกำลังเพื่อจัดการกับคดีอาชญากรรมร้ายแรงที่กำลังเกิดเหตุอยู่ โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจยังแสดงตัวต่อสาธารณะมากยิ่งขึ้น ด้วยการปรากฎตัวเพื่อตรวจตราในพื้นที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น ถนนออร์ชาร์ด, ฮอลแลนด์วิลเลจ และเซรังกูน การ์เดน เอสเตท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองต่อข้อกังวลด้านการก่อการร้ายที่มีเพิ่มมากขึ้น

ประวัติ[แก้]

จุดเริ่มต้น[แก้]

หน่วยยุทธวิธีตำรวจนั้นมีจุดเริ่มต้นย้อนไปในช่วงต้นคริสทศวรรษ 1950 ในเหตุการณ์จลาจลมาเรีย เฮอร์โทห์ (Maria Hertogh riot) แสดงให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายในด้านของการควบคุมการจลาจลของมวลชนในวงกว้างซึ่งก่อให้เกิดการรบกวนความสงบในพื้นที่สาธารณะ เหตุนี้เองทำให้ในปี พ.ศ. 2495 จึงได้มีการก่อตั้งหมู่ตำรวจจลาจลขึ้นโดยมีเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจำนวน 60 นายที่มีภูมิหลังทางชาติพันธุ์ที่หลากหลาย และมีการคัดกรองอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีความเชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กับพรรคการเมืองหรือฝ่ายใด โดยเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้รับการฝึก (ทางทหาร) อย่างเข้มงวดโดย พันเอก เจ.เอฟ. แฟร์แบร์น อดีตผู้ช่วยอธิบดีตำรวจกองหนุนเซียงไฮ

เจ้าหน้าที่ชุดแรกนี้ได้ก่อตั้งหน่วยปราบจลาจลหมู่แรกขึ้นมาซึ่งเริ่มปฏิบัติการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2495 ในฐานะหน่วยสำรอง (Reserve Unit: RU) มีความรับผิดชอบในการควบคุมฝูงชน, การปราบจลาจล และการให้ความช่วยเหลือในช่วงที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้และน้ำท่วม ทำให้มีการจัดตั้งหน่วยที่ได้รรับการฝึกเฉพาะด้านเป็นพิเศษขึ้นมาอีก 3 หน่วย

ในปี พ.ศ. 2496 หมู่ได้จับการจัดหน่วยใหม่แบ่งออกเป็น 3 กอง กองละ 50 นาย และเปลี่ยนชื่อหน่วยเป็นหน่วยตำรวจสำรอง (Police Reserve Unit: PRU) โดยมีหน่วยตำรวจสำรองที่ 1 ประจำอยู่ที่ค่ายเมานต์เวอร์นอน, หน่วยตำรวจสำรองที่ 2 ประจำอยู่ที่ฐานทัพควีนส์เวย์ และหน่วยตำรวจสำรองที่ 3 ประจำอยู่ที่ค่ายญาลันบาฮาร์ ต่อมาหน่วยนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อของกองกำลังเฉพาะกิจตำรวจ (Police Task Force: PTF) หลังจากการรวมหน่วยสำรองทั้งสามหน่วยเป็นหน่วยเดียวกันและประจำการอยู่ที่ฐานทัพควีนส์เวย์เป็นการถาวร

ปัจจุบัน[แก้]

รถปราบจลาจลอ่างเจียยุคปัจจุบัน จอดอยู่ข้างถนนในออร์ชาร์ด

เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่มีข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสาธารณะและการรักษาความปลอดภัยที่มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น ทำให้กองกำลังตำรวจเฉพาะกิจได้รับการยกระดับอีกครั้งในปี พ.ศ. 2546 โดยปรับปรุงอาวุธและยานพาหนะ รวมไปถึงเปลี่ยนแปลงเครื่องแบบยุทธวิธีในปี พ.ศ. 2548 และเปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยยุทธวิธีตำรวจ (Police Tactical Unit: PTU)

หว่อง คาน เซ็ง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน เป็นผู้ดูแลการจัดซื้อยานพาหนะเปตรา (PETRA: Patrol, Escort, Tactical Response Van ประกอบไปด้วยรถตู้ตรวจตรา คุ้มกัน และตอบโต้ทางยุทธวิธี) ควบคู่ไปกับรถตู้หมู่ยุทธวิธีตำรวจ (Police Tactical Squad: PTS) และรถตู้ยานพาหนะทางยุทธวิธีตำรวจ (Troop Tactical Vehicle: TTV) เพื่อใช้ในหน่วยยุทธวิธีตำรวจควบคู่ไปกับหน่วยบัญชาการยุทธการพิเศษในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งตรงกับเวลาในการจัดประชุมสุดยอดไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกที่ประเทศสิงคโปร์ โดยรถตู้สองคันแรกมีลักษณะคล้ายกันกับรถตู้ฟอร์ดทรานซิส

ปัจจุบันหน่วยปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย เช่น หน้าที่รักษาความปลอดภัย ยับยั้งภัยคุกคามของผู้ก่อการร้ายในสิงคโปร์ควบคุ๋ไปกับหน่วยตำรวจอื่น ๆ

หน่วยยุทธวิธีตำรวจยังมีหน่วยรองอีกจำนวนหนึ่ง คือชุดปะทะติดอาวุธ (Armed Strike Team) และหน่วยบริการแห่งชาติ (National Servicemen unit) เรียกว่ากองกำลังความสงบเรียบร้อยสาธารณะ (Public Order Troops: POT) ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 กองกำลังความสงบเรียบร้อยสาธารณะ ครั้งหนึ่งเคยเป็นหน่วยงานอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2566 โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานปกติในเหตุการณ์สำคัญ เช่น เหตุจลาจล, เหตุฉุกเฉินระดับชาติ และเหตุการณ์เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยสาธารณะ เช่น การโจมตีของผู้ก่อการร้าย

เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

  • ในช่วงเช้าของวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2521 พลตำรวจ ลี กิม ไล ถูกลักพาตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ยืนยามฐานทัพของหน่วยตำรวจสำรองที่ 1 ที่เมานต์เวอร์นอน และพบในเวลาต่อมาว่าถูกแถงเสียชีวิตในรถแท็กซี่[1]
  • เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 สิบตำรวจเอก โท เซ ติน จากหน่วยตำรวจสำรองที่ 1 ระหว่างปฏิบัติหน้าที่พิเศษ เขาลื้นล้มตกจาะเรือขณะพยายามขึ้นมาจากเรือเร็วตำรวจน้ำ นอกชายฝั่งมารีนพาเหรด เนื่องจากไม่ใช่หน่วยทางน้ำ เขาจึงไม่ได้สวมเสื้อชูชีพและถูกกระแสน้ำพัดหายไปจากบริเวณนั้น[2] ศพถูกพบเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณแปดกิโลเมตร[3]

เครื่องแบบและยุทโธปกรณ์[แก้]

เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจ ลาดตระเวนที่ราฟเฟิลส์ซิตี้ระหว่างการซ้อมขบวนพาเหรดวันชาติปี 2548 เขาสวมชุดรูปแบบใหม่ที่ประกอบด้วยหมวกเบเร่ต์สีแดงแบบใหม่ร่วมกับชุดคอมแบทแบบเก่า

เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจจะสวมชุดคอมแบทตามธรรมเนียม รู้จักกันในเครื่องแบบตำรวจหมายเลข 4 ประกอบด้วยหมวกเบเรต์สีน้ำเงิน เสื้อเชิ้ตโพลีเอสเตอร์สีน้ำเงินแขนยาวพร้อมกระดุมพลาสติก เข็มขัดคอมแบทสีดำ กางเกงคอมแบทสีน้ำเงิน และรองเท้าบูทคอมแบทสีดำ แขนเสื้ออาจจะพับขึ้นเป็นเสื้อแขนสั้นในช่วงกลางวัน และม้วนลงในเวลากลางคืนหรือระหว่างการฝึกทางยุทธวิธีและการปฏิบัติการ

ในปี พ.ศ. 2548 เครื่องแบบดังกล่าวได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และมีการนำเครื่องแบบทางยุทธวิธีใหม่มาใช้งาน หมวกเบเรต์สีแดงถูกนำมาใช้งานเพื่อความสะดวกในการมองหาเจ้าหน้าที่จากหน่วยตำรวจยุทธวิธีในกรณีที่เกิดการปราบจลาจลขนาดใหญ่ เครื่องแบบคอมแบทยังได้รับการออกแบบมาใหม่ให้เป็นเครื่องแต่งกายที่หลวมมากขึ้นพร้อมกับมีช่องเก็บของอเนกประสงค์ วัสดุเปลี่ยนผ้าฝ้ายผสมกับโพลีเอสเตอร์ซึ่งมีความทนทานสูงกว่าและทนไฟมากขึ้น สีของเครื่องแบบยังคงเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มเพื่อวัตถุประสงค์ทางยุทธวิธี และมีการแนะนำให้ใช้รองเท้าบูทส้นสูงพร้อมกับสายรัดถุงเท้า

เจ้าหน้าที่หน่วยยุทธวิธีตำรวจประกอบไปด้วยยุทโธปกรณ์หลากหลายชนิด เช่น อุปกรณ์ปราบจลาจล สเปรย์พริกไทย, กระบอง, เครื่องยิงแก๊สน้ำตา เฮคเลอร์แอนด์คอช เฮชเค69เอ1, ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ เฮคเลอร์แอนด์คอช ยูเอสพี และปืนกลมือ เฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ5

รายการอาวุธปืน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. True Files Season 1 Episode 8 "The Sentry" (Television Series). Singapore: MediaCorp TV. 2002.
  2. "Feared dead: Officer who fell into sea". The Straits Times. 18 May 1978.
  3. "Body of sgt found". The Straits Times. 20 May 1978.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]