ส้านช้าง
หน้าตา
ส้านช้าง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Core eudicots |
อันดับ: | unplaced |
วงศ์: | Dilleniaceae |
สกุล: | Dillenia |
สปีชีส์: | D. pentagyna |
ชื่อทวินาม | |
Dillenia pentagyna |
ส้านช้าง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dillenia pentagyna) เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายส้านหิน แต่ใบยาวกว่า ใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่เรียบ ไม่มีขน กลีบเลี้ยงไม่มีขน เกสรตัวผู้จำนวนมาก การกระจายพันธุ์จะพบในบริเวณเดียวกับส้านหิน แต่จะพบในบริเวณที่ชุ่มชื้นกว่า พบในอินเดีย พม่า ยูนนาน ลาว เวียดนาม เกาะชวา เกาะซูลาเวซี เนื้อไม้คงทน ใช้ทำเครื่องใช้ภายในบ้าน พื้นบ้าน เสาบ้าน และรางรถไฟ เผาถ่าน ผลมีรสเปรี้ยว รับประทานได้ นำมาทำน้ำผลไม้ วุ้น แกง ทางยาใช้เป็นยาแก้ไอ เปลือกใช้แก้โรครูมาติก ใช้มุงหลังคาได้
อ้างอิง
[แก้]- ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. ต้นไม้เมืองเหนือ. กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. 2543 หน้า 31, 381
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ส้านช้าง
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Dillenia pentagyna ที่วิกิสปีชีส์