สโตรมาโตไลต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโตรมาโตไลต์สมัยใหม่ในชาร์กเบย์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

สโตรมาโตไลต์ (อังกฤษ: Stromatolite) เป็นโครงสร้างคล้ายหินพิเศษซึ่งมักเกิดจากการงอกพอกพูนในบริเวณน้ำตื้น เกิดขึ้นจากแบคทีเรีย อย่างเช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (ไซยาโนแบคทีเรีย) นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากแบคทีเรียและสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดอื่นได้อีกด้วย

ลักษณะ[แก้]

เมือกที่แบคทีเรียหลั่งออกมาจะดักจับตะกอนขนาดเล็กเอาไว้ ก่อนที่จะถูกยึดเข้าด้วยกันด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งมาจากแบคทีเรียอีกเช่นกัน ทั้งหมดทำให้เกิดขึ้นเป็นโครงสร้างที่พบเห็นได้ตามชายทะเลบริเวณอ่าวบางแห่ง ไซยาโนแบคทีเรียใช้น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และแสงอาทิตย์เพื่อสร้างอาหาร ตลอดจนได้ผลิตภัณฑ์เป็นก๊าซออกซิเจน

ความสำคัญ[แก้]

ความสำคัญของสโตรมาโตไลต์คือ พวกมันเป็นหลักฐานฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดบนโลก สโตรมาโตไลต์ที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุมากถึง 3,450 ล้านปี ระหว่างบรมยุคอาร์เคียน[1][2]

สิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลก[แก้]

ไซยาโนแบคทีเรียยุคแรกเป็นที่คาดกันว่ามีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มปริมาณแก๊สออกซิเจนขึ้นอย่างมากในชั้นบรรยากาศยุคแรกเริ่มของโลกผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Knoll, Andrew H. 2004. Life on a young planet: the first three billion years of evolution on Earth. Princeton, N.J. ISBN 0-691-12029-3
  2. For a description of the method used to establish this date, see J. William Schopf 1999. Cradle of Life: the discovery of Earth's earliest fossils. Princeton U. Press (pages 87-89 and figure 3.9). The remarkable precision was possible because the fossils were sandwiched between lava flows that could be precisely dated from embedded zircon crystals.
  3. https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=68447