สูรยมนเทียร (โมเฒรา)

พิกัด: 23°35′1.7″N 72°7′57.67″E / 23.583806°N 72.1326861°E / 23.583806; 72.1326861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โมเฒราสูรยมนเทียร
สูรยมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐคุชราต
สูรยมนเทียร
สูรยมนเทียร
ที่ตั้งภายในรัฐคุชราต
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งโมเฒรา อำเภอมหาสนะ รัฐคุชราต
ประเทศอินเดีย
พิกัด23°35′1.7″N 72°7′57.67″E / 23.583806°N 72.1326861°E / 23.583806; 72.1326861
ข้อมูลทางเทคนิค
วัสดุหินทราย
การออกแบบและการก่อสร้าง
กำหนดให้เป็นอนุสรณ์สถานความสำคัญระดับชาติ (N-GJ-158)
สูรยมนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพพระสูรยะ
เทศกาลเทศกาลนาฏยกรรมโมเฒรา
คุณลักษณะ
  • Temple tank: สูรยกูณฑ์
สถาปัตยกรรม
ประเภทมารุ-คุรฌร (เจาลุกยะ)
ผู้สร้างกษัตริย์ภีมที่ 1
เสร็จสมบูรณ์หลังปี 1026-27
ลักษณะจำเพาะ
ทิศทางด้านหน้าตะวันออก
อนุสรณ์3
จารึกมี

สูรยมนเทียรแห่งโมเฒรา (อังกฤษ: Sun Temple of Modhera) เป็นมนเทียรในศาสนาฮินดู สร้างขึ้นบูชาพระสูรยะ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านโมเฒรา อำเภอเมหาสนะ รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบุษบาวตี สร้างขึ้นหลังปี 1026-27 ในรัชสมัยของกษัตริย์ภีมที่หนึ่งแห่งจักรวรรดิเจาลุกยะ ปัจจุบันสูรยมนเทียรอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกรมสำรวจโบราณคดีอินเดียและไม่เปิดให้เข้าประกอบศาสนพิธี[1] หมู่มนเทียรนี้ประกอบด้วยสามองค์ประกอบ คือ คูฒามณฑป, สภามณฑป และอ่างเก็บน้ำ กูณฑ์ สูรยมนเทียรแห่งโมเฒราได้รับการเสนอชื่อเป็นแหล่งมรดกโลกเบื้องต้นของยูเนสโกในปี 2022[2]

สูรยมนเทียรสร้างขึ้นในสมัยเจาลุกยะ ในรัชสมัยของกษัตริย์ภีมที่หนึ่ง นอกจากนี้ ด้วยการประดับของโตรณะและเสาภายในมนเทียรมีลักษณะคล้ายกันกับของพิมลพสาหีอาทินาถมนเทียรในทิลวาฑา (สร้างขึ้นในปี 1031-32) ทำให้สามารถยืนยันได้ว่าสร้างขึ้นในช่วงสมัยนี้จริง[3][4][1][5] ก่อนหน้าการสร้างสูรยมนเทียร ในปี 1024–1025 มะห์มูดแห่งกัซนีพยายามรุกรานอาณาจักรของกษัตริย์ภีม กระนั้นไม่สามารถยกทัพเข้ามาในโมเฒราได้ นักประวัติศาสตร์ เอเค มาชุมทร (A. K. Majumdar) เสนอทฤษฎีว่าสูรยมนเทียรนี้น่าจะสร้างขึ้นเพื่อฉลองความสำเร็จในการป้องกันนครโมเฒราจากการรุกรานในครั้งนั้น[6]

ชื่อในภายหลังสูรยมนเทียร เช่น สีตานีเจารี (Sita ni Chauri) และ รามกูณฑ์ (Ramkund) ในคนท้องถิ่น ดังที่ปรากฏในบันทึกจากปี 1887 ของอาเล็ดซันเดอร์ คีนล็อฆ ฟอบส์ ในหนังนือ Rasmala โดยระบุว่าชื่อท้องถิ่นเหล่านี้เกี่ยวพันกับสีตาและพระรามจากรามายณะ[7]

สูรยมนเทียรสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบมารุ-คุรฌร (หรือแบบ เจาลุกยะ) ประกอบด้วยครรภคฤห์ (garbhagriha) ในโถง คูฒามณฑป (gudhamandapa), โถงรวมตัวภายนอก สภามณฑป หร่อ รงคมณฑป (sabhamandapa หรือ rangamandapa) และสระน้ำอมฤต กูณฑ์ (kunda)[3][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Subodh Kapoor (2002). The Indian Encyclopaedia: Meya-National Congress. Cosmo Publications. pp. 4871–4872. ISBN 978-81-7755-273-7.
  2. Bureau, The Hindu (2022-12-20). "Vadnagar town, Modhera Sun Temple, Unakoti sculptures added to UNESCO's tentative list of World Heritage Sites". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2022-12-21.
  3. 3.0 3.1 Hasmukh Dhirajlal Sankalia (1941). The Archaeology of Gujarat: Including Kathiawar. Natwarlal & Company. pp. 70, 84–91.[ลิงก์เสีย]
  4. "Sun-Temple at Modhera (Gujarat)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2016.
  5. Sastri, Hirananda (November 1936). Annual Report of the Director of Archaeology, Baroda State, 1934-35. Baroda: Oriental Research Institute. pp. 8–9.
  6. Asoke Kumar Majumdar (1956). Chaulukyas of Gujarat. Bharatiya Vidya Bhavan. p. 45. OCLC 4413150.
  7. Wibke Lobo (1982). The Sun Temple at Modhera: A Monograph on Architecture and Iconography. C.H. Beck. p. 2. ISBN 978-3-406-08732-5.
  8. Ward (1 January 1998). Gujarat–Daman–Diu: A Travel Guide. Orient Longman Limited. pp. 153–155. ISBN 978-81-250-1383-9.