สี่โรคสิ่งแวดล้อมใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สี่โรคสิ่งแวดล้อมใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น เป็นกลุ่มโรคจากน้ำมือมนุษย์ที่เกิดจากมลภาวะสิ่งแวดล้อมเนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นจัดการขยะอุตสาหกรรมไม่เหมาะสม[1] เกิดครั้งแรกใน ค.ศ. 1912 ส่วนอีกสามโรคเกิดในคริสต์ทศวรรษ 1950 และ 1960

ชื่อ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ สาเหตุ แหล่งกำเนิด ปี (ค.ศ.)
โรคอิไตอิไต จังหวัดโทยามะ ภาวะพิษแคดเมียม Mitsui Mining & Smelting Company 1912
โรคมินามาตะ จังหวัดคูมาโมโตะ เมทิลเมอร์คิวรี Chisso Corporation 1956
โรคมินามาตะนีงาตะ จังหวัดนีงาตะ เมทิลเมอร์คิวรี Showa Denko 1965
หอบหืดยกกาอิจิ จังหวัดมิเอะ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มลภาวะทางอากาศภายในยกกาอิจิ 1961

เนื่องจากคดีความ การเผยแพร่ และการกระทำอื่นต่อบริษัทที่รับผิดชอบต่อมลภาวะ ตลอดจนการตั้งหน่วยงานสิ่งแวดล้อมใน ค.ศ. 1971 ความตระหนักของสาธารณะเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงวัตรอุตสาหกรรม อุบัติการณ์ของโรคเหล่านี้จึงลดลงหลังคริสต์ทศวรรษ 1970

อ้างอิง[แก้]

  1. Almeida, P; Stearns, L (1998). "Political opportunities and local grassroots environmental movement: The case of Minamata". Social Problems. 45 (1): 37–60. doi:10.1525/sp.1998.45.1.03x0156z.