ข้ามไปเนื้อหา

ตัวกระตุ้นอันตราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สิ่งเร้าอันตราย)

ตัวกระตุ้นอันตราย (อังกฤษ: noxious stimulus) เป็นปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อจริง ๆ หรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อได้[1] เป็นสิ่งที่จะต้องมีก่อนที่โนซิเซ็ปชั่น (คือการส่งสัญญาณประสาทสื่อว่า มีตัวกระตุ้นอันตราย) จะเกิดขึ้นได้ และโนซิเซ็ปชั่นก็จะต้องมี ก่อนที่ความเจ็บปวดจะะเกิดขึ้นได้[1]

ตัวกระตุ้นอันตรายอาจจะเป็นแบบเชิงกล (เช่นการหนีบ การหยิก หรือการทำเนื้อเยื่อให้ผิดรูป) เชิงเคมี (เช่นการสัมผัสกระทบกรดหรือสารระคายเคืองอย่างอื่น) หรือเชิงอุณหภูมิ (คือมีอุณหภูมิสูงหรือต่ำ ร้อนหรือเย็น)

มีความเสียหายของเนื้อเยื่อบางประเภทที่ไม่มีตัวรับความรู้สึกใด ๆ ตรวจจับได้ จึงไม่เป็นเหตุของความเจ็บปวด ดังนั้น ตัวกระตุ้นอันตรายทั้งหมด จึงไม่ใช่เป็นตัวกระตุ้นที่เหมาะสม (adequate stimulus) ของโนซิเซ็ปเตอร์ ตัวกระตุ้นที่เหมาะสมของโนซิเซ็ปเตอร์จึงเรียกว่า ตัวกระตุ้นโนซิเซ็ปเตอร์ (อังกฤษ: nociceptive stimulus) ซึ่งมีนิยามว่า[2]เป็นปรากฏการณ์ ที่ทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อจริง ๆ หรืออาจจะทำให้เกิดความเสียหายในเนื้อเยื่อได้ เป็นปรากฏการณ์ที่โนซิเซ็ปเตอร์ทำการถ่ายโอน[3]และทำการเข้ารหัส[4][1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Loeser JD, Treede RD. (2008). "The Kyoto protocol of IASP Basic Pain Terminology". Pain. 137 (3): 473–7. doi:10.1016/j.pain.2008.04.025. PMID 18583048.
  2. "an actually or potentially tissue damaging event transduced and encoded by nociceptors."
  3. ในสรีรวิทยา การถ่ายโอน (อังกฤษ: Transduction) คือการเปลี่ยนตัวกระตุ้นแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง การถ่ายโอนในระบบประสาทมักจะหมายถึงการส่งสัญญาณเพื่อแจ้งการตรวจพบตัวกระตุ้น โดยที่ตัวกระตุ้นเชิงกล ตัวกระตุ้นเชิงเคมี หรือเชิงอื่น ๆ ถูกเปลี่ยนเป็นศักยะงานประสาท แล้วส่งไปทางแอกซอน ไปสู่ระบบประสาทกลางซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมสัญญาณประสาทเพื่อประมวลผล
  4. การเข้ารหัส โดยรวม ๆ ก็คือ การแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เข้ารหัสเสียงดนตรีไปเป็นหลุมเล็ก ๆ บนซีดีที่ใช้เล่นเพลงนั้นได้