สิงโตแอฟริกาใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สิงโตซาโว)

Panthera leo melanochaita
Male lion in Etosha National Park, Namibia
Lioness in Samburu National Reserve, Kenya
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
ขาดข้อมูล (กรุณาคัดลอกจากหน้านี้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มาที่หน้านี้):
ขาดแม่แบบอนุกรมวิธาน ทำตามขั้นตอนด้านบนเพื่อสร้าง
Theria/skip
อันดับ: อันดับสัตว์กินเนื้อ
อันดับย่อย: เฟลิฟอเมีย
วงศ์: เสือและแมว
สกุล: สกุลแพนเทอรา
สปีชีส์: P.  leo
สปีชีส์ย่อย: P.  l. melanochaita
Trinomial name
Panthera leo melanochaita
(Smith, 1842)
ชื่อพ้อง[1]
  • P. l. bleyenberghi
  • P. l. krugeri
  • P. l. hollisteri
  • P. l. massaica
  • P. l. nyanzae

สิงโตแอฟริกาใต้ หรือ สิงโตใต้ เป็นชนิดย่อยของสิงโตในตอนใต้และตะวันออกของแอฟริกา

มีการกระจายพันธุ์อยู่รอบ ๆ แม่น้ำซาโว บริเวณอุทยานแห่งชาติซาโวในเคนยา ซึ่งสิงโตชนิดนี้ในเพศผู้มีความแตกต่างไปสิงโตชนิดอื่น ๆ คือ มีส่วนร่วมในการล่าเหยื่อด้วย และไม่มีแผงคอ หรือมีแต่เพียงสั้น ๆ ซึ่งขนบริเวณคอนี้จะมีสีและความหนาแตกต่างกันออกไปตามแต่ละตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าพฤติกรรมนี้เกิดจากความขาดแคลนอาหารในพื้นที่ ๆ อาศัย เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่แห้งแล้ง และแผงคอเป็นอุปสรรคเพราะมีพืชที่มีหนามแหลมขึ้นอยู่

สิงโตชนิดนี้ขึ้นชื่อว่ามีความโหดร้าย เนื่องจากเคยมีประวัติจู่โจมใส่มนุษย์มาแล้ว ที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ เรื่องราวของสิงโตคู่หนึ่งที่เข้าโจมตีใส่มนุษย์ ระหว่างที่มีการสร้างทางรถไฟและสะพานข้ามแม่น้ำซาโว จากเคนยาไปอูกันดา ระหว่างเดือนมีนาคม-ธันวาคม ค.ศ. 1898 โดยจักรวรรดิอังกฤษขณะที่ปกครองทวีปแอฟริกาในฐานะเจ้าอาณานิคม สิงโตที่ซาโว ได้คาบเอาคนงานก่อสร้างไปกินหลายต่อหลายครั้ง ทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งผิดไปจากพฤติกรรมของสิงโตและสัตว์ป่าทั่วไป ทำให้เกิดความหวาดกลัวและวุ่นวายไปทั่วไซส์งานก่อสร้าง บ้างก็เชื่อว่ามันคือ สิงโตปีศาจ ซึ่งนายทหารผู้คุมการก่อสร้าง คือ พันตรี จอห์น เฮนรี แพตเตอร์สัน ต้องหยุดการก่อสร้างและตามล่าสิงโตคู่นี้อย่างจริงจัง ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม ในที่สุดเขาก็สามารถสังหารสิงโตตัวแรกได้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1898 และอีกสามสัปดาห์ต่อมาเขาก็ฆ่าสิงโตตัวที่สองได้ โดยสิงโตทั้งสองตัวมีขนาดใหญ่ถึง 3 เมตร (วัดจากจมูกถึงปลายหาง) นอกจากนี้จอห์นและคณะยังค้นพบถ้ำที่เป็นที่อยู่ของมันซึ่งได้พบซากของผู้ตกเป็นเหยื่อของสิงโตจำนวนมาก มีทั้งกระดูก เสื้อผ้าและเครื่องประดับ ซึ่งคาดว่ามีผู้ตกเป็นเหยื่อของสิงโตคู่นี้ประมาณ 135-140 คน[2][3]

เรื่องราวนี้ ได้ถูกเล่าขานและได้แต่งเป็นบทประพันธ์แนวผจญภัยโดยตัวแพตเตอร์สันเอง ชื่อ The Man-Eaters of Tsavo เมื่อปี ค.ศ. 1907 และบทประพันธ์นี้ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเมื่อปี ค.ศ. 1996 ชื่อ The Ghost and the Darkness[4] ในปัจจุบัน ซากของสิงโตคู่นี้ได้ถูกสตั๊ฟฟ์และเก็บแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ในชิคาโก สหรัฐ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Catsg2017
  2. Field Museum uncovers evidence behind man-eating; revises legend of its infamous man-eating lions
  3. Patterson, Bruce D. (2004). The Lions of Tsavo: Exploring the Legacy of Africa's Notorious Man-Eaters. McGraw-Hill. ISBN 0071363335.
  4. The Ghost and the Darkness (1996) จากIMDb