ข้ามไปเนื้อหา

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราสัญลักษณ์

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) หรือ "อีพีเอ" เป็นหน่วยงานระดับประเทศ หรือระดับรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลปกป้องสุขภาพของมวลมนุษย์และปกป้องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งได้แก่อากาศ น้ำและแผ่นดิน EPA เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2513 จัดตั้งโดยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน โดยมีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชา หน่วยงานนี้ไม่ใช่กระทรวงแต่ผู้อำนวยการได้รับการเทียบเท่ากับรัฐมนตรี ผู้อำนวยการคนปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) คือนายสตีเฟน แอล จอห์นสัน (Stephen L. Johnson) และผู้ช่วยผู้อำนวยการคือนายมาร์คัส พีคอค พนักงานเต็มเวลาในหน่วยงานนี้มีจำนวนประมาณ 18,000 คน[1]

ภาพรวม

[แก้]
ที่ทำการใหญ่ของ อีพีเอ.ในวอชิงตัน ดีซี

อีพีเอ.มีพนักงาน 17,000 คนในสำนักงานใหญ่ ในสำนักงานภาค 10 แห่งและในหอปฏิบัติการทดลองที่กระจายทั่วประเทศ 27 แห่ง มากกว่าครึ่งของพนักงานเป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องสิ่งแวดล้อมและกลุ่มอื่นที่รวมทั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สาธารณกิจ การคลังและผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์


สำนักงานฯ ทำหน้าที่ดำเนินการประเมินสิ่งแวดล้อม วิจัยและให้การศึกษา มีความรับผิดชอบหลักในด้านการกำหนดและใช้บังคับมาตรฐานระดับชาติภายใต้กฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับต่างๆ โดยการปรึกษาหารือกับรัฐต่างๆ ชนเผ่าและรัฐบาลส่วนท้องถิ่น ในบางกรณี อีพีเอ.จะมอบอำนาจหน้าที่การให้การอนุญาต, และการตรวจตราเฝ้าระวังให้แก่รัฐต่างๆ และแก่ชนอเมริกันพื้นเมือง อีพีเอ.ใช้อำนาจโดยการปรับ การบังคับและอื่นๆ

สำนักงานฯ ทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและกับรัฐบาลทุกระดับในโครงการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ตามความสมัครใจ และโครงการอนุรักษ์พลังงาน


ประวัติ

[แก้]

เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันได้นำส่งแผนปรับปรุงองค์การหมายเลข 3 (Reorganization Plan No. 3) ต่อรัฐสภาด้วยมติคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยให้เป็นหน่วยงานเอกเทศที่มีความเป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่ในทุกระดับและจากรัฐบาลกลาง ก่อนมีการจัดตั้งอีพีเอ. ยังไม่มีหน่วยงานใดในสหรัฐฯ ที่มีโครงสร้างที่สามารถต่อสู้กับการโจมตีของมลพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษยชาติและการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง อีพีเอ.ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ทำหน้าที่ซ่อมความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติแล้วนั้น และทำการวางกฎเกณฑ์เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับชาวอเมริกันให้ช่วยกันทำให้อเมริกามีความสะอาดและปลอดภัยมากขึ้น


โครงการอากาศ

[แก้]

ดาวพลังงาน

[แก้]

ดูบทความหลัก: ดาวพลังงาน

เมื่อ พ.ศ. 2537 อีพีเอ.ได้เปิดโครงการดาวพลังงานขึ้น ซึ่งเป็นโครงการสมัครใจส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในปี พ.ศ. 2549 อีพีเอเปิดโครงการในทำนองเดียวกันคือโครงการ "สำนึกน้ำ" ที่ส่งเสริมการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ อีพีเอ.ยังได้บริหารกฎหมายรัฐบาลกลางว่าด้วยยาฆ่าแมลง ยากำจัดเชื้อราและยากำจัดหนู (FIFRA) ซึ่งบังคับมานานก่อนตั้งอีพีเอ. โดยบังคับให้มีการจดทะเบียนการจำหน่ายยากำจัดแมลง เชื้อราและหนูในประเทศสหรัฐฯ รวมทั้งความรับผิดชอบในการตรวจผลการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลกลาง


การทดสอบการประหยัดเชื้อเพลิงและผลลัพธ์

[แก้]

บริษัทผู้ผลิตถูกบังคับให้นำผลการทดสอบการประหยัดเชื้อเพลิงของอีพีเอ.ไปใช้ในการโฆษณาอัตราการใช้เชื้อเพลิงของรถที่ตนผลิตและห้ามผู้ผลิตใช้ผลทดสอบจากที่อื่นใด การคำนวณการประหยัดน้ำมันใช้ข้อมูลการปลดปล่อยที่เก็บจากผลการทดสอบที่มีใบรับรองตามกฎหมาอากาศสะอาด (Clean Air Act (1970) - 1970) โดยการวัดปริมาณคาร์บอนรวมที่ได้จากการจับจากไอเสียทั้งหมดระหว่างการทดสอบ ผลการคำนวณนี้จะถูกปรับอีกครั้งหนึ่งโดยปรับลง 10% สำหรับการขับขี่ในเมืองและ 22% สำหรับทางหลวงเพื่อชดเชยตามสภาพการขับขี่ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2515

ระบบการทดสอบที่ใช้ในปัจจุบันได้พัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 โดย ทำการจำลองสภาพการขับขี่ในชั่วโมงเร่งด่วนของลอสแอนเจลิส ในสมัยนั้น ก่อน พ.ศ. 2527 อีพีเอยังไม่ได้ปรับค่าประหยัดเชื้อเพลิงลงมาและยังใช้ตัวเลขค่าการประหยัดพลังงานตายตัวที่คำนวณได้จากการทดสอบโดยตรง ในปี พ.ศ. 2549 อีพีเอได้ดำเนินการจัดทำวิธีการทดสอบครั้งสุดท้ายเพื่อปรับปรุงการประหยัดเชื้อเพลิงและการปลดปล่อยใอเสียซึ่งจะมีผลใช้บังคับกับรถยนต์รุ่น 2008 เป็นต้นไป[2] เป็นการวางรอบกรรมวิธีการทดสอบ 12 ปีเป็นครั้งแรก

นับถึงปัจจุบัน ปรากฏว่าผู้ใช้รถเกือบทั้งหมดรายงานว่ารถยนต์ที่ใช้อยู่โลกแห่งความจริงประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่าข้อกำหนดของอีพีเอ ปัญหานี้เห็นได้ชัดเจนมากในรถยนต์ลูกผสม (hybrid vehicle).......

คุณภาพของอากาศและมลพิษในอากาศ (Air quality and air pollution)

[แก้]

การป้องกันมลภาวะจากน้ำมัน (Oil Pollution Prevention)

[แก้]

ห้องสมุด

[แก้]

ข้อถกเถียง

[แก้]

การห้ามใช้ดีดีที

[แก้]

การปลดปล่อยสารปรอท

[แก้]

ระดับคุณภาพอากาศเหตุการณ์ 9/11

[แก้]

ดู EPA 9/11 pollution controversy

การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจก

[แก้]

การประหยัดเชื้อเพลิง

[แก้]

อนุภาคแขวนลอยขนาดเล็กมากในอากาศ (Very fine airborne particulates)

[แก้]

การทบทวนมาตรฐานอากาศสะอาด (Review of air quality standards)

[แก้]

สำนักงานอีพีเอ

[แก้]

รายชื่อผู้อำนวยการสำนักปกป้องสิ่งแวดล้อม

[แก้]
พ.ศ. 2513-2516 William D. Ruckelshaus
พ.ศ. 2516-2520 Russell E. Train
พ.ศ. 2520-2524 Douglas M. Costle
พ.ศ. 2524-2526 Anne M. Gorsuch (Burford)
พ.ศ. 2526-2528 William D. Ruckelshaus
พ.ศ. 2528-2532 Lee M. Thomas
พ.ศ. 2532-2536 William K. Reilly
พ.ศ. 2536-2544 Carol M. Browner
พ.ศ. 2544-2546 Christine Todd Whitman
พ.ศ. 2546-2548 Michael O. Leavitt
พ.ศ. 2548-2552 Stephen L. Johnson
พ.ศ. 2552-2556 Lisa Jackson
พ.ศ. 2556-2560 Gina McCarthy
พ.ศ. 2560- Scott Pruitt

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Joseph Kahn and Jim Yardley (August 26, 2007). "As China Roars, Pollution Reaches Deadly Extremes". New York Times.
    Also see U.S. Census Bureau spreadsheet
  2. EPA Fuel Economy

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]