สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย
ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Division of Thai Music
Naresuan University
สถาปนาพ.ศ. 2544
ที่อยู่
อาคาร 3 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ถนนนครสวรรค์-พิษณุโลก ท่าโพธิ์ อำเภอเมือง พิษณุโลก 65000

โทร.(055) 692141

(055) 962035
เว็บไซต์https://www.duriyangashastra.com/

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย เป็นหน่วยงานระดับหลักสูตร ที่จัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีไทยในระดับปริญญาตรี สังกัดภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นสถาบันที่เน้นการเรียนดนตรีไทยทั้งภาคปฏิบัติและวิชาการ เพื่อสร้างบัณฑิตสายวิชาชีพดนตรีไทยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์เฉพาะ และเป็นผู้ธำรงรักษามรดกทางภูมิปัญญาดนตรีของชาติในการสนับสนุนกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม ดังเห็นได้จากการที่บัณฑิตได้เป็นบุคลากรในหน่วยงาน และสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

โครงการที่ดำเนินการเป็นประจำได้แก่ โครงการสืบทอดดนตรีไทยจากผู้เชี่ยวชาญหรือศิลปินแห่งชาติ โครงการไหว้ครูและครอบครูดนตรีไทย โครงการหสกิจศึกษาต่างประเทศ โครงการอบรมดนตรีไทยสำหรับครูประจำการ เป็นต้น

ประวัติ[แก้]

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เริ่มทำการเรียนการสอนเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 ณ ขณะนั้นได้สังกัดอยู่กับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีอาจารย์ (ปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) คมกริช การินทร์ เป็นผู้ดำเนินการสร้างหลักสูตรดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกในมหาวิทยาลัยนเรศวร

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย มีการปรับเปลี่ยนสถานะอยู่หลายคราว ขึ้นกับการจัดระบบบริหารงานของคณะมนุษยศาสตร์ ปัจจุบันมีฐานะเป็นหน่วยงานระดับหลักสูตร อยู่ภายในภาควิชาดนตรี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดชา ศรีคงเมือง ดำรงตำแหน่งประธานหลักสูตรปัจจุบัน

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร[แก้]

1.1 ปรัชญา

ดนตรีนำชีวิตไปสู่ศาสตร์และศิลป์เพื่อการสร้างสรรค์พัฒนาชาติ


1.2 ความสำคัญ

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย ตอบสนองการบรรลุวิสัยทัศน์เพื่อ

การพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้เพื่อการน าไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุขและตอบสนองต่อการบรรลุซึ่ง

ผลประโยชน์แห่งชาติ ดังนี้

1) ดนตรีโน้มนำให้มนุษย์สามารถใช้ศาสตร์เพื่อการสร้างสรรค์ที่พัฒนาตนเองและชาติ

2) ดนตรีโน้มนำให้มนุษย์สามารถใช้เป็นศิลปะเพื่อการด ารงชีวิต

3) ดนตรีโน้มนำให้มนุษย์สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชาติได้อย่างยิ่งยืน

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีอัตตลักษณ์

เก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งครองชีวิต และเก่งพิชิตปัญหา เพื่อให้เป็นไปตามปรัชญาของหลักสูตร

ดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย คือ ดนตรีนำชีวิตไปสู่ศาสตร์และศิลป์เพื่อการ

สร้างสรรค์พัฒนาชาติ


1.3 วัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

1) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านวิชาการและการปฏิบัติดนตรีไทย

2) มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้า ผลิตผลงานวิจัยให้ได้มาตรฐาน เป็นประโยชน์ต่อ

ท้องถิ่น ประเทศชาติ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ

3) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้านดนตรีไทย เพื่อพัฒนาชาติ โดยใช้ความรู้ความสามารถ

ทางทักษะและวิชาการ มาประยุกต์กับแนวคิดร่วมสมัย ในการประกอบวิชาชีพด้านดนตรีไทยอย่างมี

ประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของโลก

4) มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ มีเจตคติที่ดีต่อศิลปวัฒนธรรมไทย

รวมทั้งสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม

อาจารย์ประจำสาขาวิชา[แก้]

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดชา ศรีคงเมือง (ประธานหลักสูตร)

อาจารย์ ดร.วราภรณ์ เชิดชู

ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุตรี สุขปาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรชัย ผลนิโครธ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐณิช นักปี่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ว่าที่ร้อยตรี โสภณ ลาวรรณ์

อาจารย์ประชากร ศรีสาคร

หลักสูตรดุริยางคศาสตร์ไทย[แก้]

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย[1]

ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Music Program in Thai Music

ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)
ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดุริยางคศาสตร์ไทย) Bachelor of Music (Thai Music) ดศ.บ. (ดุริยางคศาสตร์ไทย) B.M. (Thai Music)


2.รายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตรดุริยางคศาสตร์ไทย ฉบับปรับปรุงปี 2561


หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง[แก้]

มหาวิทยาลัยนเรศวร

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์

ศิษย์เก่าดุริยางคศาสตร์ไทย

อ้างอิง[แก้]

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม[2]

ลิงก์เว็บไซต์สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย[แก้]

สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย เก็บถาวร 2011-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  1. "ระบบรับทราบหลักสูตร". 202.28.55.154.[ลิงก์เสีย]
  2. "ระบบรับทราบหลักสูตร". 202.28.55.154.[ลิงก์เสีย]