สลอบอดัน พราลยัค
สลอบอดัน พราลยัค | |
---|---|
พราลยัคในปี ค.ศ. 2013 | |
เกิด | 02 มกราคม ค.ศ. 1945 ชาพลีนา รัฐเอกราชโครเอเชีย |
เสียชีวิต | 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ | (72 ปี)
รับใช้ | โครเอเชีย เฮิร์ตเซก-บอสเนีย |
แผนก/ | กองทัพบกโครเอเชีย สภากลาโหมโครเอเชีย |
ชั้นยศ | นายพล |
การยุทธ์ | |
คู่สมรส | กาชูชา บาบิช |
งานอื่น | ศาสตราจารย์, ผู้กำกับภาพยนตร์และการละคร, นักธุรกิจ, นักเขียน |
เว็บไซต์ | slobodanpraljak |
สาเหตุเสียชีวิต | การฆ่าตัวตายด้วยยาพิษ |
สลอบอดัน พราลยัค (โครเอเชีย: Slobodan Praljak; ออกเสียง: [slobǒdan prǎːʎak]; 2 มกราคม ค.ศ. 1945 – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017) เป็นนายพลชาวโครแอตเชื้อสายบอสเนียผู้ทำหน้าที่ในกองทัพบกโครเอเชียและสภากลาโหมโครเอเชีย ซึ่งเป็นกองทัพของสาธารณรัฐโครเอเชียแห่งเฮิร์ตเซก-บอสเนีย ระหว่างปี ค.ศ. 1992 ถึง 1995 พราลยัคถูกตัดสินว่ามีความผิดในการละเมิดกฎหมายสงคราม, อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และการละเมิดอนุสัญญาเจนีวาในช่วงสงครามโครแอต-บอสนีแอกโดยคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย (ICTY) ในปี ค.ศ. 2017[1]
พราลยัคสมัครเข้าร่วมกองทัพโครเอเชียที่ตั้งขึ้นใหม่ หลังจากการปะทุของสงครามประกาศเอกราชโครเอเชียในปี ค.ศ. 1991 ก่อนและหลังสงครามเขาเป็นทั้งวิศวกร, ผู้กำกับโทรทัศน์และการละคร รวมทั้งนักธุรกิจ[2][3] พราลยัคถูกฟ้องร้อง และยอมจำนนโดยสมัครใจต่อคณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียใน ค.ศ. 2004[4] ส่วนในปี ค.ศ. 2013 เขาถูกตัดสินว่ามีอาชญากรรมสงครามกับประชากรมุสลิมชาวบอสเนียในช่วงสงครามโครแอต-บอสนีแอก พร้อมกับข้าราชการชาวโครแอตเชื้อสายบอสเนียอื่น ๆ อีกห้าราย[5][6] และถูกตัดสินจำคุก 20 ปี[7] เมื่อได้ยินคำตัดสินความผิดที่ยึดถือไว้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 พราลยัคกล่าวว่าเขาปฏิเสธคำตัดสินของศาล และฆ่าตัวตายด้วยยาพิษในห้องพิจารณาคดี[8][9][10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Trial Judgement Summary for Prlić et al" (PDF). ICTY. 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 2 December 2017.
- ↑ Ivica Radoš (29 November 2017). "Tko je bio Slobodan Praljak? Slao je oružje Bošnjacima u opkoljeno Sarajevo" [Who was Slobodan Praljak? He sent weapons to Bosnians in the besieged Sarajevo] (ภาษาเซอร์โบ-โครเอเชีย). Večernji list. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
- ↑ Andrey Shary (30 November 2017). "The Poisoned General". Radio Free Europe/Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 1 December 2017.
- ↑ "Slobodan Praljak". Trial International. 6 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
- ↑ "Prlic et al. Initial Indictment". ICTY. 2 March 2004.
- ↑ "'I am not a war criminal,' convicted Bosnian Croat cries as he takes a fatal dose of poison". Los Angeles Times. 29 November 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-16. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
Ironically, Praljak, who surrendered to the tribunal in April 2004 and had already been jailed for 13 years, could have soon walked free because those who are convicted are generally released after serving two-thirds of their sentences.
- ↑ Mike Corder (29 May 2013). "UN war crimes tribunal convicts 6 Bosnian Croats of persecution of Muslims during Bosnian war". News1130.
- ↑ "Statement on passing of Slobodan Praljak". ICTY. 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
- ↑ "Preliminary results autopsy Slobodan Praljak". Openbaar Ministerie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-03. สืบค้นเมื่อ 1 December 2017.
- ↑ Owen Bowcott (29 November 2017). "Bosnian Croat war criminal dies after taking poison in UN courtroom". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 November 2017.
- ↑ Stephanie van den Berg; Bart H. Meijer (29 November 2017). "Bosnian Croat war crimes convict dies after taking 'poison' in U.N. court". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Personal website
- Prlić et al.: Case information sheet at ICTY
- Profile at filmski-programi.hr (โครเอเชีย)
- Slobodan Praljak ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส