สถานีย่อย:วิทยาศาสตร์/บทความแนะนำ/3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภูมิแสดงให้เห็นระหว่างพลังงานในอวกาศ พลังงานในบรรยากาศของโลก และพลังงานที่พื้นผิวโลก ขีดความสามารถของบรรยากาศในอุ้มและรีไซเคิลพลังงานที่เปล่งจากผิวโลกเป็นตัวกำหนดลักษณะของปรากฏการณ์เรือนกระจก

ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) คือกระบวนการที่เกิดจากการแผ่รังสีอินฟราเรดโดยบรรยากาศแล้วทำให้พื้นผิวโลกร้อนขึ้น ชื่อดังกล่าวมาจากการอุปมาที่คลาดเคลื่อนว่าเป็นการเปรียบเทียบอากาศที่อุ่นกว่าภายในเรือนกระจกกับอากาศที่เย็นกว่าภายนอก (ความจริงในอวกาศไม่มีอากาศ) โจเซฟ ฟูริเออร์เป็นผู้ค้นพบปรากฏการณ์เรือนกระจกเมื่อ พ.ศ. 2367 และสวานเต อาร์เรเนียส (Svante Arrhenius) เป็นผู้ทดสอบหาปริมาณความร้อนเมื่อ พ.ศ. 2439

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ 14°C จะเย็นเท่ากับ -19°C หากโลกปราศจากปรากฏการณ์เรือนกระจก ปรากฏการณ์โลกร้อน หรือการร้อนขึ้นของปรากฏการณ์โลกร้อนจากที่เป็นอยู่เดิมของบรรยากาศชั้นล่างของโลกเมื่อเร็วๆ นี้ เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากการเพิ่มปริมาณของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ นอกจากโลกแล้ว ดาวอังคาร และดาวศุกร์ ก็มีปรากฏการณ์โลกร้อนเช่นเดียวกัน ดูเพิ่ม...