สตีเวน คิง
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สตีเฟน คิง | |
---|---|
![]() | |
เกิด | พอร์ตแลนด์ ,รัฐเมน, สหรัฐอเมริกา | 21 กันยายน ค.ศ. 1947
นามปากกา | ริชาร์ด บาคแมน, จอห์น สวิเทน |
อาชีพ | นักเขียนนวนิยาย, นักเขียนเรื่องสั้น, นักเขียนบทภาพยนตร์, คอลัมนิสต์, นักแสดง, ผู้อำนวยการสร้าง, ผู้กำกับภาพยนตร์ |
แนว | นิยายวิทยาศาสตร์, สยองขวัญ, แฟนตาซี, ดราม่าชีวิต |
ลายมือชื่อ | ![]() |
สตีเฟน เอ็ดวิน คิง (อังกฤษ: Stephen Edwin King) เป็นนักเขียนนิยายเขย่าขวัญ ชาวอเมริกัน เกิดวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2490 เคยใช้นามปากกาว่า "ริชาร์ด บาร์คแมน" (Richard Bachman) และ "จอห์น สวิเธน" (John Swithen) เขียนนวนิยายเรื่องแรกคือ Carrie ในปี พ.ศ. 2516 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Doubleday & Co.[1] มีนิยายของคิงถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และบทละครโทรทัศน์ เช่น 'Salem' s Lot, It, Misery, Pet Sematary
ในปี พ.ศ. 2546 มูลนิธิหนังสือแห่งชาติ (National Book Foundation) มอบรางวัล "เหรียญสำหรับผู้มีผลงานทางวรรณกรรมอเมริกันอันดีเด่น" ให้แก่สตีเฟน คิง
ประวัติ[แก้]
สตีเฟน คิง เกิดเมื่อ 21 กันยายน พ.ศ. 2490 ที่เมืองพอร์ตแลนด์ ในรัฐเมน เป็นบุตรคนที่ 2 ของเอ็ดวิน คิง และ เนลลี รูธ พิลส์บูรี เขาเสียพ่อตั้งแต่วัยเด็ก ในปี พ.ศ. 2509 เขาได้เข้าเรียนในภาควิชาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยเมน ที่เมืองออรอโน หลังจบการศึกษาเขาได้สอนวิชาภาษาอังกฤษในเมืองแฮมปเดน ในรัฐเมน
ด้านชีวิตส่วนตัว เขาสมรสกับทาบิธา คิง (นามกุลก่อนแต่งงาน: สปรูซ) เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2514 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ นาโอมิ ราเชล คิง, โจ คิง และ โอเว่น คิง โดย 2 คนสุดท้ายนี้มีอาชีพเป็นนักเขียนเช่นเดียวกับบิดา-มารดาของพวกเขาเอง
ในปี พ.ศ. 2542 สตีเฟน คิงประสบอุบัติเหตุร้ายแรงด้วยการโดนรถชนระหว่างเดินออกกำลังกายตอนเช้าอยู่บนถนนใกล้บ้านในรัฐเมน เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลและเข้าทำการผ่าตัด ระหว่างการพักฟื้นร่างกาย จึงเขียนหนังสือชื่อ On Writing ซึ่งกล่าวถึงที่มาของการเขียนหนังสือ และแรงบันดาลใจที่ทำให้เขียนหนังสือหลาย ๆ เล่ม
ผลงาน[แก้]
นวนิยาย[แก้]
- Carrie (พ.ศ. 2517)
- 'Salem's Lot (พ.ศ. 2518)
- The Shining (พ.ศ. 2520)
- The Stand (พ.ศ. 2521)
- The Dead Zone (พ.ศ. 2522)
- แปลในชื่อ แดนมรณะ โดย เกียรติ (พ.ศ. 2524)
- แปลในชื่อ มรณะดำ โดย สิทธิพร-วราภรณ์ (ไม่ทราบปีพิมพ์)
- Firestarter (พ.ศ. 2523)
- แปลในชื่อ เผามันเลย โดย สถาพร รายา (พ.ศ. 2524)
- แปลในชื่อ หนูน้อยพลังเพลิง โดย อรรถพล (พ.ศ. 2531)
- Cujo (พ.ศ. 2524)
- แปลในชื่อ คูโจ โดย ปรีชา-ดวงตา (พ.ศ. 2524)
- The Gunslinger (พ.ศ. 2525)
- Pet Sematary (พ.ศ. 2526)
- แปลในชื่อ สุสานคืนวิญญาณ โดย ประดิษฐ์ เทวาวงศ์ (พ.ศ. 2527)
- แปลในชื่อ กลับจากป่าช้า โดย อรทัย พันธพงศ์ (พ.ศ. 2562)
- Christine (พ.ศ. 2526)
- แปลในชื่อ รถบ้า โดย ประดิษฐ์ เทวาวงศ์ (พ.ศ. 2526)
- Cycle of the Werewolf (พ.ศ. 2526)
- The Talisman (พ.ศ. 2527) ร่วมกับ ปีเตอร์ สตรอบ
- แปลในชื่อ ถอดวิญญาณ โดย ประดิษฐ์ เทวาวงศ์ (พ.ศ. 2528)
- The Eyes of the Dragon (พ.ศ. 2527)
- แปลในชื่อ พ่อมด โดย ประดิษฐ์ เทวาวงศ์ (พ.ศ. 2530)
- It (พ.ศ. 2529)
- แปลในชื่อ อิท โดย โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล (พ.ศ. 2560)
- The Dark Tower II: The Drawing of the Three (พ.ศ. 2530)
- แปลในชื่อ ปริศนาแห่งสามประตู โดย ตะวัน พงษ์บุรุษ (พ.ศ. 2549)
- Misery (พ.ศ. 2530)
- แปลในชื่อ มิซรี่ โดย นัทยา (ไม่ทราบปีพิมพ์)
- แปลในชื่อ ระทึก โดย วิทูรย์ ปฐม (พ.ศ. 2533)
- แปลในชื่อ คลั่ง ขัง ฆ่า โดย นนทลิกานต์ สุริยวัฒน์ (พ.ศ. 2561)
- The Tommyknockers (พ.ศ. 2531)
- แปลในชื่อ ทอมมี่น็อคเกอร์ โดย ศักดิ์ บวร (ไม่ทราบปีพิมพ์)
- The Dark Half (พ.ศ. 2532)
- แปลในชื่อ ผีชั่วไม่ยอมตาย โดย ช. พันธ์พิมพ์ (พ.ศ. 2532)
- The Dark Tower III: The Waste Lands (พ.ศ. 2534)
- แปลในชื่อ มือปืนแดนสนธยา โดย กฤษฎา วิเศษสังข์ (พ.ศ. 2536)
- Needful Things (พ.ศ. 2534)
- แปลในชื่อ สู่ฝันสนธยา โดย วิทูรย์ ปฐม (พ.ศ. 2535)
- Gerald's Game (พ.ศ. 2535)
- แปลในชื่อ เกมกระตุกขวัญ โดย วิฑูรย์ ปฐม (พ.ศ. 2536)
- Dolores Claiborne (พ.ศ. 2536)
- แปลในชื่อ คำสารภาพ โดย อธิพงษ์ วาทิน (พ.ศ. 2536)
- Insomnia (พ.ศ. 2537)
- Rose Madder (พ.ศ. 2538)
- Desperation (พ.ศ. 2539)
- The Green Mile (พ.ศ. 2539)
- The Dark Tower IV: Wizard and Glass (พ.ศ. 2540)
- Bag of Bones (พ.ศ. 2541)
- The Girl Who Loved Tom Gordon (พ.ศ. 2542)
- Black House (พ.ศ. 2544) ร่วมกับ ปีเตอร์ สตรอบ
- Dreamcatcher (พ.ศ. 2544)
- From a Buick 8 (พ.ศ. 2545)
- The Dark Tower V: Wolves of the Calla (พ.ศ. 2546)
- The Dark Tower VI: The Song of Susannah (พ.ศ. 2547)
- The Dark Tower VII: Dark Tower (พ.ศ. 2547)
- The Colorado Kid (พ.ศ. 2548)
- Lisey's Story (พ.ศ. 2549)
- Cell (พ.ศ. 2549)
- แปลในชื่อ เซลล์ โดย นพดล เวชสวัสดิ์ (พ.ศ. 2549)
- Duma Key (พ.ศ. 2551)
- Under the Dome (พ.ศ. 2553)
- 11/22/63 (พ.ศ. 2554)
- แปลในชื่อ 11/22/63 วันสังหาร โดย นาลันทา คุปต์ (พ.ศ. 2557)
- It: The 25th Anniversary Special Edition (พ.ศ. 2554)
- The Dark Tower: The Wind Through the Keyhole (พ.ศ. 2555)
- Doctor Sleep (พ.ศ. 2556) เล่มต่อจาก The Shining
- Joyland (พ.ศ. 2556)
- แปลในชื่อ จอยแลนด์ โดย ปัทมา อินทรรักขา (พ.ศ. 2558)
- Mr. Mercedes (พ.ศ. 2557)
- แปลในชื่อ มิสเตอร์เมอร์เซเดส โดย โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล (พ.ศ. 2559)
- Revival (พ.ศ. 2557)
- Finders Keepers (พ.ศ. 2558)
- แปลในชื่อ ใครดีใครได้ (ภาคต่อมิสเตอร์เมอร์เซเดส) โดย โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล (พ.ศ. 2559)
- End of Watch (พ.ศ. 2559)
- แปลในชื่อ อวสาน (ภาคต่อใครดีใครได้) โดย โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล (พ.ศ. 2560)
ภายใต้นามปากกา ริชาร์ด บาคแมน (Richard Bachman)[แก้]
- Rage (พ.ศ. 2520)
- The Long Walk (พ.ศ. 2522)
- Roadwork (พ.ศ. 2524)
- The Running Man (พ.ศ. 2525)
- แปลในชื่อ เกมล่าฅนเหล็ก โดย ประดิษฐ์ เทวาวงศ์ (พ.ศ. 2531)
- Thinner' (พ.ศ. 2527)
- แปลในชื่อ คำสาปยิปซี โดย จักกพันธุ์ อัศวกุล (พ.ศ. 2528)
- The Regulators (พ.ศ. 2539)
- Blaze (พ.ศ. 2550)
รวมเรื่องสั้น[แก้]
- Night Shift (พ.ศ. 2521)
- Different Seasons (พ.ศ. 2525)
- เรื่อง The Body แปลในชื่อ แสตนด์บายมี โดย วิฑูรย์ ปฐม (ไม่ทราบปีพิมพ์)
- แปลเป็นชุดสามเล่ม โดย ป. สามโกเศศ (พ.ศ. 2527) ประกอบด้วย
- เรื่อง Rita Hayworth and Shawshank Redemption แปลในชื่อ รีต้าเฮย์เวิ้ทและการไถ่ถอนที่ชอว์แชงค์
- เรื่อง Apt Pupil แปลในชื่อ เด็กแอพท์
- เรื่อง The Body แปลในชื่อ คดีฉ้อฉล
- เรื่อง The Breathing Method แปลในชื่อ วิธีการหายใจ (รวมอยู่ในเล่มเดียวกับ คดีฉ้อฉล)
- Skeleton Crew (พ.ศ. 2527)
- แปลในชื่อ นรกตื่น โดย พิศวาท/โรมรัน (พ.ศ. 2528)
- Four Past Midnight (พ.ศ. 2533)
- แปลในชื่อ นาทีสยองขวัญ โดย วิทูรย์ ปฐม และ กฤษฎา วิเศษสังข์ (พ.ศ. 2534)
- แปลในชื่อ แดนสยองขวัญ โดย ช.พันธ์พิมพ์ (พ.ศ. 2534)
- Nightmares & Dreamscapes (พ.ศ. 2536)
- แปลบางส่วนในชื่อ มาจากสนธยา โดย กิตติกานต์ อิศระ (พ.ศ. 2537)
- แปลในชื่อ คืนแห่งฝันสยอง โดย กฤษดา วิเศษสังข์ (พ.ศ. 2538)
- Hearts in Atlantis (พ.ศ. 2542)
- Everything's Eventual (พ.ศ. 2545)
- Just After Sunset (พ.ศ. 2551)
- Stephen King Goes to the Movies (พ.ศ. 2552)
- Full Dark, No Stars (พ.ศ. 2553)
- The Bazaar of Bad Dreams (พ.ศ. 2558)
ผลงานเชิงอัตชีวประวัติ[แก้]
- On Writing (พ.ศ. 2545)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)[แก้]
- The Plant (พ.ศ. 2543; ยังไม่เสร็จสมบูรณ์)
- Ur (พ.ศ. 2553)
- Mile 81 (พ.ศ. 2554)
- A Face in the Crowd (พ.ศ. 2555)
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สตีเวน คิง |