สตีนบอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตีนบอก
ตัวผู้ในอุทยานแห่งชาติอีโตซา
ตัวเมียในอุทยานแห่งชาติอีโตซา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
สกุล: Raphicerus
สปีชีส์: R.  campestris
ชื่อทวินาม
Raphicerus campestris
Thunberg, 1811
แผนที่การกระจายพันธุ์ (ค.ศ. 1970)

สตีนบอก หรือ สตีนบัก (อังกฤษ: Steenbok, Steinbok, Steinbuck; ชื่อวิทยาศาสตร์: Raphicerus campestris) แอนทิโลปชนิดหนึ่ง จำพวกแอนทิโลปขนาดเล็ก หรือแอนทิโลปแคระ

สตีนบอก มีน้ำหนักตัวประมาณ 11 กิโลกรัม ความสูง 60 เซนติเมตร ความยาว 95 เซนติเมตร–1.1 เมตร อายุโดยเฉลี่ย 10 ปี พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ และพบได้ยากในแอฟริกาตะวันออก แต่จะพบได้บ่อยในอุทยานแห่งชาติเซเรนเกตี ในแทนซาเนีย และพบได้ที่อุทยานแห่งชาติอีโตซา ในนามิเบีย รวมถึงอุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ในแอฟริกาใต้ โดยจะอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าที่มีพุ่มไม้หนามแหลมเพื่อป้องกันตัว หรือเขตที่ติดต่อกับทะเลทราย เช่น ทะเลทรายคาลาฮารี รวมถึงอาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเปิดโล่งด้วย[2]

สตีนบอก มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขายาวเพียง 10–17.5 เซนติเมตร แต่มีความแหลมคม ตัวเมียไม่มีเขา แต่มีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย กินอาหารได้แก่ ใบไม้แทบทุกชนิด, ผลไม้จำพวกเบอร์รีต่าง ๆ ตลอดจนหญ้าสั้นที่เบ่งบานในช่วงฤดูฝน[3]

สตีนบอก ตกเป็นอาหารของสัตว์นักล่าขนาดใหญ่ เช่น เสือดาว, เสือชีตาห์, หมาป่า, แมวป่า, อินทรีหรือเหยี่ยวขนาดใหญ่, ลิงบาบูน และงูเหลือม[3]

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย ได้แก่:[4][5]

  • R. c. campestris: พบในแอฟริกาใต้
  • R. c. naumanni: พบในแอฟริกาตะวันออก

(โดยในบางข้อมูลจัดให้มี 4 ชนิด คือ capricornis และ kelleni เพิ่มขึ้นมา[5])

อ้างอิง[แก้]

  1. IUCN SSC Antelope Specialist Group. Raphicerus campestris. In: IUCN 2014.3. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2014.3. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 20 April 2013.
  2. Kingdon, Jonathan. 1997. The Kingdon Field Guide to African Mammals. Academic Press, San Diego & London. Pp. 387–388. (ISBN 0-12-408355-2)
  3. 3.0 3.1 ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 240 หน้า. หน้า 45. ISBN 978-616-90508-0-3
  4. Matthee, Conrad A.; Scott K. Davis (2001). "Molecular Insights into the Evolution of the Family Bovidae: A Nuclear DNA Perspective" (PDF). Molecular Biology and Evolution. Society for Molecular Biology and Evolution. 11 (7): 1220–1230. PMID 11420362. สืบค้นเมื่อ 2007-06-17.
  5. 5.0 5.1 Grubb, P. (2005). "Order Artiodactyla". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 688. ISBN 978-0-8018-8221-0.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Raphicerus campestris ที่วิกิสปีชีส์