สติเยปาน เมซิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สติเยปาน เมซิช
เมซิชในปี พ.ศ. 2555
ประธานาธิบดีแห่งโครเอเชียคนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 – 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
นายกรัฐมนตรีอีวีกา ราชาน
อีวอ ซานาเดีย
ยาดรานกา กอซอ
ก่อนหน้าฟราโญ ตุจมัน
ซลาดกอ ทอมซิช (รักษาการ)
ถัดไปอีวอ ยอซิปอวิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 ธันวาคม พ.ศ. 2477 (89 ปี)
ออราฮอวีซา, ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
(ปัจจุบันอยู่ใน ประเทศโครเอเชีย)
พรรคการเมืองอิสระ (2543–ปัจจุบัน)[1]
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งโครเอเชีย (2498–2533)
พรรคสหภาพประชาธิปไตยโครเอเชีย (2533–2537)
พรรคประชาธิปไตยอิสรนิยม (2537–2540)
พรรคประชาชนโครเอเชีย (2540–2543)
คู่สมรสมิลกา เมซิช
บุตร2 คน[2]
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยซาเกร็บ
วิชาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อ

สติเยปาน เมซิช (โครเอเชีย: Stjepan Mesić; 24 ธันวาคม พ.ศ. 2477 –) เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวโครเอเชียซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่สองของโครเอเชียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปี พ.ศ. 2553 ก่อนหน้านี้เขาเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย ประธานาธิบดีคนสุดท้ายของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เลขาธิการขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด หลังโครเอเชียได้รับเอกราชเขายังดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภาโครเอเชียตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2537 รวมทั้งยังเป็นผู้พิพากษาที่นาชีเชและนายกเทศมนตรีเมืองออราฮอวิชาซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา[3]

เมซิชเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชียในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 จากนั้นได้เว้นว่างงานการเมืองเป็นเวลานานจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2533 เขาได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชียในนามพรรคสหภาพประชาธิปไตยโครเอเชีย และยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียก่อนล่มสลายใน พ.ศ. 2534 หลังจากการล่มสลายของยูโกสลาเวีย เขาได้รับเลือกให้เป็นประธานรัฐสภาโครเอเชีย ก่อนจะลาออกจากพรรคสหภาพประชาธิปไตยโครเอเชียเพื่อจัดตั้งพรรคประชาธิปไตยอิสรนิยมแห่งโครเอเชีย ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2540 สมาชิกพรรคดังกล่าวจะรวมกับพรรคประชาชนโครเอเชีย[4]

หลังการถึงแก่อสัญกรรมของฟราโญ ตุจมันในปี พ.ศ. 2542 เขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีคนที่สองของโครเอเชียในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 เขาเป็นประธานาธิบดีโครเอเชียคนสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดีก่อนที่จะมีการเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาโดยลดอำนาจของประธานาธิบดีลง ต่อมาเขาได้รับการเลือกตั้งกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2548 ในวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของเขาเป็นช่วงที่เขาได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนโครเอเชียมากที่สุด[5][6]จากการสำรวจความคิดเห็นโดยสื่อภายในประเทศ[7][8]

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 เมซิชเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร[9] และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "41 7.5.2001 Ustav Republike Hrvatske (pročišćeni tekst)". Narodne-novine.nn.hr. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2013.
  2. "Unuka Sara je trudna: Stjepan Mesić (79) će postati pradjed". 24sata. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013.
  3. "Stipe Mesić profile". Moljac.hr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2013.
  4. url=https://www.youtube.com/watch?v=9w2PMEWh6EM
  5. Robert Bajruši (9 December 2003). "Stjepan Mesić i dalje najpopularniji političar" [Stjepan Mesić still the most popular politician]. Nacional (weekly) (ภาษาโครเอเชีย). No. 421. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กรกฎาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2019.
  6. "Najpopularniji Mesić i HDZ, Vladi prosječno trojka". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2005. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007.
  7. "The page cannot be found". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2007.
  8. "Dalmacija vjeruje HDZ-u i Mesiću". Slobodna Dalmacija. 18 มีนาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2007. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2007.
  9. 9.0 9.1 สาธารณรัฐโครเอเชีย - กระทรวงการต่างประเทศ