สตานิสลาฟ เปตรอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตานิสลาฟ เปตรอฟ
เปตรอฟ ในปี 2016
เกิดสตานิสลาฟ เยฟกราโฟวิช เปตรอฟ
7 กันยายน ค.ศ. 1939(1939-09-07)
วลาดีวอสตอค, สหภาพโซเวียต
(ปัจจุปันเป็น วลาดีวอสตอค, รัสเซีย)
เสียชีวิต19 พฤษภาคม ค.ศ. 2017(2017-05-19) (77 ปี)
Fryazino, รัสเซีย
มีชื่อเสียงจาก1983 เหตุการณ์เตือนภัยนิวเคลียร์เท็จของสหภาพโซเวียต
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สหภาพโซเวียต
แผนก/สังกัดกองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต
ชั้นยศ นาวาอากาศโท

สตานิสลาฟ เยฟกราโฟวิช เปตรอฟ (รัสเซีย: Станислав Евграфович Петров) เป็นนาวาอากาศโทเกษียณของกองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต ผู้เบี่ยงเบนไปจากระเบียบการของโซเวียตตามปกติโดยสามารถระบุการเตือนภัยการโจมตีด้วยขีปนาวุธว่าเป็นสัญญาณหลอกได้อย่างถูกต้องเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2526[1] การตัดสินใจดังกล่าวอาจช่วยป้องกันการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ตอบโต้สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรตะวันตกจากความเข้าใจผิด การสืบสวนระบบเตือนภัยดาวเทียมยืนยันว่า ระบบทำงานผิดพลาด

เหตุการณ์[แก้]

มีหลายรายงานว่าเปตรอฟได้รายงานการเตือนภัยดังกล่าวต่อผู้บังคับบัญชาหรือไม่ และตั้งคำถามถึงส่วนการตัดสินใจของเขาในการป้องกันสงครามนิวเคลียร์ เพราะ ตามข้อมูลของผู้แทนถาวรแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย การตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์นั้นมีรากฐานจากหลายแหล่งข้อมูลซึ่งยืนยันว่ามีการโจมตีจริง[2] อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามีข้อบกพร่องในระบบเตือนภัยล่วงหน้าของโซเวียต เปตรอฟยืนยันว่าเขาไม่ได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษจากการกระทำดังกล่าว[3]

หากเปตรอฟรายงานว่ามีขีปนาวุธสหรัฐเข้ามา ผู้บังคับบัญชาของเขาอาจเริ่มปฏิบัติการโจมตีต่อสหรัฐอเมริกา และกระตุ้นให้สหรัฐอเมริกาตอบโต้ด้วยนิวเคลียร์เช่นเดียวกัน เปตรอฟประกาศว่าการบ่งชี้ของระบบเป็นสัญญาณหลอก ภายหลัง เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเขาถูก ไม่มีขีปนาวุธเข้ามา และระบบตรวจจับคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด มีการพิจารณาต่อมาว่า สัญญาณหลอกดังกล่าวเกิดขึ้นจากการวางแนวที่เกิดขึ้นน้อยของแสงแดดต่อเมฆระดับสูง และวงโคจรดาวเทียมมอลนิยา อันเป็นข้อผิดพลาดซึ่งภายหลังได้รับการแก้ไขโดยการอ้างดาวเทียมค้างฟ้าที่[4]

เปตรอฟภายหลังชี้ว่าอิทธิพลในการตัดสินใจครั้งนี้ประกอบด้วย ข่าวที่เขาได้รับแจ้งว่าการโจมตีของสหรัฐจะเป็นไปอย่างเต็มที่ ดังนั้น ขีปนาวุธห้าลูกจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่สมเหตุสมผล[1], ข้อเท็จจริงที่ว่าระบบตรวจจับการปล่อยนั้นยังใหม่ และในมุมมองของเขา ยังไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมด และเรดาร์ภาคพื้นดินไม่สามารถเก็บหลักฐานที่สอดคล้องกันได้ แม้จะล่าช้าออกไปหลายนาทีแล้วก็ตาม[5]

เปตรอฟถูกตั้งคำถามอย่างหนักโดยผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการกระทำของเขา ในตอนแรก เขาได้รับการสรรเสริญจากการตัดสินใจนี้[1] พลเอกยูรี โวตินต์เซฟ ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้บัญชาการหน่วยป้องกันขีปนาวุธของกองกำลังป้องกันทางอากาศโซเวียต คนแรกที่ได้ฟังรายงานของเปตรอฟเกี่ยวกับเหตุการณ์ (และเป็นคนแรกที่เปิดเผยต่อสาธารณะในคริสต์ทศวรรษ 1990) ระบุว่า "การกระทำที่ถูกต้อง" ของเปตรอฟนั้น "โดดเด่นอย่างเหมาะสม"[1] ตัวเปตรอฟเองระบุว่า ตอนแรกเขาได้รับการสรรเสริญโดยเวตินต์เซฟ และได้รับสัญญาว่าจะได้รับรางวัล[1][6] แต่เขาถูกตำหนิจากการยื่นคำร้องงานเอกสารอย่างไม่เหมาะสม ด้วยเขาไม่ได้อิทธิพลเหตุการณ์ดังกล่าวในอนุทินทางทหาร[6][7]

เขาไม่ได้รับรางวัล ตามคำบอกของเปตรอฟ นี่เป็นเพราะเหตุการณ์ดังกล่าวและข้อผิดพลาดอื่นที่พบในระบบตรวจจับขีปนาวุธได้สร้างความอับอายแก่ผู้บังคับบัญชาของเขาและนักวิทยาศาสตร์ทรงอิทธิพลผู้รับผิดชอบต่อระบบดังกล่าว ดังนั้น หากเขาได้รับรางวัลอย่างเป็นทางการ พวกเขาทั้งหมดก็จะถูกลงโทษ[1][3][6][7] เขาถูกมอบหมายให้ไปทำหน้าที่ในตำแหน่งที่มีความละเอียดอ่อนน้อยกว่า[7] เกษียณอายุล่วงหน้า (แม้เขาจะย้ำว่าเขามิได้ถูก "บีบให้ออก" จากกองทัพ ดังในกรณีที่เสนอโดยแหล่งข้อมูลตะวันตกบางแห่ง)[6] และประสบกับความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ[7]

เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเปตรอฟเป็นที่รู้จักแก่สาธารณะในคริสต์ทศวรรษ 1990 ตามการตีพิมพ์บันทึกความทรงจำของพลเอกโวตินต์เซฟ การรายงานสื่ออย่างกว้างขวางนับแต่นั้นได้เพิ่มความตระหนักรู้ของสาธารณะต่อการกระทำของเปตรอฟ

เปตรอฟ เสียชีวีตในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ด้วยโรคปอดอักเสบจากเสมหะคั่ง (hypostatic pneumonia) การเสียชีวีตของเขายังไม่ถูกเปิดเผยจนกระทั่งมีการเปิดเผยในเดือนกันยายน[8][9][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "The Man Who Saved the World Finally Recognized". Association of World Citizens. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2007-06-07.
  2. Press Release. "Permanent Mission of the Russian Federation to the United Nations" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-11. สืบค้นเมื่อ 2011-09-25.
  3. 3.0 3.1 В Нью-Йорке россиянина наградили за спасение мира. Lenta.ru (in Russian)
  4. Molniya orbit
  5. David Hoffman (February 10, 1999). "I Had A Funny Feeling in My Gut". Washington Post.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Тот, который не нажал. Moskovskiye Novosti (in Russian)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 BBC TV Interview, BBC Moscow correspondent Allan Little, October 1998
  8. "Stanislav Petrov, 'The Man Who Saved The World,' Dies At 77". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.
  9. "'I was just doing my job': Soviet officer who averted nuclear war dies at age 77". RT. 17 September 2017. สืบค้นเมื่อ 17 September 2017.
  10. "Stanislav Petrov, who averted possible nuclear war, dies at 77". BBC. 19 September 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.