ข้ามไปเนื้อหา

ความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ (อังกฤษ: mental breakdown หรือ nervous breakdown) เป็นศัพท์ที่มิใช่ศัพท์ทางการแพทย์ อธิบายความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและในระยะเวลาจำกัด โดยมากแล้วแสดงออกมาด้วยความหดหู่หรือกระวนกระวาย[1]

นิยาม

[แก้]

ความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจมิได้ถูกนิยามอย่างเป็นทางการผ่านระบบการวินิจฉัยโรค อย่างเช่น DSM-IV หรือ ICD-10 และใกล้จะหายไปจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับจิตเภท[1][2] แม้ว่า "ความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ" ไม่จำเป็นต้องมีนิยามเข้มงวดหรือคงที่ การสำรวจบุคคลทั่วไปเสนอว่า คำดังกล่าวหมายความถึงความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเฉียบพลันภายในเวลาจำกัด ซึ่งรวมไปถึงอาการแสดงอย่างความกระวนกระวายหรือหดหู่ โดยทั่วไปแล้วถูกเร่งให้เกิดขึ้นจากสิ่งเร้าให้เกิดความเครียดภายนอก[1]

บางกรณีจะถูกใช้ว่า "ความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ" เฉพาะเมื่อบุคคลไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เพราะยากที่จะปรับตัว[3]

สาเหตุ

[แก้]

สาเหตุของความเจ็บป่วยดังกล่าวนั้นหลากหลาย การศึกษาใน ค.ศ. 1996 พบว่า ปัญหากับความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เช่น การหย่าร้างหรือการแยกกันอยู่ เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจมากถึง 24%[4] ปัญหาจากที่ทำงานและโรงเรียนเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บป่วย 17% ของกรณีทั้งหมด และปัญหาทางการเงินเป็น 11% การสำรวจเสนอว่า ในสหรัฐอเมริกา ปัญหาสุขภาพมีความสำคัญในการเป็นเหตุให้เกิดความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจลดลง จากเดิมที่คิดเป็น 28% ใน ค.ศ. 1957 ลดเหลือ 12% ใน ค.ศ. 1976 และเพียง 5.6% ใน ค.ศ. 1996[4] แม้ในหมู่พวกเขาเอง ความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจถูกมองว่าเป็น "ปัญหาสุขภาพ" โดยผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Rapport LJ, Todd RM, Lumley MA, Fisicaro SA. 'The diagnostic meaning of "nervous breakdown" among lay populations.' J Pers Assess. 1998 Oct;71(2):242-52.
  2. Mayo Clinic Mental Breakdown
  3. Hallowell, Edward M & John Ratey. 2005. Delivered from Distraction: Getting the Most out of Life with Attention Deficit Disorder. Ballentine Books. ISBN 0-345-44231-8
  4. 4.0 4.1 Swindle R Jr, Heller K, Pescosolido B, Kikuzawa S. "Responses to nervous breakdowns in America over a 40-year period. Mental health policy implications" Am Psychol. 2000 Jul;55(7):740-9.