สกุลโพ
สกุลโพ | |
---|---|
โพ (Ficus religiosa) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
เคลด: | โรสิด |
อันดับ: | กุหลาบ |
วงศ์: | วงศ์ขนุน |
เผ่า: | Ficeae |
สกุล: | โพ |
ชนิด | |
|
สกุลโพ-ไทร-มะเดื่อ เป็นสกุลของไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Ficus
บางชนิดอาจขึ้นเป็นไม้พุ่มหรือไม้เถา ขึ้นบนดินหรือกึ่งอิงอาศัย โดยมีรากเกาะอาศัยต้นไม้อื่นแล้วเจริญโอบรัดต้นไม้ที่เกาะลักษณะคล้ายกาฝาก แยกเพศร่วมต้นหรือต่างต้น ส่วนต่าง ๆ มีน้ำยาง หูใบหุ้มตาใบชัดเจน กิ่งมีรอยแผลหูใบเป็นวงรอบข้อ ใบเดี่ยว ส่วนมากเรียงเวียนหรือเรียงสลับในระนาบเดียวกัน เแผ่นใบด้านล่างส่วนมากมีต่อมไขตามโคนเส้นใบใกล้ฐานใบ บางครั้งมีซิสโทลิท ดอกขนาดเล็กจำนวนมากเรียงแน่นอยู่ภายในฐานรองดอกที่โอบหุ้มดอกทั้งหมดไว้ภายใน หรือ ซิทโอเนียม หรือฟิก โดยมีช่องเปิด ส่วนใหญ่มีใบประดับที่โคน ดอกเพศผู้ กลีบรวมส่วนมากมี 2-6 กลีบ แยกกันหรือติดกัน หรือไม่มีกลีบรวม เกสรเพศผู้ 1-5 อัน ดอกเพศเมียก้านยาว กลีบรวมส่วนมากมี 3-5 กลีบ แยกกันหรือติดกัน ยอดเกสรเพศเมีย 2 อัน แยกกันหรือติดกัน ดอกที่เป็นหมันเป็นปม ก้านเกสรเพศเมียสั้น เป็นที่อยู่ของแมลงขนาดเล็ก บางชนิดมีดอกแบบไม่มีเพศ คือไม่มีทั้งเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมีย ลักษณะเฉพาะนี้มีความสัมพันธ์กับแมลงในลักษณะพึ่งพากัน ชนิดของแมลงมีความเฉพาะกับไทรแต่ละชนิด ผลขนาดเล็ก คล้ายผลมีผนังชั้นในแข็งหรือผลแห้งเมล็ดล่อน เมล็ดมีเอนโดสเปิร์ม
ไม้ที่อยู่ในสกุลนี้มีมากกว่า 800 ชนิดทั่วโลก (แบ่งออกได้เป็น 6 สกุลย่อย[1]) ส่วนใหญ่กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อน พบในประเทศไทยประมาณ 115 ชนิด มีประมาณ 7-8 ชนิดที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ซึ่งคนไทยมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าไม้เหล่านี้เป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สิงสถิตย์ของเทพารักษ์หรือนางไม้ เป็นไม้มงคล นำมาสู่คึวามร่มเย็นหรือโชคลาภแก่ผู้ปลูก เช่น โพ (F. religiosa), ไทร (F. benjamina) ส่วนที่นำมาปลูกเพื่อใช้รับประทานผล ได้แก่ มะเดื่อ (F. carica) ที่มีคุณค่าทางสารโภชนาการสูงมาก, มะเดื่อชุมพร (F. racemosa) เป็นต้น[1] [2] [3]
อีกทั้งยังเป็นอาหารหลักของสัตว์และนกหลายชนิด เช่น นกเงือก[4], นกโพระดก ด้วย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ไทร, สกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
- ↑ นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะเดื่อฝรั่ง ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า149
- ↑ "ไม้มงคล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-14.
- ↑ "ผลไม้ป่า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-26. สืบค้นเมื่อ 2012-11-15.
- ↑ หมาในกับลูกกวาง จากสารคดี
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ficus ที่วิกิสปีชีส์