ปลาอะโรวานาอเมริกาใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาอะโรวานาอเมริกาใต้
Osteoglossum bicirrhosum
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลาลิ้นกระดูก
วงศ์: วงศ์ปลาตะพัด
สกุล: ปลาอะโรวานาอเมริกาใต้
Cuvier, 1829
ชนิด

2, ดูข้อความ

ปลาอะโรวาน่าอเมริกาใต้ หรือ ปลาตะพัดอเมริกาใต้ (อังกฤษ: Arowana, Amazon arowana) เป็นสกุลปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ในอันดับ Osteoglossiformes ใช้ชื่อสกุลว่า Osteoglossum (/ออส-ที-โอ-กลอส-ซั่ม/) มีความยาวถึงประมาณ 1 เมตร (3.3 ฟุต) และจำกัดอยู่ในแหล่งน้ำจืดในทวีปอเมริกาใต้บริเวณเขตร้อน[1][2]

มีรูปร่างเพรียวยาวกว่าปลาอะโรวาน่าในสกุล Scleropages ที่พบในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และออสเตรเลีย โดยมีส่วนต่างกันที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ ส่วนหางที่เรียวเล็กกว่าโดยเฉพาะครีบหาง ปากมีความกว้างกว่า และหนวด 1 คู่ที่ใต้คางนั้นเรียวยาวกว่า ครีบหลังเรียวเล็กกว่าและเป็นทางยาวไปแทบตลอดส่วนหลัง มีสีสันลำตัวเป็นสีเดียวทั้งตัว โดยไม่มีเหลือบสีแบบปลาในสกุล Scleropages มีก้านครีบหลัง 43-48 ก้าน ครีบก้นยาวกว่าครีบหลัง มีก้านครีบ 53-57 ก้าน

โดยปลาในสกุลนี้มีวิวัฒนาการเป็นของตนเองแยกมาจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน เมื่อกว่า 170 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูราสสิคตอนกลาง[3]

สำหรับพฤติกรรมของปลาอะโรวาน่าในสกุลนี้จะคล้ายกับสกุล Scleropages ทั้งพฤติกรรมการหาและกินอาหาร รวมทั้งพฤติกรรมการผสมพันธุ์และวางไข่ แต่ทว่ากลับมีอุปนิสัยที่ดุร้ายก้าวร้าวน้อยกว่า จนสามารถอยู่เป็นฝูงใหญ่ได้มากกว่า อีกทั้งในชนิด O. bicirrhosum ยังเป็นชนิดที่เติบโตได้เร็วกว่า และแพร่ขยายพันธุ์ได้ง่ายที่สุดอีกด้วย[4]

จึงทำให้นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยถือเป็นปลาอะโรวาน่าที่มีราคาขายค่อนข้างถูก

ชนิด[แก้]

ปลาสกุลนี้มี 2 ชนิด:[2]

ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ที่อยู่อาศัย
Osteoglossum bicirrhosum Cuvier (ex Vandelli), 1829 Silver arowana ลุ่มน้ำแอมะซอน, Essequibo และ Oyapock
Osteoglossum ferreirai Kanazawa, 1966 Black arowana ลุ่มน้ำ Rio Negro รวมแม่น้ำ Branco

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Olivares; Hrbek; Escobar; Caballero (2013). "Population structure of the black arowana (Osteoglossum ferreirai) in Brazil and Colombia: implications for its management". Conserv. Genet. 14 (3): 695–703. doi:10.1007/s10592-013-0463-1. S2CID 16841836.
  2. 2.0 2.1 Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2017). Species of Osteoglossum in FishBase. February 2017 version.
  3. Kumazawa, Yoshinori (2003). "The reason the freshwater fish arowana live across the sea". Quarterly Journal Biohistory (Winter). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2006-07-02.
  4. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 5-6. ISBN 974-00-8701-9