ข้ามไปเนื้อหา

สกุลทิลาเพีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สกุลทิลาเพีย
ปลาทิลาเพียสี (T. sparrmanii)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Cichlidae
วงศ์ย่อย: Pseudocrenilabrinae
เผ่า: Tilapiini
สกุล: Tilapia
Smith, 1840
ชนิด
4 ชนิด (ดูในเนื้อหา)
ชื่อพ้อง
  • Chromis Günther, 1862 (ไม่ใช่ Cuvier, 1814)

สกุลทิลาเพีย เป็นสกุลของปลาน้ำจืด ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichildae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tilapia (/ทิลาเพีย/) [1]

ประวัติ

[แก้]

ปลาสกุลนี้เป็นสกุลใหญ่ พบกระจายพันธุ์เฉพาะทวีปแอฟริกา เดิมถูกตั้งชื่อโดยแอนดรูว์ สมิท ในปี ค.ศ. 1840 ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 จอร์จ อัลเบิร์ต บุลเลเยอร์ ได้ทำการปรับปรุงขึ้นมาใหม่ โดยรวมปลาชนิดอื่น ๆ เข้ามารวมกัน แต่ต่อมาได้มีการแยกเป็นสกุลต่าง ๆ ออกมาใหม่ โดย อีเทลเวนน์ เทรวาวาส ในปี ค.ศ. 1983

ปลาในสกุลนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในสกุล Oreochromis หรือปลานิล และSarotherodon และมีลักษณะทางโครโมโซมและพันธุกรรมคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันตรงที่สกุล Tilapia เป็นปลาที่วางไข่ติดกับวัสดุในน้ำเป็นกลุ่มรวมกัน[2] [1] มีการสร้างรัง แต่ไม่มีพฤติกรรมการอมไข่และดูแลลูกปลาเหมือนปลาในสองสกุลนั้น[3]

การจำแนก

[แก้]

เดิมทีปลาในสกุลนี้ได้ถูกจำแนกไว้มากมาย โดยมีชื่อเรียกสามัญรวม ๆ กันว่า "ปลาทิลาเพีย" (ซึ่งรวมถึงสกุล Oreochromis และSarotherodon) แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการแยกออกจากกันเมื่อปี ค.ศ. 2013 ทำให้ปลาในสกุลทิลาเพียเหลือเพียงแค่ 4 ชนิด ดังนี้[4]

และที่ยังคงไว้ในสกุลนี้อยู่ แต่อาจเป็นไปได้ว่าอยู่ในสกุลอื่น:[4]

  • "Tilapia" brevimanus Boulenger, 1911 – ใกล้เคียงกับ "Steatocranus" irvinei (โดยไม่เกี่ยวกับชนิดอื่นของ Steatocranus) และ Gobiocichla
  • "Tilapia" busumana (Günther, 1903) – ใกล้เคียงกับ "Steatocranus" irvinei (โดยไม่เกี่ยวกับชนิดอื่นของ Steatocranus) และ Gobiocichla
  • "Tilapia" pra Dunz & Schliewen, 2010 – ใกล้เคียงกับ "Steatocranus" irvinei (โดยไม่เกี่ยวกับชนิดอื่นของ Steatocranus) และ Gobiocichla

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 160. ISBN 974-00-8738-8
  2. "ความสัมพันธุ์ทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลของปลาในกลุ่มปลานิล 3 สกุล (Tilapia, Sarotherodon และ Oreochromis) โดยใช้ข้อมูลอัลโลไซม์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-29. สืบค้นเมื่อ 2012-08-17.
  3. การจัดการทางโภชนาการสำหรับการเลี้ยงปลานิล Nutritional Management for Culturing Nile Tilapia (Oreochromis niloticus)
  4. 4.0 4.1 Dunz, A.R., and Schliewen, U.K. (2013). Molecular phylogeny and revised classification of the haplotilapiine cichlid fishes formerly referred to as “Tilapia”. Molecular Phylogenetics and Evolution, online 29 March 2013. doi:10.1016/j.ympev.2013.03.015

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tilapia ที่วิกิสปีชีส์