ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดร. ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ เกิดเมื่อ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ที่ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นนักเขียนเรื่องสั้น เรื่อง คนเถื่อน และเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรท์ ประเภท เรื่องสั้น ปี 2536[1]

อ.ศุภชัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ปร.ด. ไทศึกษา (Tai Studies) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปริญญาโท กศ.ม.ศิลปศึกษา มศว.ประสานมิตร ปริญญาตรี กศ.บ. ศิลปศึกษา มศว.มหาสารคาม และระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูง (ปก.ศ.สูง) สาขาศิลปศึกษา วิทยาลัยครูบุรีรัมย์

ปัจจุบันเป็น รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 สังกัดสาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม


ผลงาน[แก้]

วรรณกรรมและสารคดี[แก้]

  • 2536 คนเถื่อน (รวมเรื่องสั้นเข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรท์ ปี 2536)
  • 2536 ใต้เงาอสูร (นวนิยายสะท้อนชีวิตศิลปินเพื่อชีวิตในประเทศไทย)
  • 2537 เพลงของเขา (เรื่องสั้นรางวัลสุภาว์ เทวากุล โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย)
  • 2541 มิตรภาพที่ชายป่า (วรรณกรรมเยาวชน ได้รับคัดเลือกเป็น หนังสืออ่านประกอบของนักเรียนระดับประถมศึกษา)
  • 2542 จะไปให้ถึงดวงดาว (รวมเรื่องสั้น ได้รับคัดเลือกเป็น ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนังสืออ่านประกอบของนักเรียนระดับประถมศึกษา)
  • 2546 ลาวตอนล่าง (โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค สกว )
  • 2548 มาดเกรียง : วิถีแห่งคนไพรและสายน้ำ (ชุดโครงการสารคดีชนเผ่าในอุษาคเนย์ ลำดับที่ 1)
  • 2553 พระบางเมืองมรดกโลก : ราชธานีแห่งความทรงจำและพื้นที่พิธีกรรมในกระแสโลกาภิวัตน์ (สำนักพิมพ์สายธาร)

ตำรา[แก้]

  • 2537 ทัศนศิลป์เพื่อชีวิตในประเทศไทย (สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์)
  • 2539 เกษมราษฎร์ กษัตริย์ผดุง ศาสน์รุ่ง เรืองอีสาน (มหาวิทยาลัยมหาสารคามพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในปีกาญจนาภิเษก 2539)
  • 2541 ศิลปนิยม
  • 2543 สุนทรียศาสตร์ในทัศนศิลป์
  • 2545 ชุมชนเครื่องปั้นดินเผา
  • 2546 ชุมชนผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ
  • 2546 ทัศนศิลป์ปริทัศน์
  • 2547 ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกฉบับสมบูรณ์[2]


เชิงอรรถ[แก้]

  1. "เว็บไซต์ "รางวัลซีไรต์ 2552 ". รายนามนักประพันธ์และรายชื่อวรรณกรรมที่เข้ารอบสุดท้ายรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย. เรียกข้อมูลวันที่ 5 ก.ค. 2553.
  2. ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ , ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกฉบับสมบูรณ์, สำนักพิมพ์ วาดศิลป์, 2547, หน้า 240 ISBN 974-9619-70-6