ศิวัช พงษ์เพียจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Profile photograph of Prof Dr. Siwatt

ศาสตราจารย์ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2517 (ปัจจุบันอายุ 49 ปี) ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรชายของ รองศาสตราจารย์เพทาย พงษ์เพียจันทร์ และ รองศาสตราจารย์พันทิพา พงษ์เพียจันทร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ขั้นสูง (เดิม เรียกว่า ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ หรือศาสตราจารย์ในระดับ 11) สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และเป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ เก็บถาวร 2017-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เก็บถาวร 2017-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1] นอกจากนั้น ดร.ศิวัช ยังเป็นนักวิจัยด้านมลพิษทางอากาศประจำ Institute of Earth Environment, Chinese Academy of Sciences (IEECAS) เมือง Xi’an ประเทศจี[2] และเป็นหนึ่งในคณะทำงานโครงการวิจัยขั้วโล[3]ก ในพระราชดำริฯ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี[4] ซึ่งเคยไปศึกษาวิจัยที่สถานี Great Wall บนเกาะ King George ทวีปแอนตาร์กติกา ในช่วงเดือนมกราคม 2559 

ศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช มีผลงานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจและวารสารวิชาการระดับนานาชาติ เช่น Atmospheric Environment,[5] Environmental Pollution,[5] Science of the Total Environment[5] รวมถึงได้รับเชิญเพื่อให้ความรู้เชิงวิชาการทางรายการตามสถานีโทรทัศน์ต่างๆ เช่น รายการช่วยคิดช่วยทำ[6] ฮาร์ดคอร์ข่าว สภาท่าพระอาทิตย์[3] และสภากาแฟ เวทีชาวบ้าน[5]

การศึกษา[แก้]

ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จากนั้น ดร.ศิวัชได้รับทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 11 ปี[7] โดยได้ศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยโตเกียวกัคคุเง และศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีและโทที่มหาวิทยาลัยฮอกไกโด สาขาวิชาสมุทรศาสตร์และเคมีสิ่งแวดล้อม ดร.ศิวัชสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและภูมิศาสตร์ หลังจากนั้นได้รับทุน Postdoc เพื่อศึกษาต่อด้าน Source Apportionment of Air Pollutants ที่ Hong Kong Polytechnic University ภายใต้การสนับสนุนจาก UNESCO เป็นเวลาหนึ่งปี นอกจากนั้น ดร.ศิวัชได้รับทุน Postdoc จาก Chinese Academy of Sciences เพื่อศึกษาต่อด้าน Carbonaceous Aerosols ที่ IEECAS เป็นระยะเวลาสามปี

การทำงาน[แก้]

ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ เริ่มสอนหนังสือที่คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปีพ.ศ. 2549 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตำแหน่งศาสตราจารย์[8] ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ในขณะดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1] หรือนิด้า

ปัจจุบัน ศ. ดร. ศิวัช ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะฯ และอนุกรรมการด้านวิชาการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 http://ssde.nida.ac.th/index.php/th/persional/อาจารย์ประจำ/45-รศ-ดร-ศิวัช-พงษ์เพียจันทร์[ลิงก์เสีย] สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
  2. http://www.klacp.ac.cn/en/gn/201512/t20151222_320321.html สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
  3. 3.0 3.1 https://www.youtube.com/watch?v=Dado5W3dKG0 สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
  4. http://www.princess-it.org/index.php/activity-st/41-activitly-polar/activity-sorth-polar/114-activity-south-polar01[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 http://www.pongpiachan.com/publication/ สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
  6. http://www.krobkruakao.com/rerun/10/98861[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
  7. http://www.ojsat.or.th/main/attachments/article/325/june.pdf[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
  8. http://www.ops.moe.go.th/home/index.php?option=com_content&view=article&id=6936:2016-04-04-02-46-50&catid=53:2014-10-07-06-57-22[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๐๗, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔