ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาอิสลามในประเทศโอมาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
<div style="border:solid transparent;position:absolute;width:100px;line-height:0;

ศาสนาอิสลามในประเทศโอมาน (ประมาณ ค.ศ. 2020)[1]

  ซุนนี (45%)
  อื่น ๆ (>1%)
จดหมายของท่านศาสดาต่อทวิกษัตริย์แห่งโอมาน
ประชากรโอมานแบ่งตามนิกาย  อิบาฎียะฮ์   ซุนนี   ชีอะฮ์ 

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศโอมานที่นำเข้าในช่วงชีวิตของมุฮัมมัดเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ท่านแต่งตั้งให้อัมร์ อิบน์ อัลอาศเป็นผู้ว่าการจนกระทั่งมุฮัมมัดเสียชีวิตใน ค.ศ. 632 อัมร์กับซะอีด อิบน์ เอาส์ อัลอันศอรีส่งจดหมายของมุฮัมมัดไปยังพี่น้องอัลญูลันดา ผู้ปกครองโอมาน เพื่อเชิญชวนให้เข้ารับอิสลาม ปัจจุบัน ประชากรโอมานร้อยละ 85.9 นับถือศาสนาอิสลาม โดยแบ่งเป็นผู้นับถือนิกายซุนนีเกือบมากกว่าร้อยละ 45 และประมาณร้อยละ 45 นับถือนิกายอิบาฎียะฮ์ ส่วนร้อยละ 5 นับถือนิกายชีอะฮ์[2][3]

ประวัติ

[แก้]

ศาสนาอิสลามกระจายเข้าโอมานอย่างสันติสุขในช่วงต้นคริสต์ศตศวรรษที่ 7 ตอนแรกประเทศโอมานนับถือนิกายซุนนีที่ได้รับอิทธิพลจากคำสอนของอัมร์ อิบน์ อัลอาศ[4] ภายหลังนิกายอิบาฎียะฮ์ สาขาหนึ่งของเคาะวาริจญ์ สถาปนาตนเองในโอมานหลังหลบหนีจากบัสราในประเทศอิรักปัจจุบัน รัฐอิบาฎียะฮ์แรกสถานปนาขึ้นในโอมานเมื่อ ค.ศ. 750 ในช่วงเปลี่ยนผ่านหลังการล่มสลายของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ แต่ตกเป็นของรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ใน ค.ศ. 752 รัฐอิบาฎีอีกแห่งก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 793 จนกระทั่งฝ่ายอับบาซียะฮ์ยึดครองกลับใน ค.ศ. 893[5] ในศตวรรษต่อมา ได้มีการฟื้นฟูรัฐอิหม่ามอิบาฎียะฮ์ขึ้นในยุคปัจจุบัน และยังคงอยู่ในโอมาน รวมถึงราชวงศ์ด้วย ราชาธิปไตยในปัจจุบันที่โค่นล้มรัฐอิหม่ามอิบาฎี ก็อยู่ในนิกายอิบาฎียะฮ์ด้วย[6]

นิกาย

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Oman". CIA The World Factbook. 22 May 2024.
  2. "Country Summary", The World Factbook (ภาษาอังกฤษ), Central Intelligence Agency, สืบค้นเมื่อ 2024-06-02
  3. "Oman". United States Department of State (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-06-27.
  4. "History of Oman". www.historyworld.net. สืบค้นเมื่อ 2024-06-02.
  5. Hawley, Donald (1970). The Trucial States (ภาษาอังกฤษ). Ardent Media. ISBN 978-0-04-953005-8.
  6. "The Jebel Akhdar War Oman 1954-1959". www.globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2024-06-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]