ศาลวนวิหาร

พิกัด: 23°25′34″N 91°08′14″E / 23.426234°N 91.1372098°E / 23.426234; 91.1372098
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลวนวิหาร
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
শালবন বিহার
ซากของศาลวนวิหาร
ที่ตั้งอำเภอกุมิลลา แขวงจิตตากง ประเทศบังกลาเทศ
พิกัด23°25′34″N 91°08′14″E / 23.426234°N 91.1372098°E / 23.426234; 91.1372098
สร้างเมื่อศตวรรษที่ 7
ศาลวนวิหารตั้งอยู่ในประเทศบังกลาเทศ
ศาลวนวิหาร
ตำแหน่งที่ตั้งศาลวนวิหารในประเทศบังกลาเทศ

ศาลวนวิหาร (เบงกอล: শালবন বিহার Shalban Bihar) เป็นแหล่งโบราณคดีในมอินมตี อำเภอกุมิลลา ประเทศบังกลาเทศ[1] ซากของศาลวนวิหารเป็นซากของอดีตวิหารพุทธแบบปาหาฑปุระ สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 7 ประกอบด้วยกุฏิสงฆ์ 115 ห้อง และใช้งานเรื่อยมาถึงศตวรรษที่ 12[2][3] การขุดค้นทางโบราณคดีที่ศาลวนวิหารพบโบราณวัตถุอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 7-12[1]

วิหารนี้ตั้งขึ้นโดย ภพเทพ (Bhava Deva) ผู้นำคนที่สี่ของจักรวรรดิเทพตอนต้น บนพื้นที่ขนาด 168 ตารรงเมตร ที่ในเวลานั้นเป็นย่านชานเมืองของนครเทพบรรพต (Devaparvata) ราชธานีชองสมตตะ[4] ชื่อในอดีตของพื้นที่นี้คือ ศาลวนราชรวรี (Shalban Rajar Bari) ซึ่งแปลว่าที่พำนักของกษัตริย์ที่ศาลวน ก่อนที่ต่อมาจะเปลี่ยนเป็น ศาลวนวิหาร หลังการขึดพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เสนอว่าพื้นที่นี้เป็นวิหารพุทธมากกว่า

การขุดค้นทางโบราณคดีค้นพบว่าศาลวนวิหารมีการสร้างใหม่สี่ระยะ โดยระยะแรกสุดตรงกับสมัยที่สาม ซึ่งเป็นโครงสร้างกลางรูปกากบาท (cruciform central shrine) ไม่ปรากฏหลักฐานของอารามขากสมัยที่หนึ่งและสองหลงเหลืออยู่ (ศตวรรษที่ 7) ในสมัยที่สี่และห้า (ศตวรรษที่ 9–10) มีการสร้างชั้นใหม่และขยายอาณาเขตของวิหารออกไปจากวิหารเดิม ภายในห้องกุฏิมีสิ่งน่าสนใจสองประการที่ค้นพบ ได้แก่เตาไฟซึ่งน่าจะมีไว้ประกอบอาหารภายในกุฏิ และแท่นฐานทำจากอิฐประดับลายซึ่งน่าจะมีไว้เป็นแท่นบูชาส่วนบุคคล[5] วัตถุที่ขุดค้นได้จากศาลวนวิหาร เช่น จารึกทองแดงเจ็ดแผ่น, ประติมากรรมจากหิน ทองสัมฤทธิ์ และดินเผาเคลือบจำนวนมาก ตลอดจนวัตถุทองคำ 350 ชิ้น เป็นต้น[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 M Harunur Rashid (2012), "Shalvan Vihara", ใน Sirajul Islam and Ahmed A. Jamal (บ.ก.), Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.), Asiatic Society of Bangladesh
  2. Susan L. Huntington (1984). The "Påala-Sena" Schools of Sculpture. Brill. pp. 164–165. ISBN 90-04-06856-2.
  3. Kunal Chakrabarti; Shubhra Chakrabarti (2013). Historical Dictionary of the Bengalis. Scarecrow. pp. 285–286. ISBN 978-0-8108-8024-5.
  4. Husain, A.B.M; Mainamati.Devaparvata; PP.41.
  5. Husain, A.B.M; Mainamati.Devaparvata; p. 34.
  6. Husain, A.B.M; Mainamati.Devaparvata; p. 39.