ศักดิ์เกษม หุตาคม
ศักดิ์เกษม หุตาคม | |
---|---|
เกิด | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2529 (68 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
นามปากกา | อิงอร |
อาชีพ | นักเขียน นักแต่งเพลง |
คู่สมรส | เยาวนิจ เศวตศิลา |
ศักดิ์เกษม หุตาคม (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 - 21 ธันวาคม พ.ศ. 2529) นักเขียนนวนิยายรัก โศกนาฏกรรม และนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียง เจ้าของนามปากกา อิงอร ได้รับฉายาว่า นักเขียนปลายปากกาจุ่มน้ำผึ้ง [1]
ศักดิ์เกษม หุตาคม เกิดที่ตำบลพะวง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา อาศัยอยู่กับมารดาและยาย เพราะกำพร้าบิดาตั้งแต่เด็ก จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ สงขลา แล้วเข้ามาหางานทำที่กรุงเทพ พร้อมกับเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบอนุปริญญาเมื่อ พ.ศ. 2480 [2]
ช่วงเรียนอนุปริญญา ศักดิ์เกษมทำงานเป็นเสมียนที่กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ ได้ร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่รักการเขียน เช่น นายตำรา ณ เมืองใต้ สด กูรมะโรหิต เหม เวชกร วรรณสิทธิ์ ศิษย์เพาะช่าง ใช้เวลาว่างเขียนเรื่องสั้นรวมเล่มอ่านกันเอง ใช้ชื่อว่าชาวคณะ "ริ้วอักษร" ต่อมาได้เขียนส่งหนังสือพิมพ์ "ประชามิตร-สุภาพบุรุษ" ซึ่งศรีบูรพา เป็นบรรณาธิการ ใช้นามปากกา "อิงอร" ผลงานชิ้นแรกคือเรื่องสั้น "สิ่งที่เหลือ" ตีพิมพ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 และเริ่มมีชื่อเสียงจากเรื่องสั้น "นิทรา-สายัณห์" ซึ่งต่อมาถูกขยายให้ยาวขึ้น และรวมเล่มจำหน่ายในปี พ.ศ. 2488 [2]
ผลงาน
[แก้]ผลงานของอิงอรที่มีชื่อเสียง เช่น
- นิทรา-สายัณห์
- ดรรชีนาง
- ธนูทอง
- ช้องนาง
- โนรี
- บุหรงทอง
- ราชันย์ผู้พิชิต
- ริมฝั่งเนรัญชลา
- กลิ่นยี่โถแดง
- เกียรติศักดิ์ทหารเสือ
- มดแดง
- ปูจ๋า
- กบเต้น
- ไทยใหญ่ ฯลฯ
ล้วนได้รับความนิยม นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ละครเวที และละครโทรทัศน์
อิงอรยังมีผลงานประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียง เช่น
- รักเธอเสมอ
- ความหลังฝังใจ
- ดรรชนีไฉไล
- หนาวตัก
- เดือนต่ำดาวตก
- ภูมิพลมหาราช
โดยได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากเพลง
ศักดิ์เกษม หุตาคม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2529 อายุ 68 ปี ด้วยโรคหัวใจ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฉายา นักเขียนปลายปากกาจุ่มน้ำผึ้ง[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4