วิทยาธารน้ำแข็ง
วิทยาธารน้ำแข็ง (อังกฤษ: Glaciology) เป็นศาสตร์เกี่ยวกับธารน้ำแข็ง น้ำแข็ง และปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกี่ยวกับน้ำแข็ง
วิทยาธารน้ำแข็ง เป็นสหวิทยาการของวิทยาศาสตร์โลกที่รวมเอา ธรณีฟิสิกส์ ธรณีวิทยา ภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีสัณฐานวิทยา ภูมิอากาศวิทยา อุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยา ชีววิทยา และ นิเวศวิทยา ผลกระทบของธารน้ำแข็งต่อชีวิตผู้คน รวมไปถึงสาขาวิชาของ ภูมิศาสตร์มนุษย์ และมานุษยวิทยา นอกนี้ยังมีวิชาเพิ่มขึ้นมาใหม่อย่างวิชา astroglaciology หลังมีการค้นพบน้ำแข็งนอกโลกเช่น น้ำแข็งบนดวงจันทร์ ดาวอังคาร ยูโรปาและดาวพลูโต[1]
ภาพรวม
[แก้]เนื้อหาของวิทยาธารน้ำแข็งจะครอบคลุมประวัติของธารน้ำแข็งและการจำลองการเกิดของธารน้ำในอดีต ธารน้ำแข็งเป็นผืนน้ำแข็งที่บริเวณกว้างที่ก่อตัวมาจากหิมะที่ตกลงมาและสะสมกันเป็นระยะเวลาหลายๆปี การเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็งจะช้ามากๆซึ่งอาจจะเป็นการเคลื่อนตัวลงจากภูเขาสูง เช่นในธารน้ำแข็งหุบเขา หรืออาจจะเป็นการเคลื่อนตัวออกจากจุดศูนย์กลางของการสะสมเช่นในธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป
วิทยาธารน้ำแข็งมักศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของธารน้ำแข็งในอดีต นักวิทยาธารน้ำแข็งเป็นชื่อของผู้ที่ทำการศึกษาศาสตร์นี้ นักวิทยาธารน้ำแข็งจะศึกษาการสะสมตัวและการกร่อนภูมิประเทศของธารน้ำแข็ง ศาสตร์นี้เป้นหัวข้อสำคัญของการวิจัยบริเวณขั่วโลก
ชนิด
[แก้]ธารน้ำแข็งสามารถแบ่งได้โดยรูปทรงเรขาคณิตและความสัมพันธ์กับภูมิประเทศโดยรอบ นักธารน้ำแข็งแบ่งธารน้ำแข็งออกเป็นสองชนิด: ธารน้ำแข็งแอล์ไพน์ มีลักษณะเป็นคล้ายแม่น้ำของน้ำแข็งที่เกิดจากการสะสมจะอยู่ในหุบเขา; และ ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป ที่การสะสมไม่ได้จำกัดเฉพาะในหุบเขาซึ่งครั้งหนึ่งเคยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปในซีกโลกเหนือ
- ธารน้ำแข็งแอล์ไพน์ – น้ำแข็งไหลลงมาตามหุบเขาและเคลื่อนตัวไปสู่ที่ราบด้านล่าง ธารน้ำแข็งแอล์ไพน์มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดภูมิประเทศที่มีความขรุขระมากและสามารถเปลี่ยนรูปลักษณะของภูมิประเทศได้ เช่น เกิดแอ่งเขาขนาดใหญ่คล้ายชาม
- ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป – พืดน้ำแข็งที่พบทุกวันนี้อยู่ในละติจูดสูงทั้งสิ้น (กรีนแลนด์/แอนตาร์กติกา) ครอบคลุมพื้นที่หลายพันตารางกิโลเมตรและหนาเป็นพันเมตร ธารน้ำแข็งประเภทนี้ทำให้ภูมิประเทศมีลักษณะราบเรียบ
การแบ่งเขตบนธารน้ำแข็ง
[แก้]- เขตของการสะสม (accumulation) เป็นพื้นที่ ๆ หิมะก่อตัวได้เร็วกว่าการละลาย
- เขตของการละลาย (ablation) เมื่อผลรวมการละลาย การหลุดตัวและการระเหยมากกว่าการสะสมตัวเพิ่มในแต่ละปี
- เส้นสมดุลหิมะ (snow line) เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่าง เขตของการสะสม และ เขตของการละลาย (เมื่อหิมะที่สะสมตัวเคลื่อนมาถึงเส้นนี้จะเริ่มมีการละลาย)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Richard S. Williams, Jr. (1987). "Annals of Glaciology, v.9" (PDF). International Glaciological Society. p. 255. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-03. สืบค้นเมื่อ 7 February 2011.
- Benn, Douglas I. and David J. A. Evans. Glaciers and Glaciation. London; Arnold, 1998. ISBN 0-340-58431-9
- Greve, Ralf and Heinz Blatter. Dynamics of Ice Sheets and Glaciers. Berlin etc.; Springer, 2009. ISBN 978-3-642-03414-5
- Hambrey, Michael and Jürg Alean. Glaciers. 2nd ed. Cambridge and New York; Cambridge University Press, 2004. ISBN 0-521-82808-2
- Hooke, Roger LeB. Principles of Glacier Mechanics. 2nd ed. Cambridge and New York; Cambridge University Press, 2005. ISBN 0-521-54416-5
- Knight, Peter G. Glaciers. Cheltenham; Nelson Thornes, 1999. ISBN 0-7487-4000-7
- Paterson, W. Stanley B. The Physics of Glaciers. 3rd ed. Oxford etc.; Pergamon Press, 1994. ISBN 0-08-037944-3
- van der Veen, Cornelis J. Fundamentals of Glacier Dynamics. Rotterdam; A. A. Balkema, 1999. ISBN 90-5410-471-6
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- International Glaciological Society (IGS)
- International Association of Cryospheric Sciences (IACS)
- Snow, Ice, and Permafrost Group, University of Alaska Fairbanks เก็บถาวร 2008-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Arctic and Alpine Research Group, University of Alberta
- Glaciers online
- World Data Centre for Glaciology, Cambridge, UK
- National Snow and Ice Data Center, Boulder, Colorado
- Global Land Ice Measurements from Space, USGS
- North Cascade Glacier Climate Project เก็บถาวร 1999-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Centre for Glaciology, University of Wales เก็บถาวร 2003-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Caltech Glaciology Group
- Glaciology Group, University of Copenhagen เก็บถาวร 2003-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Institute of Low Temperature Science, Sapporo
- National Institute of Polar Research, Tokyo
- Glaciology Group, University of Washington เก็บถาวร 2009-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Glaciology Laboratory, Universidad de Chile-Centro de Estudios Científicos, Valdivia
- Russian Geographical Society (Moscow Centre) - Glaciology Commission เก็บถาวร 2007-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Institute of Meteorology and Geophysics, Univ. of Innsbruck, Austria.