ข้ามไปเนื้อหา

วิกิเมเนีย 2011

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเปิดวาระการประชุมวิกิเมเนียที่ประเทศอิสราเอล ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011
ภาพถ่ายกลุ่ม
แสตมป์ชุดวันแรกจำหน่าย ของ"วิกิเมเนีย 2011 - ไฮฟา ประเทศอิสราเอล", ที่ออกโดยไปรษณีย์อิสราเอล เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2011

วิกิเมเนีย 2011 (อังกฤษ: Wikimania 2011) เป็นการประชุมวิกิเมเนียครั้งที่เจ็ด ซึ่งจัดขึ้น ณ ไฮฟา ประเทศอิสราเอล เมื่อวันที่ 4–7 สิงหาคม ค.ศ. 2011 [1]

ประวัติ

[แก้]

สถานที่จัดการประชุมคือหอประชุมไฮฟา และอยู่ติดกันกับศูนย์วัฒนธรรมเบย์เฮชต์บนภูเขาคาร์เมล ผู้บรรยายประเด็นสำคัญประกอบด้วยโยไช เบงเกลอร์ ซึ่งเป็นครูที่เบิร์กแมนเซนเตอร์ฟอร์อินเทอร์เน็ตแอนด์โซไซตี มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และโจเซฟ เอ็ม รีเกิล จูเนียร์ แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือกูดเฟธคอลลาโบเรชัน: เดอะคัลเจอร์ออฟวิกิพีเดีย[2] เมียร์ ชีทริท ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เนสเสท ยังพูดในที่ประชุม เช่นเดียวกับโยนา ยาฮาฟ ผู้เป็นนายกเทศมนตรีของเมืองไฮฟา[3] โดยมีหนึ่งในผู้สนับสนุนการประชุมนี้คือมหาวิทยาลัยไฮฟา[4] การประชุมมีความโดดเด่นด้วย 125 วาระการประชุมในห้าลู่ทางพร้อมกัน และมีชาววิกิมีเดียเข้าร่วมการประชุมถึง 720 คน[5] จากประเทศต่าง ๆ 56 ประเทศ[3] รวมทั้งบางส่วนที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล[6]

ในการสัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ฮาเร็ตซ์ จิมมี เวลส์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียได้ตั้งข้อสังเกตว่ามีการเรียกร้องให้คว่ำบาตรการประชุมในประเทศอิสราเอล เช่นเดียวกับที่มีการต่อต้านการประชุมในประเทศอียิปต์เมื่อปี ค.ศ. 2008 เขากล่าวว่าแม้จะมีความขัดแย้งในหมู่ผู้แก้ไขบทความบนความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ และความพยายามโดยกลุ่มที่เห็นด้วยกับอิสราเอลในการรับสมัครผู้แก้ไขบทความวิกิพีเดียเพิ่มเติม เขาเชื่อว่าบทความวิกิพีเดียส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลางในตัวบท และกล่าวว่า "มุมมองที่เป็นกลางไม่สามารถต่อรองได้"[7]

ซู การ์ดเนอร์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดีย ได้พูดในที่ประชุมเกี่ยวกับชาวตะวันตก ว่าผู้ชายได้มีส่วนครอบงำความคิดซึ่งเป็นลักษณะของวิกิพีเดียในปัจจุบัน[8] ในช่วงท้ายของพิธีปิด ณ วันที่ 7 สิงหาคม จิมมี เวลส์ ได้นำเสนอแสตมป์ชุดวันแรกจำหน่ายที่ออกโดยบริการไปรษณีย์อิสราเอลเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของวิกิพีเดีย[9] ในโครงการใหม่ที่ได้รับการอภิปรายเป็นความร่วมมือกับสถาบันทางวัฒนธรรม เช่น แกลเลอรี, ห้องสมุด, พิพิธภัณฑ์ และหอจดหมายเหตุ[10] ภายหลังจากการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับข้อเสนอทัวร์ฟรีจากเมืองไฮฟา, เยรูซาเลม, นาซาเรธ หรือเอเคอร์ ทั้งนี้ เช ยาเกอร์ ผู้ซึ่งก้าวลงจากตำแหน่งประธานของวิกิมีเดียอิสราเอล ได้กล่าวว่า สำหรับอิสราเอลแล้ว ได้จัดการประชุมในไฮฟาเหมือนการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wikimania 2011 main page. Wikimania2011.wikimedia.org. Retrieved on April 20, 2012.
  2. Avigayil Kadesh (July 14, 2011). "Israel hosts Wikimania 2011". mfa.gov.il. Israeli Ministry of Foreign Affairs. สืบค้นเมื่อ October 2, 2011.
  3. 3.0 3.1 Levin, Verony (August 5, 2011). "Wikimania Conference at Its Peak; Founder Jimmy Wales to Speak Tomorrow". TheMarker (ภาษาฮิบรู). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ August 12, 2011.
  4. Editor (Aug 7, 2011). "Wikimania 2011-Haifa". University of Haifa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-31. สืบค้นเมื่อ October 29, 2012. {{cite web}}: |author= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  5. David Shamah (2013-08-18). "Israel's latest invention: Free hi-res aerial photos for all". The Times of Israel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-27.
  6. Wikimania hits Israel as conference opens เก็บถาวร 2015-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Jewish Chronicle (2011-08-05). Retrieved on April 20, 2012.
  7. Aliyana Traison, Wikipedia founder: Israel-Palestine is heavily debated, but we're vigilant on neutrality, Haaretz, August 5, 2011.
  8. When Knowledge Isn't Written, Does It Still Count?, New York Times
  9. "Israel Philatelic Federation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-20. สืบค้นเมื่อ 2015-03-31.
  10. Yaron, Oded. (2008-04-02) Wikipedia leaders outline their vision as conference opens in Haifa. Haaretz.com. Retrieved on April 20, 2012.
  11. Haifa hosts Wikimania Conference. Ynetnews.com (1995-06-20). Retrieved on April 20, 2012.