วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/Wikimania11

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วิกิพีเดียไทยในวิกิเมเนีย 2011 ณ เมืองไฮฟา อิสราเอล

แจ้งให้ทราบว่า taweethaも เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวเพื่อเชื่อมโยงชุมชนวิกิพีเดียไทยกับมูลนิธิวิกิมีเดียและโครงการในภาษาอื่นๆ - เข้าใจว่าเป็นคนแรกและคนเดียวของชุมชนวิกิพีเดียไทยที่เข้าร่วมการประชุม
จะรายงานความคืบหน้าอื่นๆ ให้ทราบต่อไป ยินดีรับข้อแนะนำและข่าวสารจากวิกิพีเดียไทยตรงนี้เลยนะครับ

2 ส.ค. - Global south meeting

  1. มีโครงการน่าสนใจที่ผู้ประสานงาน Global south เสนอให้วิกิพีเดียไทยคือ
    • รวมกลุ่มกัน ยังไม่ต้องเป็น Chapter ก็ได้ เพื่อความเข้มแข็งในการดำเนินการ เช่น m:Movement_roles_project/groups/WiKansai (มีเพียง 7-8 คน ไม่เพียงพอตั้งมูลนิธิตามกฎหมายญี่ปุ่น)
      • ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนการทำ Chapter เพราะกลัวถูกฟ้องและเสียความเป็นส่วนตัวของกรรมการ แต่มีการรวมกลุ่มอย่างที่ยกตัวอย่างมา
      • ผมเล่าให้ฟังว่า www.wikithaiforum.com (ที่ปัจจุบันเข้าถึงไม่ได้แล้ว) รวม unclyclopedia ด้วย เขาทักกันว่าโมเดลนี้แปลก และเหมือนจะไปด้วยกันได้ยาก
    • การรวมกลุ่มกันจะทำให้เรามีสิทธิ์ขอใช้ logo ของมูลนิธิเพื่อติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก (เช่น กระทรวงศึกษาธิการ บริษัท TOT/CAT มหาวิทยาลัย etc.) ในการทำโครงการร่วมกัน
      • ให้ลองนึกถึงเรื่อง AsiaOnline และ Tablet computer ของรัฐบาล -- วิกิพีเดียไทยอาจมีส่วนร่วมได้ถ้าเรามีความน่าเชื่อถือและมีผู้แทนให้ติดต่อเป็นกิจลักษณะ
    • การรวมกลุ่มกันทำให้เรามีสิทธิ์ขอทุนสนับสนุนเพื่อทำโครงการต่างๆ ได้ (น่าจะอนุมัติได้ไม่ยากเพราะผู้ประสานงานทุนเสนอมาให้ลองทำโดยตรง) อ่านเพิ่มเติมที่ m:Grants:Index
      • เช่น การทำ 0ff-line wikipedia โดยใส่ลงในคอมพิวเตอร์เก่าที่ซ่อมแซมและทำให้ดูเหมือนใหม่ (refurbished computer)แล้วส่งให้โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาลที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (หรือใช้กับคนที่ไม่ควรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เช่น เด็ก หรือผู้มีความเชื่อทางศาสนาบางอย่าง โดยอาจเป็นเวอร์ชันย่นย่อ ตัดตอน และถูกตรวจพิจารณา เอาเรื่องเพศ เรื่องความรุนแรง เรื่องที่สร้างความแตกแยกหรือข้อถกเถียงออก-- มูลนิธิย้ำว่าตรงนี้ไม่ใช่ตัวแทนของ official policy แต่เป็นตัวเลือกของคนที่นำไปใช้)
  2. ส่วนเรื่องทั่วไปที่ไม่ได้กล่าวถึงวิกิพีเดียไทยโดยตรงคือการเพิ่มการเข้าถึงของผู้ใช้ผ่านวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะความร่วมมือกับสถานศึกษา ภาครัฐและเอกชน (NGOs)
    • กำลังเจรจาต่อรองกับบริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคมทั่วโลก เพื่อให้เว็บของมูลนิธิวิกิมีเดียเข้าถึงได้ฟรีผ่านโทรศัพท์เช่นเดียวกับ facebook

--taweethaも 20:41, 2 สิงหาคม 2554 (ICT)


การรวมกลุ่มควรจะมีคนถนัดงานบริหารจัดการเป็นแกนหลักสักสองสามคน สถานะปัจจุบันขณะนี้แม้ว่าจะมีคนที่บริหารจัดการได้ แต่เขาเหล่านั้นก็มีงานของตัวเองที่ต้องทำ ไม่ได้ทุ่มเทกับวิกิพีเดียมากนัก --octahedron80 02:34, 3 สิงหาคม 2554 (ICT)

ใครๆ ก็มีงานของตัวเองที่ต้องทำทั้งนั้นค่ะ ถ้ายังเป็นนักเรียนนักศึกษาก็ต้องเรียน เรียนจบแล้วก็ต้องทำงาน มีครอบครัวพ่อแม่ต้องรับผิดชอบดูแล ไม่มีใครมาทุ่มเท 100% ของชีวิตให้วิกิพีเดียหรอกค่ะ ดังนั้นเราจึงไม่ควรคาดหวังว่าใครจะต้องมาทุ่มเทอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เราควรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีให้ดีที่สุด จัดสรรเวลา ความถนัด ความช่วยเหลือเท่าที่อาจมีได้จากแต่ละหน่วยย่อย นั่นคือหัวใจของชุมชนอาสาสมัครอยู่แล้ว ไม่ใช่มาคาดหวังว่าหน่วยย่อยนั้นหน่วยย่อยนี้ควรต้องทุ่มเทขนาดเท่านั้นเท่านี้ --Tinuviel | พูดคุย 15:08, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
ผมก็เห็นด้วยครับที่ว่าทุกคนย่อมมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ แต่ผมเชื่อว่าถ้ามีความตั้งใจ มันก็จะสามารถเดินไปได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น งานสมาคม มูลนิธิต่างๆ ก็เป็นงานที่ไม่มีรายได้ ก็ยังทำได้ครับ แต่มันอยู่ที่เราจะต้องชักชวนคนที่มีความตั้งใจ และเสียสละ เข้ามามีส่วนร่วม ที่สำคัญคือ ไม่ใช่ทิ้งภาระให้ตกเป็นของคนเพียงไม่กี่คน มันต้องช่วยกันหลายๆ คน ในรูปแบบเป็น "คณะทำงาน" ยิ่งดี เริ่มต้นง่ายในรูปแบบของ ชมรม ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจนะครับ --Pongsak ksm 17:49, 8 สิงหาคม 2554 (ICT)

3 ส.ค. - Chapter meeting

  1. มีการคุยกันอย่างไม่เป็นทางการว่า นอกจาก Chapter ในแต่ละประเทศแล้ว น่าจะรวมกันเป็น กลุ่มระดับ ASEAN หรือ ASIA บ้าง
  2. มีการคุยกันอย่างไม่เป็นทางการว่าจะจัดการประชุม Wikimania ใน ASEAN/ASIA ในโอกาสต่อไป (ไทยก็มีโอกาสจัดได้เช่นกัน) แต่ถ้าจะทำให้สำเร็จ เราต้องทำให้เป็น ASEAN/ASIA bid ร่วมกันเพื่อให้มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง
  3. เรื่องการบริหารจัดการอื่นๆ ของ Chapter ยังไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียไทยในปัจจุบัน แต่อาจมีประโยชน์ในอนาคต

--taweethaも 13:46, 3 สิงหาคม 2554 (ICT)

4 ส.ค. - ประชุมวันแรก

  1. บรรยายเปิดงานโดย en:Yochai Benkler อธิบาย en:Commons-based peer production ที่เป็นรูปแบบใหม่ของการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์ และยกวิกิพีเดียให้ดูเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ
  2. รายงานข้อมูลและสถิติต่างๆ ของมูลนิธิที่สำคัญ (ดูรายงานที่สนใจได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธิ)
    • ช่องว่างระหว่างผู้อ่านกับผู้เขียนมากขึ้น และอัตราการเกิดผู้เขียนใหม่ (ที่เขียนจริงจัง) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะวัดจำนวนทั้งหมดหรือเทียบเป็นอัตราส่วนกับผู้ใช้ใหม่ที่ลงทะเบียน
    • ถ้าจะเขียนจริงๆ จะเขียนภายใน 2-3 ชม. หลังจากลงทะเบียน
    • 30% ของผู้เขียน 1000 อันดับแรกในภาษาอังกฤษ เคยถูกย้อนหรือเตือนก่อกวนในตอนที่แก้ไขแรกๆ
    • ความถี่การแก้ไขเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม ผู้ดูแล > ผู้ใช้ธรรมดา > ไอพี (ไม่ได้ดูเป็นราย แต่ดูค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม) ดังนั้นการผลักไอพีให้ลงทะเบียน และผลักผู้ใช้ธรรมดาให้เป็นผู้ดูแล เป็นทิศทางที่ดี (ไม่สนับสุนนทฤษฎีที่ว่าเป็นผู้ดูแลแล้วเลิกแก้ไข เพราะผู้ดูแลไม่ใช่จุดสิ้นสุด ยังมีสิ่งที่สูงกว่านั้นในระบบอีก)
  3. มีความพยายามจะจัดตั้ง Wikimedia Asia เมื่อมีความคืบหน้าใดๆ จะได้รายงานให้ทราบต่อไป (ผมได้ subscribe mailing list แล้ว)
  4. ของเล่นใหม่นามว่า Wikilove is a simple experiment in appreciation. It makes it easy and fun to send barnstars or whimsical messages of appreciation to other users. (บางคนบ่นว่าจะกลายเป็น social media ในไม่ีใช้ แต่ตอนนี้ลองใช้ไปก่อนเพื่อดูผลตอบรับ)
  5. มูลนิธิฯ กำลังลงทุนในโครงการ India and Brazil editor recruitment ลองดูเพิ่มที่ m:Wikimedia Foundation - India Programs
  6. แจ้งสถานการณ์ในไทยให้คนอื่นรับทราบ อาจมีการตอบสนองกลับมาจากมูลนิธิอีกทีหนึ่ง หลังจากคุยกันได้ส่งเมลเป็นทางการหาเจ้าหน้าที่ในประเด็นเรื่องโครงการของรัฐบาลไทย
    • เรื่อง wikithaiforum ที่รวมชาว uncyclopedia - เขาว่าแปลกดี
    • เรื่อง asiaonline - เขาว่าแปลกดีอีกเช่นกัน โอกาสหน้าเราควรสื่อสารถึงมูลนิธิฯ ให้เร็วกว่านี้เพื่อให้มีการตอบสนองและแสดงจุดยืนที่เหมาะสม
    • เรื่องนโยบายรัฐบาลใหม่แจกคอมพิวเตอร์ - เขาสนใจอยากจะร่วมมือกับรัฐบาลใส่วิกิพีเดียลงไป

--taweethaも 15:41, 4 สิงหาคม 2554 (ICT)

5 ส.ค. - ประชุมวันที่สอง

  1. ตัวอย่างกิจกรรมชุมชนวิกิพีเดียจากทั่วโลก
    • meetup ทุกเดือน (หลายโครงการทั่วโลก)
    • writing/photo contest (หลายโครงการทั่วโลก)
    • Workshop สำหรับผู้ใช้ใหม่ (ไต้หวัน) WikiCon สำหรับผู้เขียนประจำ (ฟิลิปินส์) WikiAcad ผสมกันทั้งสองกลุ่ม (ควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย)
    • พิมพ์ฺบทความออกมาแล้วไปติดตั้งไว้ตามที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง เจาะรูที่ตัวบทความให้คนเห็นภาพของจริงแทนที่จะพิมพ์ภาพไปด้วย (ฝรั่งเศส)
    • จัดกิจกรรมร่วมกับ en:GLAM (industry sector)
    • โครงการสำหรับผู้พิการทางสายตา
  2. ผมให้สัมภาษณ์กับมูลนิธิ เวลาเขาขอรับบริจาคเงิน อาจจะได้เห็นผมขึ้นแบนเนอร์ แต่ผมไม่ได้ขอแบบเหวี่ยงแห คุณช่วยกันได้ในหลายรูปแบบ ทั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ ถ้ามีกำลังทรัพย์พอและเห็นดีเห็นงามกับเนื้อหางานและตัวมูลนิธิก็ส่งเงินมาช่วยกันได้ อย่าหาว่าผมหาเรื่องไถตังค์คนอ่านนะครับ (โดยเฉพาะไถตังค์เด็ก) ที่ทำก็เพื่อเสรีภาพทางปัญญาและพยายามจะบอกเขาว่าเงินของมูลนิธิ ~ 30M USD ต่อปี จ้างลูกจ้างเกือบร้อยชีวิตปีละ ~ 10M USD ใช้เป็นค่าฮาร์ดแวร์อย่างที่หลายคนคาดหมายไม่ถึงครึ่ง แบบนี้บางคนในประเทศกำลังพัฒนาอาจไม่โอเค แต่มันก็สมเหตุสมผลในความคิดของหลายคนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว คิดเอาเองว่าจะช่วยเงินหรือไม่ แต่ผมอัดวิดีโอพูด "ขอบคุณ" ให้แล้วทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
  3. ฟังบรรยายโครงการ Wikimedia offline
  4. พบกับแอดมินคนเวียดนาม/ญี่ปุ่น น่าจะแลกเปลี่ยนกันได้ในอนาคต เพราะพบปัญหาหลายอย่างที่คล้ายกัน
    • เขาไม่เรียก admin ว่าผู้ดูแล เพราะทำให้คนเกรงกลัวและคิดว่าเป็นฝ่ายถูกเสมอ (รวมทั้งผู้ใช้ใหม่หลายคนมาถึงก็เสนอตัวกันเป็น admin กันทั่วหน้า) เขากลับเลือกใช้คำที่อ่อนน้อม (humble) กว่านั้น ออกไปทำนองว่าผู้ช่วยเหลือ อะไรทำนองนี้ ==> เราน่าจะเอาโจทย์นี้กลับมาคิดบ้าง และเปลี่ยนชื่อจากผู้ใช้เป็นคำอื่นที่ยกย่องด้วยไปเลยในคราวเดียวกัน ?

--taweethaも 14:31, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)

6 ส.ค. - ประชุมวันสุดท้าย

  1. en:Wikipedia:Article_Feedback_Tool (ในทางเทคนิคคือ MediaWiki extension) ไม่ใช่แค่ประเมินอย่างเดียว แต่เป็นวิธีหาคนเขียนใหม่ด้วย (ใส่อีเมลได้ ใส่ข้อคิดเห็นได้ และมีคำแนะนำว่าคุณแก้ไขบทความได้ มีการประเมินเชิงการตลาดว่ามัน "หลอก" คนมาช่วยแก้ไขวิกิพีเดียได้มากกว่าปุ่มแก้ไขด้านบน เพราะมันดู interactive) *** สำคัญมากในอนาคต โปรดติดตามตอนต่อไป ***
  2. เรื่องการพิมพ์บทความลงบอร์ดขนาดใหญ่แล้ววางตามที่สถานที่สำคัญ (ลบรูป แล้วจะดูให้มองสถานที่นั้นแทน) ของฝรั่งเศสประสบความสำเร็จดี เขากะว่าจะแสดงไว้ 7 วัน แต่มีการก่อกวน offline ด้วยการทำลายป้ายด้วย ประมาณวันที่ 5 (= vandalism มีทุกหนแห่ง ไม่ว่า online หรือ offline) ถ้าเราจะทำต้องคำนึงถึงปัญหานี้ด้วย
  3. เมื่อเกิด Chapter การจ้างาน การเงิน และ Bureaucracy จะเป็นปัญหาใหญ่ ไม่จำเป็นว่าคนที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขวิกิพีเดียจะบริหารจัดการได้ดี (นำเสนอโดย Argentina Chapter)
  4. วิกิมีเดียเยอรมนี ใหญ่ที่สุด (ลูกจ้าง 20 คน สมาชิก 700 คน) รวยที่สุด (งบปีละ EUR 1.8 ล้าน) เติบโตเร็วมาก (ปี 2004 เริ่มจากสมาชิก 7 คน) มีเงินมากเสียจนไม่รู้จะทำโครงการอะไร ==> ช่วย chapter อื่นๆ ด้วย
  5. Fundrasing แน่หล่ะทำทุกอย่างต้องใช้เงิน... ก็ต้องใช้วิธีทางการตลาดหาเงิน ต้อง optimize แบนเนอร์ให้มี click-though และ completion rate สูงที่สุด จะใช้รูปจิมมี่หรือรูปใคร ข้อความแบบไหนถึงจะได้เงินสูงสุดก็ทดลองกันไป ประเด็นที่สำคัญ/น่าสนใจมีดังนี้
    • ผู้ฟังรายหนึ่ง เสนอให้มีวิธีบริจาคทางอื่นนอกจากใช้บัตรเครดิต เพราะคนในหลายประเทศ ไม่สามารถเข้าถึง payment facility แบบนี้ได้
    • ผู้ฟังอีกรายหนึ่งตั้งประเด็นว่า ต่อให้ไม่มีเงินบริจาค หรือได้เงินไม่ถึง USD30 ล้าน วิกิพีเดียก็อยู่ได้ เพราะค่าฮาร์ดแวร์ไม่ได้แพงเช่นนั้น นอกจากนี้ถ้าทำเป็นลักษณะ en:endowment fund (กองทุนที่เก็บดอกผลอย่างเดียว) วิกิพีเดีย (แบบที่เห็นในปัจจุบัน) ก็จะอยู่ได้ตลอดไป ไม่ต้องไถเงินผู้บริจาค/ผู้อ่านทุกปี การเขียนโฆษณาว่าวิกิพีเดียจะตายแหลมิตายแหลถ้าขาดเงินบริจาคเป็นการชี้นำในทางที่ผิดเพื่อให้ได้เงินมา การนำเงินไปใช้ในโครงการใหม่ๆ เช่น mobile, global south, etc. ไม่ตรงวัตถุประสงค์และไม่ได้รับการรับรองจากผู้บริจาค
    • ประธานบอร์ดวิกิมีเดียตอบว่า มูลนิธิมีเงินสำรองดำเนินการได้เพียงหกเดือน (ถ้าดำเนินการแบบปัุจจุบัน) หากไม่มีเงินบริจาคก็ต้องหยุดดำเนินงาน โครงการต่างๆ ที่ดูเหมือนฟุ่มเฟือย (โครงการวิกิพีเดียในประเทศกำลังพัฒนา และการพัฒนาซอฟต์แวร์) ได้รับการรับรองจากผู้บริจาค เพราะรายงานทางการเงินและรายงานการดำเนินการเผยแพร่สู่สาธารณชนอยู่แล้ว มีความโปร่งใส และนโยบายเหล่านี้ก็ได้มาจากวิกิเช่นกัน ไม่ใช่คนจากมูลนิธิคิดขึ้นมาเอง
  6. เวียดนามมีโครงการต่างๆ ของวิกิมีเดียที่ไม่เลวเลย ลองดูสถิติแล้วจะอึ้งว่าเขาทำได้ น่าจะได้คุยกันมากขึ้น แลกเปลี่ยนปัญหาและทางแก้
  7. จิมมี่ เวลส์: วิกิพีเดียภาษาใหญ่ๆ อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส เริ่มอิ่มตัวแล้ว จำนวนการแก้ไข/ผู้ใช้ที่ active ไม่เพิ่มขึ้น (หรือลดลงเล็กน้อย) เพราะว่าบทความสมบูรณ์มาก และเพราะผู้ใช้ใหม่ปรับตัวเข้ากับระบบวิกิพีเดียได้ยาก (นโยบายยาวเหยียด ไม่คุ้นภาษาวิกิ และระบบยอมให้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำแล้วมาย้อนทีหลัง จิมมี่โดนย้อนการแก้ไขเมื่อเช้าโดยบอตเพราะลืมอ่านหน้า policy[1])
    • ในบรรดาแม่แบบหรือเครื่องมือที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่ใช้ทำให้เกิดความรู้สึกเชิงลบแก่ผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่ แม่แบบหรือเครื่องมือที่ใช้ในการชื่นชมหรือสร้างความรู้สึกที่ดีกลับมีน้อย ยิ่งแม่แบบหรือเครื่องมือซับซ้อน ความเป็นเชิงลบก็ยิ่งมีมาก

--taweethaも 16:24, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)

ปกินกะ

  1. อาสาสมัครในโครงการวิกิพีเดียที่มาร่วมประชุมมีัลักษณะที่น่าสนใจดังนี้
    • ชอบ en:Stroopwafel เป็นชีวิตจิตใจ (m:Association of Stroopwafel Addicts)
    • เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เสรีอื่นๆ เช่น en:Debian และ en:Firefox (เขาชวนให้ใช้ซอฟแวร์เสรีเป็นภาษาไทย ตรงไหนแปลห่วยให้ช่วยกันแจ้งแก้ไข กรณี firefox ให้แจ้งที่นี่) มองเผินๆ เหมือนจะปล้นคนจากวิกิมีเดียไปช่วยทำงานพวกนี้ แต่ผมคิดว่าพอยอมรับได้เมื่อเทียบกับปล้นคนจากวิกิพีเดียไปไร้สาระนุกรม
  2. ทุกครั้งที่ Sue Gardner เริ่มพูดในงานวิกิเมเนีย จะต้องมีเด็กทารกร้องไห้ทุกครั้ง
  3. บทความใหม่สืบเนื่องจากงานนี้ เขียนโดยชาววิกิพีเดียไทย (ผมไม่ได้เขียน) เข้าเสนอในโครงการรู้ไหมว่า

--taweethaも 00:15, 9 สิงหาคม 2554 (ICT)

โครงการที่เราอาจทำได้

  1. รวมกลุ่มพูดคุยกัน
    • ในประเทศไทย จะมีการประสานงานกันในช่วงวันที่เท่าไหร่ครับ แล้วเป็นช่วงที่ชาววิกิพีเดียไทยเตรียมสอบหรือเดินทางไปต่างจังหวัดหรือเปล่าครับ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะซ้อนช่วงนี้หรือไม่ จะมีการรวมตัวกันหรือแบ่งงานกันในรูปแบบใดบ้างครับ ส่วนในช่วงนี้ ผมจะปั่นบทความวิกิเมเนียให้ในอาทิตย์นี้ก็แล้วกันนะครับ --B20180 22:17, 4 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • คิดว่าต้องเริ่มจากการพูดคุยกันก่อน จะออนไลน์ก็ได้ จะ interactive ก็ได้ จะพบกันเป็นตัวๆ ก็ได้ แต่ถ้าคนจำนวนมาก วิธีที่ง่ายที่สุดจะเป็นออนไลน์ แต่ non-interative แบบที่เขียนในศาลาชุมชนอยู่นี่ ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่การสร้างองค์กรมาเพื่อใส่ให้คนที่ต้องการมี ตำแหน่งประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขา ฯลฯ แต่สิ่งที่สำคัญคือพลักดันโครงการต่างๆ ที่มีประโยชน์ให้สำเร็จ หากจำเป็นต้องมีตำแหน่งหรือองค์กรก็ค่อยตั้งไปตามสมควร --taweethaも 02:52, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • น่าจะทำ Thai-speaking Wikimedians mailing list อย่างใน https://lists.wikimedia.org/mailman/admin ใครช่วยอาสาเป็น moderator หน่อยได้ไหมครับ ? --taweethaも 04:00, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • ทำเลยดีกว่า ชักช้าไปใย [2] (ช่วยกันโหวตด้วยจะได้ดำเนินการเร็วๆ) ส่วนเมื่อทำเสร็จแล้วไม่รู้ว่าจะคุยอะไรกันให้ดูข้อต่อไปครับ --taweethaも 04:18, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
    •  สำเร็จ --taweethaも 05:21, 7 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • ผมเห็นด้วยนะครับ ถ้าจะมีการแลกเปลี่ยน พูดคุยกันให้มากขึ้น รวมถึงการจะมีองค์กรซักรูปแบบหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวประสานงาน แต่ผมเห็นว่า ถ้าจะมีจริงๆ อยากให้ทำหน้าที่เป็น "คณะทำงาน" มากกว่าเป็น "คณะกรรมการ" หมายถึงว่า ตั้งใจทำงานจริงๆ ไม่ใช่ตั้งเพื่อให้มีชื่อว่าเป็น เท่านั้น --Pongsak ksm 17:53, 8 สิงหาคม 2554 (ICT)
  2. รื้อฟื้น Signpost (วิกิพีเดีย:สารวิกิพีเดีย โดยคุณ Horus) อาจเปลี่ยนชื่อและปรับรูปแบบ เช่น ใช้ชื่อใหม่ว่า วิกิพีเดียไทยรายเดือน ใส่แต่หัวข้อและลิงก์ ไม่ต้องเขียนเนื้อหาใหม่มาก ไม่แปลจากภาษาอื่น แค่ทำให้คนที่ไม่ค่อยมีเวลาได้ติดตามข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ นโยบายใหม่ที่เกิดขึ้น โครงการที่จะทำร่วมกัน โดยเน้นโครงการวิกิมีเดียภาษาไทยเป็นสำคัญ หรือ นโยบายจากส่วนกลางที่ส่งผลต่อโครงการภาษาไทย ฯลฯ
    • เรื่องสารวิกิพีเดีย ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพจริง คงต้องมีหน่วยสำหรับเขียนสารโดยเฉพาะ เหมือนเจอร์นัลลิสต์หรือคอลัมนิสต์ เพราะตอนนี้คุณฮอก็เขียนอยู่คนเดียว ขี้เกียจก็ขี้เกียจคนเดียว สารมันก็เลยขาดตอน --octahedron80 19:21, 4 สิงหาคม 2554 (ICT)
  3. Offline Wikimedia เพื่อแจกให้โรงเรียนต่างๆ ตัวอย่างจาก Kenya ทำโครงการอย่างนี้โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากมูลนิธิ (m:Grants:WM_KE/Wikipedia_for_Schools_Launch USD2600 และ m:Grants:WM_KE/Wikipedia_for_Schools_Project USD6620) โดยเลือกบทความจาก Swahili Wikipedia เขียนลง USB drive แล้วแจกไปตามโรงเรียน (ไม่ทำ CD เพราะคอมพิวเตอร์หลายเครื่องไม่มีเครื่องอ่านแผ่น) ผมคิดว่าเราอาจเชื่อมกับโครงการของรัฐบาลที่จะแจกคอมพิวเตอร์ได้ - งานนี้จะได้ไม่เหมือนกับ Asia Online และเป็นการขยายฐานการเข้าถึงวิกิพีเดียไปทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว รายละเอียดทางเทคนิคอ่านที่ http://openzim.org และ http://blog.wikimedia.org/tag/openzim
    • สนับสนุนข้อนี้ --Tinuviel | พูดคุย 14:40, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • เห็นด้วย และคิดว่าน่าจะเป็นข้อที่พอทำได้ครับ --Xiengyod 19:52, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • เห็นด้วยในทางหลักการ แต่ในทางปฎิบัติคงใช้เวลานาน ไม่เกี่ยวกับเรื่องอุปกรณ์นะครับ แต่ผมเห็นว่าควรจะปรับปรุงคุณภาพของบทความที่จะแจกจ่ายให้อยู่ใน Assessment อย่างน้อยระดับดี คุณภาพหรือคัดสรร เพื่อให้ข้อมูลสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาได้มากที่สุดครับ แม้เราจะแย้งว่าวิกิพีเดียเป็นคล้าย ๆ กับ Portal (เพราะก็ต้องอ้างจากหนังสืออีกที) แต่เรากำลังขยาย Accessibility ไปให้ทั่วถึง ดังนั้นก็ควรจะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในระดับหนึ่งครับ --∫G′(∞)dx 15:32, 8 สิงหาคม 2554 (ICT)
      • ประเด็นนี้น่าสนใจ ทำให้นึกถึงกรณีทำการบ้านส่งของหลายมหาวิทยาลัย ซึ่งก็มีบทความดีๆ หลายบทความเกิดจากการทำการบ้าน เช่นบทความในกลุ่มธรณีวิทยาในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ไหนๆ ถ้าจะใช้วิกิพีเดียเป็นที่ส่งการบ้าน ทำโครงการความร่วมมือให้เป็นเรื่องเป็นราว น่าจะดี --Tinuviel | พูดคุย 17:57, 8 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • เห็นด้วยและน่าสนใจครับ ในตัวหลักการถือว่าดีที่เดียวครับ แต่เราต้องปรับปรุงเนื้อหาให้มีความน่าเชื่อถือขึ้น จากประสบการณ์สอนและให้นักเรียนหาข้อมูลด้วยตนเองนั้น พบว่าเด็กจะมีความเชื่อถือในเนื้อหาของวิกิพีเดียมาก โดยมิได้ตรวจสอบข้อมูลหรือแหล่งอ้างอิงใดๆก่อนเลย ประมาณว่า copy มาทั้งบทความ แม้กระทั่งคำว่า "แก้" ยังลืมลบออก หากเราจะเผยแผ่วิกิพีเดียให้เข้าสู่โรงเรียนจริงนั้น เรื่องของข้อมูลต้องตรง เนื้อหาง่ายๆ สั้นๆ กระชับ เพราะเด็กไม่ชอบตัวหนังสือเยอะๆ เปิดมาก็ปิดหนี และที่ผมแนะนำคือ "โครงการวิกิประเทศไทย" ทำได้จะดีครับจะขอเอาไปลงในห้องสมุด --pastman 13:42, 9 สิงหาคม 2554 (ICT)
    • โดยส่วนตัวของผมเอง ผมเห็นว่าน่าจะมีการรวมกลุ่มผู้ใช้ที่สนใจเรื่องเดียวกันเป็นกลุ่มย่อย พัฒนาบทความในกลุ่มย่อยของตน (อาจเป็นสถานีย่อย) เพื่อเพิ่มคุณภาพความน่าเชื่อถือเสียก่อน รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยเฉพาะเรื่องนั้นๆให้เป็นแบบเดียวกัน แล้วจึงแจกจ่ายแบบออฟไลน์ ทีละกลุ่มไป จะสร้างความน่าเชื่อถือ และ feed back ที่ดีต่อวิกิพีเดียได้ ดีกว่าแจกไปเป็นชุดใหญ่ ดีบ้าง แย่บ้างปนกันไป ซึ่งผมมาช่วยเขียนวิกิพีเดียจนถึงเดี๋ยวนี้ ก็เพราะความประทับใจแบบนี้เหมือนกันครับ สำหรับผม ยินดีช่วยในเรื่องบทความทางด้านภาษาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับ --Saeng Petchchai 13:59, 9 สิงหาคม 2554 (ICT)
  4. ปรับโครงสร้างโครงการวิกิมีเดียในภาษาไทย
    • ต้องหาคนอ่านคนเขียนมากขึ้น ทำอย่างไรเดี๋ยวค่อยว่ากัน ลองดูข้างบน
    • ลบโครงการบางโครงการที่ไม่จำเป็นในภาษาไทย m:Proposals_for_closing_projects
      • http://th.wikinews.org (มีการเสนอให้ปิดและอนุมัติแล้ว ควรเสนอใหม่ให้ลบแทน)
        • ปิดกับลบต่างกันอย่างไร? ปิดหมายถึงยังมีเว็บอยู่แต่ไม่ให้ใส่ข้อมูลเพิ่มเหรอครับ ลบหมายถึงหายไปจากโลกเลยเหรอครับ --octahedron80 22:28, 5 สิงหาคม 2554 (ICT)
        • ปิดก็คือสถานะปัจจุบัน ไม่สามารถแก้ไขได้อีก (ยกเว้นพวก Steward มาแก้หน้าผู้ใช้โดยไม่รู้ว่าโครงการเขาปิดแล้ว) ลบคือหายไปจากโลกเลย (ยังไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะโครงการที่ปิดไปแล้วมันประกาศไม่ได้ แต่มันต้องประกาศก่อนจึงพิจารณาลบได้) อีกทางเลือกคือขอแอดมินชั่วคราวมาเขียนหน้าแรกทำนองว่าโครงการปิดแล้วโอกาสหน้าพบกันใหม่เมื่อมีความพร้อม (ตัวอย่างตามหน้านี้) และลบบทความข่าวเดิมๆ ออกเสีย เพราะไม่ค่อยได้เรื่องกันสักเท่าใด และทำหน้าแรกให้เชื่อมโยงกลับมาวิกิพีเดียและโครงการอื่นๆ --taweethaも 01:08, 6 สิงหาคม 2554 (ICT)
        •  ไม่สำเร็จ ปัจจุบัน Thai wikinews กลับเช้า incubator ไปแล้ว คงไม่ต้องปิดแต่อย่างใด --taweethaも (พูดคุย) 07:10, 26 มีนาคม 2556 (ICT)
    • ขอ adminship ให้กับคนในโครงการที่เหลือ (ที่ร้าง) เพื่อต่อต้าน spam/vandalism - ถามคุณ B20180 แล้ว เห็นว่าพอจะยอมรับหน้าที่ได้ - จึงขอไปทาง meta มีกำหนด 1 ปี - m:Steward_requests/Permissions จะได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 12 ส.ค. ถ้าไม่มีผู้คัดค้าน
    • ส่งเสริมผู้ใช้ที่มี potential สูงในวิกิพีเดียไทยให้มี commitment/engagement มากขึ้น โดยเสนอเป็นผู้ดูแลใหม่สองท่าน (Xiengyod และ Pongsak ksm)
      •  สำเร็จ ได้รับเลือกจากชุมชนและแต่งตั้งแล้วโดยคุณ Sry85 --taweethaも 13:46, 20 สิงหาคม 2554 (ICT)

--taweethaも 15:51, 3 สิงหาคม 2554 (ICT)