วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การตั้งชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถ้าจะเขียนบทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต แต่สิ่งมีชีวิตนั้นไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย และจำเป็นต้องใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคหลายชนิด) อยากระดมความเห็นทุกท่านว่าควรจะตั้งชื่อแบบใด

  • ตั้งชื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ อักษรละติน (เช่น ตั้งชื่อว่า Clostridium tetani) อันนี้ก็มีผู้ใช้หลักตามนี้ คือคุณผู้ใช้:Chale yan ในบทความกลุ่มพืชหม้อข้าวหม้อแกงลิง อันนี้ตรงตามหลักการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้การตั้งแบบนี้อาจขัดกับหลักการตั้งชื่อที่ควรเป็นภาษาไทย และอาจต้องใส่ป้าย {{ชื่อภาษาอื่น}} ในทุกบทความซึ่งผมคิดว่าฟุ่มเฟือยมาก
  • ตั้งชื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ อักษรไทย (เช่น ตั้งชื่อว่า คลอสทริเดียม เททานี) ซึ่งอาจมีปัญหาการถอดเสียงชื่อภาษาละตินเป็นภาษาไทย เพราะต่างคนต่างยึดหลักต่างกัน (ดังตัวอย่างอาจเรียกว่า คลอสตริเดียม เตตาไน ก็ได้ เพราะหลักการอ่านละตินนั้นคือ อ่านแบบไหนก็ได้ เพราะเป็นภาษาตายแล้ว) อาจเกิดสงครามการเปลี่ยนชื่อ และอาจมีปัญหาในการค้นหา รวมทั้งการค้นหาจาก search engine
  • ตั้งชื่อเป็นชื่อที่นิยม เช่น อีโคไล ซึ่งคนนิยมเรียกก็จริง แต่ผิดหลักการใช้ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างรุนแรง เพราะควรใช้ว่า Escherichia coli มากกว่า
  • หรือใครมีแนวทางอื่น ขอเชิญชวนระดมความคิดได้เลยนะครับ

ทั้งนี้หากเราได้ข้อสรุป จะได้เป็นบรรทัดฐานในการตั้งชื่อบทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทำนองนี้ ขอบคุณทุกความเห็นครับ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 17:58, 6 เมษายน 2552 (ICT)

ถ้ายังไม่มี หรือยังไม่ทราบชื่อสามัญในภาษาไทย ใช้อักษรโรมัน (ละติน) เหมาะกว่าครับ, ส่วนการติดป้ายภาษาอื่น ก็ตรงกับข้อความในป้าย คือ ยังไม่มีชื่อไทยฯ --ธวัชชัย 07:35, 7 เมษายน 2552 (ICT)
ถ้ายังไม่มีชื่อในภาษาไทย น่าจะใช่อักษระละตินน่าจะง่ายสุดต่อคนเขียนนะครับ เว้นแต่ว่าถ้าชื่อไหนนิยมมากก็ทำชื่อวิทยาศาสตร์เปลี่ยนทางไปทางชื่อที่นิยมก็น่าจะดีนะครับ (ตาม หลักการตั้งชื่อบทความ) เว้นแต่ว่าชื่อนั้นอ่านผิดอย่างเห็นได้ชัด --Manop | พูดคุย - (irc) 07:42, 7 เมษายน 2552 (ICT)
ถ้ายังไม่มีชื่อภาษาไทย ควรใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นหน้าหลัก ส่วนชื่อทีเป็นคำอ่านภาษาไทย อย่างอีโคไล ควรเป็นหน้ารองค่ะ--PAHs 12:15, 9 เมษายน 2552 (ICT)
  • ผมเห็นด้วยกับที่คุณ PAHs กล่าวครับว่าบทความแบบนี้ควรตั้งชื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ และใช้อักษรละติน แต่ถ้าทำแบบนั้นแล้วทุกบทความต้องติดป้าย {{ชื่อภาษาอื่น}} ทุกอันเลยหรือครับ หรือเราจะทำป้ายเฉพาะสำหรับบทความที่มีชื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 22:26, 9 เมษายน 2552 (ICT)
เห็นด้วยกับคุณหมอสวน เราควรมีป้ายชื่อวิทยาศาสตร์ต่างหาก เพราะเหตุผลในการใช้ไม่เหมือนกับชื่อภาษาอื่น และทั้งยังง่ายในการเก็บกวาด --m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 08:16, 19 เมษายน 2552 (ICT)
  • ครับ ตามความเห็นคุณอะควาที่ว่า "เหตุผลในการใช้ไม่เหมือนกับชื่อภาษาอื่น" ก็มีแม่แบบที่ผมเคยทำเอาไว้ว่า {{บทความชื่อวิทยาศาสตร์}} เอาไว้แล้วครับ เอาไว้ผมจะเอาไว้ดำเนินการติดตามบทความเหล่านั้นในอนาคตครับ · Dr.Garden · คุยกันได้! · 22:52, 25 เมษายน 2552 (ICT)
  • เห็นด้วยกับคุณ Manop ครับ ไม่มีชื่อสามัญก็น่าจะใช้ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ เพิ่มเติมอีกนิดครับ คือว่าชื่อวิทยาศาสตร์ ถ้าจะเขียนกันให้ถูกต้องแล้ว ต้องเป็นตัวเอียงหรือขีดเส้นใต้เท่านั้น แต่ปกติแล้วชื่อบทความมันทำตัวเอียงหรือขีดเส้นใต้ไม่ได้ เราจะมีทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไรไหมครับ ขนาดภาษาอังกฤษเขาก็ยังทำไม่ได้เลย แต่ว่าในตัวบทความเขาจะมีการเขียนซ้ำอีกครั้งเด้วยวิธีที่ถูกต้องเพื่อให้คนอ่านรู้ว่าเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ --Kaew 20:49, 1 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  • ถ้าจะทำตัวเอียงและขีดเส้นใต้ในส่วนบทความ อาจจะทำเป็นชื่อผ่านแม่แบบดูก็ได้นะครับ อย่าง
  • โดยใช้
    • {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Felis silvestris catus}}
  • --Manop | พูดคุย - (irc) 22:59, 1 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ชื่อวิทยาศาสตร์จะไม่ขีดเส้นใต้ถ้าไม่ใช่การเขียนด้วยลายมือนะครับ เพราะตัวเขียนลายมือทำตัวเอนไม่ได้ (มันเอนอยู่แล้ว) ในบทความก็มีบอกอยู่ --Octra Dagostino 23:03, 1 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ผมหมายถึงตรงหัวชื่อบทความเลยครับ มันทำตัวเอียงไม่ได้ --Kaew 23:06, 1 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • อ่อ งั้นเดี๋ยวหาคำสั่งให้ดูครับ มันจะมีวิธีแก้ชื่อบทความได้ แต่ถ้ามองในทางกลับกันถ้าชื่อบทความในวิกิพีเดียมีรูปแบบคนละอย่าง มันจะทำให้เกิดความรู้สึกต่างจากบทความอื่นด้วยนะครับ หรือไม่ก็อีกหน่อยชื่อหนังสือ ชื่อเพลง ชื่อเกม ก็จะใช้ตัวเอียงกันหมด --Manop | พูดคุย - (irc) 23:23, 1 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  1. คือว่าตามหลักการเขียนแล้วเขาว่ามาอย่างนั้นครับ แต่หลายๆ ที่หลายๆ คน ที่ไม่สะดวก หรือ ไม่รู้เขาก็จะไม่เอียง คนส่วนใหญ่เห็นก็ไม่ว่าอะไรและซึมซับกันไป แต่ถ้านักชีววิทยามาเห็น เขาก็มักจะทักท้วงกันเป็นอย่างแรกเลยครับ ผมว่าประเด็นนี้คล้ายๆ กับพวกชื่อคนที่มาจากภาษาเยอรมัน สมัยก่อนเราใช้ตัวอักกฤษแทนชื่อเขาหมดเลย พวกจุดหรือเครื่องหมายแสดงเสียงไม่ใส่ให้เขา แต่เดี๋ยวนี้เราก็เริ่มใส่ใจกันมากขึ้น ต้องหาทางเขียนตัวอักษรในชื่อเขาให้ครบเลย เช่น Schrödinger
  2. ตอนนี้กล่อง Taxobox มีปัญหาอยู่นะครับ ลองเข้าไปดูได้ที่ บอระเพ็ด จะเห็นว่าชื่อตรงหัวกล่อง และชื่อวิทยาศาสตร์ไม่เป็นตัวเอียง เหมือนว่าคำสั่งตัวเอียงชนกัน --Kaew 23:55, 1 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  3. มีเรื่องเล็กน้อยอีกประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ครับ คือว่า นอกจากชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังมีสิ่งอื่นๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่มีข้อกำหนดเรื่องตัวพิมพ์อีก เช่น ตัวอักษรตัวแรกต้องเป็นตัวพิมพ์เล็ก สำหรับ [1] [2] วิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็ทำได้ดีระดับหนึ่ง คือแสดงชื่อบทความให้ตัวอักษรตัวแรกในหน้านั้นเป็นตัวเล็กได้ แต่ในหน้าหมวดหมู่เขายังเป็นตัวใหญ่อยู่ [3] [4]

โดยสรุปคือ ถ้าจะพิจารณาให้ใช้ชื่อบทความวิทยาศาสตร์ ตามต้นฉบับภาษต่างประเทศ ทั้งในกรณีชื่อสิ่งมีชีวิต ชื่อหน่วย หรือชื่ออื่นๆ อยากให้พิจารณาการคงไว้ซึ่งรูปแบบที่ถูกต้องตามที่วงการวิทยาศาสตร์ใช้กันครับ โดยต้องมีการปรับเงื่อนไขอย่างน้อยดังนี้ครับ

  1. ชื่อบทความเป็นตัวเอียงได้
  2. ชื่อบทความอักษรตัวแรกไม่ต้องเป็นตัวใหญ่ได้

ฝากไว้พิจารณาตามความเหมาะสมและความสะดวกครับ --Kaew 14:16, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • ถ้าชื่อขึ้นต้นไม่ใช้ตัวใหญ่ใช้คำสั่ง {{lowercase}} ตัวอย่างเช่นในหน้า gzip ครับ ส่วนเรื่องตัวเอียงนั้นส่วนตัวผมคิดว่าไม่น่าจะทำเพราะจะมีปัญหาในภาพรวมมากกว่า ที่จะตกลงว่าอันไหนเอียงอันไหนไม่เอียง --Manop | พูดคุย - (irc) 21:27, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)
  1. ขอบคุณครับผมเห็นแต่ {{ชื่อผิด}} ในบทความไทยครับ ลองตามไปดูภาษาอังกฤษเห็น {{lowercase}} อย่างที่แนะนำมาแล้วครับ
  2. ตรงหัวชื่อบทความไม่เอียงก็ไม่เป็นไรครับ เพราะว่าโครงการภาษาอังกฤษเขายังไม่เอียง ภาษาไทยยังมีเรื่องอื่นที่น่าจะทำมากกว่านั้น เราแค่ตามมาตรฐานของอังกฤษอย่างเดียวก็น่าจะเพียงพอ
  3. ถ้ามีเวลา รบกวนดู Taxobox ตามที่แจ้งไว้ด้วยครับ คิดว่าถ้าแก้ที่แม่แบบทีเดียวจะได้ผลดีกว่ามาแก้เนื้อหารายตัวครับ เข้าใจว่าปัญหาเกิดจาก เนื้อมามีหลายแบบ ในช่อง | binomial = Tinospora cordifolia บางบทความก็ใส่เครื่องหมายให้เป็นตัวเอียงไปแล้ว พอแม่แบบสั่งซ้ำให้เอียงอีกมันเลยเกิดอาการรวน --Kaew 22:04, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ขอบคุณครับ แล้วจะตามไปดู --22:48, 2 พฤษภาคม 2552 (ICT)