ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2554/ผู้สมัคร/B20180/คำถาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนะนำให้ผู้สมัครตอบคำถามทุกข้ออย่างครบถ้วนสมบูรณ์แต่ก็สั้นกระชับไปในขณะเดียวกัน ผู้สมัครอาจปฏิเสธจะตอบคำถามใด ๆ ก็ได้ที่ตนไม่ปรารถนา อย่างไรก็ดี การปฏิเสธไม่ตอบคำถามใด ๆ นั้นอาจมีผลต่อการพิจารณาการรับเลือกคณะอนุญาโตตุลาการได้ ทั้งนี้การเปิดเผยประวัติบัญชีของคุณ (ถ้ามี) ตามนโยบายการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ต้องระบุไว้ในคำแถลงสมัคร และไม่สามารถปฏิเสธที่จะไม่ระบุบัญชีผู้ใช้อื่นที่มีหรือไม่เคยมีได้

ทั่วไป

[แก้]
  1. คำถามเกี่ยวกับทักษะและประสบการณ์ (Skills and Experience)
    1. คุณคิดว่าจะนำทักษะและ/หรือประสบการณ์ทั้งในและนอกวิกิพีเดียใดบ้างมาใช้ในการดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการ
      • ประสบการณ์เป็นทั้งการช่วยเหลือผู้ใช้ใหม่ ผู้เขียน ผู้ติดตาม ผู้เรียนรู้ ผู้สอดส่อง และประสบการณ์การเป็นผู้ดูแลระบบที่มุ่งเน้นการให้บริการ รวมถึงมีประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมที่ให้การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างทัดเทียมในชีวิตจริงที่หลากหลาย --B20180 18:46, 23 ธันวาคม 2554 (ICT)
    2. คุณเคยประสบกับกรณีการระงับข้อพิพาทในวิกิพีเดียหรือไม่ หากเคยเข้าร่วมการระงับข้อพิพาทดังกล่าว กรุณาลิงก์ไปหาข้อพิพาทดังกล่าว หรือหากไม่ได้เข้าร่วมในกรณีข้อพิพาทนั้น กรุณาให้ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นและวิธีระงับข้อพิพาทที่คุณจะใช้
  2. คำถามเกี่ยวกับข้อตัดสิน (Strict vs. lenient)
    1. ในกรณีการพิจารณาข้อพิพาท คุณมีความเห็นอย่างไรในการวินิจฉัยคำตัดสิน ระหว่างการตัดสินโดยยึดหลักเจตนาดี โดยการจำกัดมาตรการสถานเบาเพื่อให้ผู้ใช้กลับตัวกลับใจ กับการลงโทษสถานหนักโดยการบล็อกผู้ใช้ตลอดกาลหรือถอดจากสถานะที่เคยมี เช่น ผู้ดูแลระบบ โปรดให้เหตุผลประกอบความเห็นของคุณด้วย
      • ปกติแล้วมักยึดหลักเจตนาดีกับไอพีผู้ใช้ใหม่ และโดยทั่วไปอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาวิกิพีเดีย รวมถึงในฐานะที่เป็นผู้ดูแลระบบ ก็มักใช้วิธีการบอกกล่าวแนะนำแทนการตักเตือน อย่างไรก็ดีหากยังคงกระทำการอันมิพึงประสงค์ก็ทำการบล็อกผู้ใช้ระดับหนึ่ง ส่วนการบล็อกผู้ใช้ตลอดกาลนั้นก็มักใช้กับรายที่มาเพื่อก่อกวนโดยเฉพาะ และสำหรับผู้ดูแลระบบที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ใช้ความสามารถที่มีอยู่กดขี่ข่มเหงผู้อื่น ให้ร้ายผู้อื่นเพื่อให้ตัวเองดูดี หรือเลือกเข้าข้างเฉพาะกลุ่ม หรือกระทำการใดๆโดยไม่สนผิดชอบชั่วดีนั้น ผมเองก็เห็นด้วยที่จะปลดผู้ดูแลรายนั้นๆออกจากหน้าที่นี้ หากแต่อาจยังให้โอกาสเขาได้กลับตัวกลับใจเสียก่อน --B20180 05:36, 4 ธันวาคม 2554 (ICT)
  3. ในกรณีพิจารณาข้อพิพาท หากคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปฏิเสธที่จะตอบคำถามหรือแสดงหลักฐานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีฝ่ายตน คุณจะตัดสินข้อพิพาทนี้โดยยึดหลักประการใด ระหว่างการตัดสินให้เป็นผลดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหา กับการตัดสินโดยใช้หลักว่าหากคู่พิพาทปฏิเสธที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ฝ่ายตน อนุญาโตตุลาการไม่มีสิทธิ์จะยกกรณีที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นมานั้นขึ้นมาพิจารณา
    • บางครั้งการนิ่งเงียบอาจเป็นการยุติปัญหาทั้งสองฝ่ายได้ แต่บางกรณีการไม่ตอบคำถามของบุคคลนั้นอาจซ่อนอะไรแอบแฝงไว้ก็ได้ จึงต้องอาจทบทวนเหตุการณ์ หลักฐาน เจตนาที่ผ่านมา หรือกรณีที่เกิดขึ้นประกอบด้วย --B20180 05:36, 4 ธันวาคม 2554 (ICT)
  4. หากมีการพิจารณาข้อพิพาท และมีคำตัดสินว่าบทความใดบทความหนึ่งอยู่ระหว่างการคุ้มครองของอนุญาโตตุลาการ (Article probation) ผู้ใช้ที่เพิ่มเนิ้อหาหรือนำเนื้อหาออกโดยมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมจะถูกพิจารณาโทษแล้วแต่กรณี คุณคิดว่ามาตรการนี้จะขัดต่อความเป็นเสรีของวิกิพีเดียหรือไม่ ประการใด โปรดให้เหตุผล
  5. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการอนุญาโตตุลาการของวิกิพีเดียภาษาไทย (ซึ่งรับมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) ยกตัวอย่าง (ต้องการให้ระบุเป็นส่วน ๆ เช่น ส่วนที่ว่าด้วยขั้นตอน ส่วนที่ว่าด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ) หากคุณเห็นด้วย คุณมีวิธีดำเนินการตามนโยบายนั้นอย่างไร หากคุณไม่เห็นด้วย คุณคิดว่านโยบายนั้นควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะเหตุใด
    • ตามความเห็นส่วนตัวแล้วอยากให้มี Dispute resolution ออกมาก่อนที่จะมีอนุญาโตตุลาการ เพื่อใช้อ้างถึงสำหรับการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ รวมถึงเป็นการลดความขัดแย้ง ซึ่งนโยบายในชุมชนควรจะเป็นในลักษณะที่มีไมตรีต่อกัน ไม่ใช่มุ่งทำลายอีกฝ่าย หรือเอาชนะคะคานกัน และอยากให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทยในระดับหนึ่ง เนื่องด้วยวัฒนธรรมไทยบางอย่างอาจแตกต่างจากฝั่งตะวันตกอยู่บ้าง แต่ในขณะนี้ยังไม่พบปัญหาอะไร จึงอาจต้องดูไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน --B20180 06:16, 4 ธันวาคม 2554 (ICT)
  6. คุณคิดว่าข้อพิพาทประเภทใดที่คุณจะรับหรือไม่รับไปพิจารณา เพราะเหตุใด
    • ยินดีพิจารณาข้อพิพาททั่วไปหากได้รับเลือกเป็นอนุญาโตตุลาการแล้ว รวมถึงข้อพิพาทกรณีที่มีการรังแกผู้เยาว์, ข้อมูลทางสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (อาจพิจารณาร่วมกับผู้อื่นที่เชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ) ข้อมูลและสถิติลวง และ บทความสำหรับเยาวชน --B20180 05:54, 9 ธันวาคม 2554 (ICT)
  7. คุณคิดว่าจะดำเนินบทบาทอย่างไร เพื่อให้อนุญาโตตุลาการมีบทบาทแทนการตัดสินแบบเก่าโดยผู้ดูแลระบบ (มูลเหตุของคำถาม เพราะเห็นว่าปัญหาส่วนใหญ่ยุติลงโดยผู้ดูแลระบบบล็อกผู้ใช้ หรือล็อกหน้า ซึ่งเป็นการตัดสินที่อาศัยตัวบุคคลเป็นหลัก)
    • ครับ คงไม่มีใครที่จะแสดงตนเป็นผู้ทรงความรู้ทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ ซึ่งอาจรวมถึงตัวผมเอง เพราะที่ผ่านมาในบางครั้ง เราอาจพบเห็นผู้ดูแลระบบตัดสินการใดๆอย่างไม่เป็นธรรม คนดีถูกลงโทษ คนเลวได้รับรางวัล ร่างนโยบายอย่างไม่เป็นธรรม ตลอดจนบทความที่ดีกลับถูกตัดสินว่าไม่ดี ทั้งๆที่ตัวเองไม่มีความรู้ในเรื่องประเภทนี้ ซึ่งอาจเป็นการดีที่จะมีคณะอนุญาโตตุลาการมาเป็นคนกลางในการพิจารณาอย่างเป็นธรรม แน่นอนว่าผู้ดูแลระบบควรมีความรู้และทักษะทั่วไปในระดับหนึ่ง แต่เพื่อให้วิกิพีเดียเอื้อประโยชน์ให้ได้ทั่วถึงต่อผู้อ่านอย่างแท้จริง เมื่อมีคดีความใดๆ คณะอนุญาโตตุลาการควรใช้ความรู้ ประสบการณ์ หลักฐาน อ้างอิง มาร่วมตัดสิน และหากเป็นการดี ก็สามารถให้ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ สาขา วิชาชีพ รวมถึงผู้ที่อยู่ในวงการนี้มาตัดสิน หรือให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือประกอบด้วย --B20180 11:15, 6 ธันวาคม 2554 (ICT)
      • ขออธิบายหลักการที่จะนำไปปฏิบัติแบบชัดเจนได้ไหมครับ ตอนนี้ผมเพียงแต่เข้าใจมุมมองกว้าง ๆ ของคุณเท่านั้นครับ --Horus | พูดคุย 19:58, 9 ธันวาคม 2554 (ICT)
        • จากการที่ผู้ดูแลระบบบล็อกผู้ใช้ หรือล็อกหน้า ซึ่งเป็นการตัดสินที่อาศัยตัวบุคคลเป็นหลัก ในบางกรณี เรื่องอาจยังไม่ยุติ หรือยังคงมีการร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ดูแลระบบ หากยังคงเป็นปัญหาอยู่ ก็ส่งเรื่องมาให้คณะอนุญาโตตุลาการร่วมพิจารณาอีกทอดหนึ่ง การปฏิบัติคือ คณะอนุญาโตตุลาการจะใช้ประวัติ ข้อมูล หลักฐาน อ้างอิง มาร่วมตัดสิน รวมถึงให้ผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาปัญหาที่ต้องอาศัยความรู้แขนงนั้นๆมาร่วมพิจารณา --B20180 00:07, 10 ธันวาคม 2554 (ICT)