ข้ามไปเนื้อหา

วาริโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วาริโอ
ตัวละครใน 'วาริโอ, มาริโอ'
A VERY overweight character, wearing a yellow hat with a blue W, purple overalls with a yellow shirt underneath, green shoes and white gloves. He has pointy ears, a pink nose, thick eyebrows, and a wavy moustache, and has an evil grin. Three large golden coins are seen on his hand, with two others in the air above.
วาริโอ จากเกมมาริโอปาร์ตี 8
ปรากฏครั้งแรกซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเดนคอยส์ (1992)
เสียงอังกฤษชาลส์ มาร์ทิเน (1997–2023)
โธมัส สปินด์เลอร์ (1998–2001)
เควิน อัฟกานี (2023–ปัจจุบัน)
เสียงญี่ปุ่นโธมัส สปินด์เลอร์ (1996–1997)
ชิกาโอะ โอตสึกะ (1997–2015)
ฮิโรโนริ คนโด (2018–ปัจจุบัน เฉพาะซีรีส์วาริโอแวร์)

วาริโอ (ญี่ปุ่น: Warioโรมาจิワリオทับศัพท์: Wario) เป็นตัวละครในซีรีส์มาริโอ เคยถูกออกแบบให้เป็นปฏิปักษ์ต่อมาริโอ เขาปรากฏตัวครั้งแรกในเกมสำหรับเครื่องเกมบอย ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเดนคอยส์ ปี ค.ศ. 1992 เป็นตัวเอกและหัวหน้าตัวสุดท้าย เดิมวาริโอถูกวาดให้เป็นมาริโอในรุ่นก้าวร้าว ชื่อของเขาเป็นการผสมคำกับคำภาษาญี่ปุ่น วารุอิ (悪い) หมายถึง "ชั่วร้าย" วาริโอถูกออกแบบครั้งแรกโดยฮิโรจิ คิโยทาเกะ และพากย์เสียงโดยชาลส์ มาร์ทิเน ซึ่งทำหน้าที่พากย์เสียงให้ตัวละครอื่น ๆ ในซีรีส์ด้วย

ตั้งแต่เขาปรากฏตัวครั้งแรก วาริโอกลายเป็นตัวเอกและตัวเอกปฏิลักษณ์ในเกมชุดวาริโอแลนด์ และวาริโอแวร์ ช่วยขยายตลาดเกมมือถือและเครื่องเล่นเกม นอกจากปรากฏในเกมภาคแยกของซีรีส์มาริโอแล้ว เขายังปรากฏเป็นตัวประกอบในเกมเคอร์บีซูเปอร์สตาร์อัลตรา เด็นเซ็ตสึโนสตาฟี 3 และไพล็อตวิงส์ 64 เขายังปรากฏในสื่ออื่น ๆ เช่น นวนิยายกราฟิกเรื่อง ซูเปอร์มาริโอแอดเวนเชอส์ วาริโอได้รับการตอบรับที่ดีอย่างมากและได้เป็นหนึ่งในตุ๊กตาสัญลักษณ์ของนินเทนโดด้วย

แนวคิดและการสร้าง

[แก้]
A white circle with a blue "W" inside it is seen over a yellow background.
สัญลักษณ์นี้ปรากฏบนหมวกของวาริโอ และใช้แทนเขาในเกมมาริโอ เกมต่าง ๆ

แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดวาริโอเกิดขึ้นครั้งแรกในเกมเร็กกิงครูว์ ค.ศ. 1985 จากตัวละครสไปก์ หัวหน้าคนงานก่อสร้าง[1] แม้ว่าวาริโอจะดูคล้ายสไปก์เล็กน้อย วาริโอก็ยังไม่ได้เกิดขึ้นจน ค.ศ. 1992 วาริโอปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์ 2: 6 โกลเดนคอยส์ เขาถูกออกแบบโดยศิลปินเกม ฮิโระจิ คิโยะทาเกะ รูปแบบของวาริโอเกิดจากกลุ่มนักออกแบบเกมซูเปอร์มาริโอแลนด์รังเกียจการทำเกมที่ใช้ตัวละครของคนอื่น ๆ การสร้างตัววาริโอทำให้เขามีตัวละครเป็นของตนเองเพื่อจะได้ "มีสัญลักษณ์กำหนดสถานการณ์ได้"[1]

วาริโอถูกวาดให้เป็นมาริโอในรุ่นก้าวร้าว เขามีแขนมีกล้ามขนาดใหญ่ หนวดเคราแหลมซิกแซกใหญ่ และเสียงร้องชวนต่อสู้[2] ชื่อ "วาริโอ" มาจากการผสมคำว่า "มาริโอ" กับคำคุณศัพท์ภาษาญี่ปุ่นว่า วารุอิ (悪い) หมายถึง "ชั่วร้าย" ดังนั้นจึงหมายถึง "มาริโอที่ชั่วร้าย" (ต่อมากำหนดสัญลักษณ์เป็น "W" บนหมวก หรือ "M" กลับหัว)[3] ข้อเท็จจริงจากนินเทนโดกล่าวว่าวาริโอเป็นคู่ปรับในวัยเด็กของมาริโอและลุยจิ เนื่องจากอิจฉาความสำเร็จของพวกเขา[4] นักพากย์เสียง ชาลส์ มาร์ติเน็ต ซึ่งพากย์เสียงมาริโอตั้งแต่ ค.ศ. 1995 ก็พากย์เสียงให้วาริโอด้วย ในระหว่างการออดิชัน มาร์ติเน็ตต้องพูดด้วยโทนเสียงโหดเหี้ยม เขามองเสียงของวาริโอว่าทำได้ง่ายกว่าเสียงของมาริโอ เนื่องจากท่าทางการพูดและบุคลิกของมาริโอจะไหลลื่นอิสระมากกว่า โดยการกระโดดจากพื้นดินและลอยบนอากาศ ขณะที่วาริโอมีลักษณะนิสัยขี้อิจฉา[5] เริ่มจากเกมวาริโอแลนด์: ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 3 วาริโอจะกระปรี้กระเปร่าเมื่อเก็บหัวหอมได้ คล้ายกับมาริโอที่พลังจะเพิ่มขึ้นเมื่อเก็บเห็ด วาริโอมักใช้ระเบิด อย่างที่เห็นในเกมวาริโอแลนด์: ซูเปอร์มาริโอแลนด์ 3 วาริโอบลาสต์ และมาริโอคาร์ต: ดับเบิลแดช เกมชุดวาริโอแวร์ใช้ระเบิดเป็นสิ่งของแทนการจำกัดเวลา

ในวิดีโอเกมที่วาริโอปรากฏตัว เขามักจะได้เป็นตัวร้าย อย่างไรก็ตาม ทีมพัฒนาเกมวาริโอแลนด์: เชกอิต กล่าวว่าความจริงแล้วเขาไม่ใช่ตัวร้าย และพวกเขาไม่ได้ต้องการให้เขาเป็นเช่นนั้นในขณะพัฒนาเกม พวกเขาเน้นที่พฤติกรรม ซึ่งสลับระหว่างดีและชั่ว[6] เอ็ตสึโนะบุ เอะบิสุ ผู้ผลิตเกมเดอะเชกไดเมนชัน มองวาริโอว่าเป็นตัวละครสะเพร่าที่ใช้พละกำลังของตนเอาชนะผู้อื่น ทะดะโนะริ สึคะวะกิ หัวหน้านักออกแบบเกมเดอะเชกไดเมนชัน มองว่าวาริโอเป็นลูกผู้ชายและกล่าวว่าเขา "ไม่เข้าท่าจนสุดท้ายเขาดูเจ๋งอย่างมาก" ด้วยเหตุนี้ เขาต้องการให้วาริโอประพฤติตัวอย่างลูกผู้ชายมากกว่าทำตัวโง่และขอร้องให้นักออกแบบศิลป์ให้เน้นที่ความเป็นชาย[7] วาริโอถูกเลือกให้เป็นดาวของเกมชุดวาริโอแวร์ เพราะนักพัฒนารู้สึกว่าเขาเป็นตัวละครที่ดีที่สุดในแฟรนไชส์ เนื่องจากเขาทำตัวโง่อยู่บ่อยครั้ง[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Oxford, David (February 1, 2008). "The History of Wario: Part 1". Kombo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-03. สืบค้นเมื่อ May 8, 2010.
  2. IGN Staff (May 23, 2002). "E3 2002: Hands on Wario World". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-05. สืบค้นเมื่อ August 29, 2011.
  3. "IGN: Wario Biography". IGN. March 29, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-12. สืบค้นเมื่อ June 12, 2010.
  4. "Cart Queries". GamePro. No. 68. IDG. March 1995. p. 11.
  5. Oxford, David (September 15, 2008). "Charles Martinet Celebrates 15 Years of Wario with Kombo". Kombo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-09. สืบค้นเมื่อ October 1, 2009.
  6. IGN Staff (September 30, 2008). "Wario Land Interview". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-18. สืบค้นเมื่อ September 6, 2009.
  7. "Drawing Wario: The animation of Wario Land". Nintendo of UK. September 18, 2008. สืบค้นเมื่อ September 6, 2009.
  8. "Nintendo R&D1 Interview with the WarioWare team". Kikizo. April 7, 2006. สืบค้นเมื่อ September 6, 2009.