วารสารสมาคมวิจัยพม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วารสารสมาคมวิจัยพม่า
สาขาวิชาการศึกษาพม่า
ภาษาEnglish
รายละเอียดการตีพิมพ์
ประวัติการตีพิมพ์ค.ศ. 1911−1980
ผู้พิมพ์
ความถี่ในการตีพิมพ์ปีละสองครั้ง
ชื่อย่อมาตรฐาน
ISO 4J. Burma Res. Soc.
การจัดทำดรรชนี
ISSN0304-2227

LCCN23013972
OCLC1537852

วารสารสมาคมวิจัยพม่า (อังกฤษ: Journal of the Burma Research Society) เป็นวารสารวิชาการว่าด้วยการศึกษาพม่าซึ่งสมาคมวิจัยพม่าเผยแพร่ในช่วง ค.ศ. 1911–1980 และนับแต่เผยแพร่ก็ได้กลายเป็นวารสารวิชาการแบบพิชญพิจารณ์ชุดแรกที่เน้นการศึกษาพม่า[1] วารสารนี้พิมพ์ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยย่างกุ้งออกเผยแพร่ปีละสองครั้ง[2] เนื้อหามีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาพม่า[3]

วารสารนี้นำเสนอประเด็นทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วรรณนา วรรณกรรม คติชาวบ้าน ดนตรี เทววิทยา พันธุ์สัตว์ ภูมิศาสตร์ และโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับประเทศพม่า โดยอยู่ในรูปแบบความเรียง การอธิบายประกอบเอกสาร และการแปลทั้งจากภาษาพม่า บาลี มอญ และอื่น ๆ[4] วารสารนี้จึงเป็นสิ่งพิมพ์หลักในทางวิชาการของประเทศพม่า[5] และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1910 ยังปรากฏว่า วารสารนี้ได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการวิจารณ์วรรณกรรมพม่าในทางวิชาการ[6]

รัฐบาลพม่าเริ่มเข้าควบคุมวารสารนี้ภายหลัง ค.ศ. 1962 และรัฐบาลพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าสั่งปิดสมาคมวิจัยพม่าพร้อมกับวารสารนี้ใน ค.ศ. 1980[3] แต่วารสารนี้ก็ยังเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญด้านการศึกษาพม่ามาจนทุกวันนี้[note 1]

ในห้วงเวลา 69 ปีของการดำเนินงาน มีวารสารนี้ 59 เล่ม 132 ฉบับ รวมบทความกว่า 1,300 เรื่อง[7]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ดูตัวอย่างใน Harvey (1925: 381) และ Htin Aung (1967: 345–350) รวมถึงงานสมัยใหม่อย่าง Liberman (2003) และ Aung-Thwin (2005)

อ้างอิง[แก้]

  1. Selth, Andrew (29 October 2008). "Modern Burma Studies: A Survey of the Field" (PDF). Modern Asian Studies. Cambridge University Press. 44 (2): 406. doi:10.1017/s0026749x08003508. hdl:10072/32245.
  2. Annual Bibliography of Indian Archaeology: For the Years 1970–1972. Dordrecht: D. Reidel Publishing Company. 1984. pp. xvii. ISBN 9789400962712.
  3. 3.0 3.1 Taylor, Robert H. (2004). Keat Gin Ooi (บ.ก.). Southeast Asia: A Historical Encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor. Vol. 1. ABC-CLIO. p. 295.
  4. Lloyd W. Griffin (บ.ก.). "Foreign Acquisitions Newsletter" (47). The Association of Research Libraries: 86. ISSN 0014-8512. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. Seekins, Donald M. (2006). Historical Dictionary of Burma (Myanmar). Historical Dictionaries of Asia, Oceania, and the Middle East. Scarecrow Press. p. 126. ISBN 9780810864863.
  6. Win Pe, U; Maung Swan Yi (2009). Doris Jedamski (บ.ก.). The Development of Modern Burmese Theatre and Literature Under Western Influence. Chewing Over the West: Occidental Narratives in Non-Western Readings. Rodopi. p. 101. ISBN 9789042027831.
  7. "Journal of the Burma Research Society (JBRS)". IG Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-12. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Aung-Thwin, Michael (2005). The mists of Rāmañña: The Legend that was Lower Burma (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 9780824828868.
  • Lieberman, Victor B. (2003). Strange Parallels: Southeast Asia in Global Context, c. 800–1830, volume 1, Integration on the Mainland. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-80496-7.
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.